กรณีศึกษา: การสอบสวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตโรคเมลิออยโดสิส จังหวัดสงขลา มกราคม 2563
คำสำคัญ:
ผู้เสียชีวิต, โรคเมลิออยโดสิส, สงขลาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ศึกษาสาเหตุการป่วยและการเสียชีวิต ปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง และหามาตรการป้องกันควบคุมโรค ทำการศึกษาค้นหาผู้ป่วยโดยทบทวนเวชระเบียน เก็บตัวอย่างดินและเลือดสัตว์ส่งตรวจยืนยัน ผลการศึกษาพบผู้ป่วยยืนยันโรคเมลิออยโดสิส 4 ราย ที่มีเชื้อ Burkholderia pseudomallei ใน 4 อำเภอ คือ อำเภอเมือง จะนะ สะบ้าย้อย และควนเนียง อำเภอละ 1 ราย มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้แก่ เพศชาย กลุ่มวัยสูงอายุมากกว่า 60 ปี โรคร่วมหรือภาวะที่เอื้อต่อการติดเชื้อและเสียชีวิตคือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคธาลัสซีเมีย สาเหตุการติดเชื้อไม่สามารถระบุได้แน่ชัด สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะมีพฤติกรรมเสี่ยงโดยสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อนี้ในดิน นํ้า ขณะประกอบอาชีพ ทำกิจวัตรประจำวัน โดยปราศจากอุปกรณ์ป้องกัน ผลการตรวจสิ่งแวดล้อมพบเชื้อในดินที่อำเภอสะบ้าย้อย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับควรให้ความสำคัญในการควบคุมป้องกันโรคในประชาชนกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง เกษตรกรที่ต้องสัมผัสกับดินและนํ้าเนื่องจากเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง
References
ความรู้เรื่องโรคเมลิออยด์ (Melioidosis หรือ เมลิออยโดสิส). [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 28 ม.ค. 2563]; [10 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.melioidosis.info/download/general_melioidosis_th.pdf.
Melioidosis. ใน: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506. [ออนไลน์] 2563; [สืบค้น 28 ม.ค. 2563]; [1หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk/y62/d72_5262.pdf.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562-31 ธันวาคม 2562. สงขลา: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา; 2563.
สุริยะ คูหะรักษ์, บรรณาธิการ. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ; 2546.