คุณภาพชาสมุนไพรจากการประเมินด้านสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กนํ้าหนักเบา

ผู้แต่ง

  • ขันทอง เพ็ชรนอก สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ก่อเกียรติ ศาสตรินทร์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

การประเมินคุณภาพ, ชาสมุนไพร, สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กนํ้าหนักเบา

บทคัดย่อ

         ชาสมุนไพรเป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกันอย่างกว้างขวาง ส่วนใหญ่ไม่มีคาเฟอีน จึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ แต่ชาสมุนไพรยังไม่มีข้อกำหนดคุณภาพด้านสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กนํ้าหนักเบา (light filth) ได้แก่ แมลง ชิ้นส่วนแมลง และขนสัตว์ ซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมที่น่ารังเกียจและเป็นตัวบ่งชี้ถึงสุขลักษณะการผลิต เพื่อประเมินคุณภาพชาสมุนไพร การศึกษาครั้งนี้จึงใช้เกณฑ์ข้อกำหนด Defect Action Levels (DAL) สำหรับผลิตภัณฑ์ Oregano crushed ของ Department of Health and Human Services ซึ่งเป็นหน่วยงานของ US FDA ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นแนวทางในการพิจารณาในการตรวจสิ่งแปลกปลอมประเภท light filth ในชาสมุนไพร จำนวน 100 ตัวอย่าง แบ่งเป็นชนิดใบและชนิดผงบรรจุซอง ชนิดละ 50 ตัวอย่าง ผลการตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบสิ่งแปลกปลอมประเภท light filth ในทุกตัวอย่าง พบชาสมุนไพรชนิดใบและชนิดผงไม่ผ่านเกณฑ์ DAL จำนวน 33 และ 44 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 66 และ 88 สาเหตุจากพบชิ้นส่วนแมลง หรือขนหนู เกินเกณฑ์ข้อกำหนด DAL ถึงแม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีข้อกำหนดเป็นเกณฑ์ตัดสินสิ่งแปลกปลอมประเภท light filth ในชาสมุนไพร ผู้ผลิตและผู้ส่งออกควรเข้มงวดในเรื่องสุขลักษณะและกรรมวิธีที่ดีในการผลิตเพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดีสม่ำเสมอให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคต่อไป

References

กองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แนวทางการพิจารณาอาหารประเภท “ชาสมุนไพร” [ออนไลน์]. 2549; [สืบค้น 4 ม.ค. 2564]; [9 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : http://food.fda.moph.go.th/Rules/dataRules/3-HerbalTea.pdf.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 280 (พ.ศ. 2547) เรื่อง ชาสมุนไพร. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 82 ง (วันที่ 26 กรกฎาคม 2547). หน้า 3.

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดรายชื่อพืชหรือส่วนของพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับชาสมุนไพร. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนพิเศษ 28 ง (วันที่ 2 มีนาคม 2553). หน้า 12.

อนงค์ ศรีโสภา, กาญจนา วงศ์กระจ่าง. การพัฒนาสูตรชาสมุนไพรใบหม่อนผสมสมุนไพรให้กลิ่นหอมที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านเอนไซม์กลูโคซิเดส. Thai Journal of Science and Technology 2563; 9(2) : 218-29.

ภาวดี ช่วยเจริญ. ชาสมุนไพร ทางเลือกของการดื่มชา. [ออนไลน์]. 2558; [สืบค้น 4 ม.ค. 2564]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : http://research-hcu.hcu.ac.th/wp-content/uploads/2015/02/ชาสมุนไพร-ทางเลือกของการดื่มชา.pdf.

สรรพคุณชาสมุนไพรไทย. [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 4 ม.ค. 2564]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : https://www.tungsong.com/samunprai/Interest/Interest_3.html.

ประเภทของชา - มหัศจรรย์ชา. [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 12 ม.ค. 2564]; [4 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : https://sites.google.com/site/chamhascrry/-aaiaai.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. ไทยติดโผผลิตชามากสุดอันดับ 4 ของโลก. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 12 ม.ค. 2564]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : https://www.prachachat.net/economy/news-291213.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. ตลาดชาและผลิตภัณฑ์ชาของไทย. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 15 ม.ค. 2564]; [7 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : https://api.dtn.go.th/files/v3/5f48d4a1ef414051e32f1a8e/download.

TNN Online. รัฐมั่นใจศักยภาพชาไทยยังไปต่อได้อีกไกล. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 15 ม.ค. 2564]; [5 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : https://www.tnnthailand.com/news/local/54909.

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส. สินค้าสมุนไพรในตลาดสหรัฐ. [ออนไลน์]. 2560; [สืบค้น 25 ม.ค. 2564]; [13 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : https://www.thaitradeusa.com/home/?p=22709.

Food defect action levels. In : U.S. Food and Drug. Food defect levels handbook. [online]. 2018; [cited 2021 Jan 25]; [16 screens]. Available from : URL : https://www.fda.gov/RegulatoryInformation/Guidances/ucm056174.htm.

Whitlock LL, Chapter editor. Chapter 16, Extraneous materials : isolation. In : Latimer GW, editor. Official method of analysis of AOAC international. 21st ed. Maryland : AOAC International; 2019. p. 1-6, 30-31.

Gentry JW, Harris KL. Microanalytical entomology for food sanitation control. Florida : LithoGraphics Almonte Springs; 1991.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). การผลิตสมุนไพรชงดื่ม. [ออนไลน์]. 2560; [สืบค้น 19 ม.ค. 2564]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : https://www.hrdi.or.th/articles/Detail/27.

SV Group – Online Farmer’s Assistant (ผู้ช่วยเกษตรกรออนไลน์). เพลี้ยอ่อน. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 29 ม.ค. 2564]; [5 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : https://www.svgroup.co.th/blog/เพลี้ยอ่อน.

SV Group – Online Farmer’s Assistant (ผู้ช่วยเกษตรกรออนไลน์). 5 อันดับเพลี้ยสร้างความเสียหาย. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 19 ม.ค. 2564]; [14 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : https://www.svgroup.co.th/blog/5อันดับเพลี้ยสร้างความ.

รักบ้านเกิด.คอม. เพลี้ยหอย (Scale Insects) | รักบ้านเกิด. [ออนไลน์]. 2558; [สืบค้น 29 ม.ค. 2564]; [5 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : https://rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=8557&s=tblplant.

SV Group – Online Farmer’s Assistant (ผู้ช่วยเกษตรกรออนไลน์). ไรภัยร้ายศัตรูพืช. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 29 ม.ค. 2564]; [9 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : https://www.svgroup.co.th/blog/ไรภัยร้ายศัตรูพืช.

พรทิพย์ วิสารทานนท์, อัจฉรา เพชรโชติ. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรการควบคุมศัตรูผลิตผลเกษตร เรื่อง แมลงศัตรูผลิตผลเกษตรและแมลงศัตรูธรรมชาติ. วันที่ 9 - 11 กรกฎาคม 2551. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2021

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)