การประเมินสถานะด้านความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และการใช้ระบบคุณภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • วราลักษณ์ เลิศสุภางคกูล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ดวงกมล อัศวุตมางกุร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ธันวา แก้วเกษ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
  • กมลพรรณ ครึ้มยานาง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

ความรู้ความเข้าใจ, ความตระหนัก, การนำระบบคุณภาพไปปฏิบัติ

บทคัดย่อ

         สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่มีการนำระบบคุณภาพมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการตั้งแต่ ปี 2546 โดยประยุกต์ใช้มาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับทุกภารกิจ มีการถ่ายทอดระบบคุณภาพลงสู่การปฏิบัติโดยการจัดทำเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงาน เพื่อให้บุคลากรทุกระดับปฏิบัติตาม จากการนำระบบคุณภาพมาใช้เป็นเครื่องมือในระยะเวลายาวนานนี้ จึงมีข้อสงสัยว่าบุคลากรปัจจุบันที่ปฏิบัติงานตามมาตรฐานมีความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และการนำระบบคุณภาพไปปฏิบัติอยู่ในระดับใด ผู้วิจัยจึงศึกษาสถานะด้านคุณภาพของบุคลากรในด้านต่างๆ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และการนำระบบคุณภาพไปปฏิบัติ รวมถึงประเมินประสิทธิภาพช่องทางการสื่อสาร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจผลการวิจัยพบว่า บุคลากรมีระดับความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในระดับมาก มีการนำระบบคุณภาพไปปฏิบัติในระดับมากที่สุด โดยบุคลากรที่มีระยะเวลาการปฏิบัติงานที่หน่วยงานแตกต่างกัน ไม่พบความแตกต่างของระดับความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และการนำระบบคุณภาพไปปฏิบัติ (p > 0.05) ในมุมมองการสื่อสาร พบว่าหนังสือเวียนเป็นช่องทางที่บุคลากรรับทราบข้อมูลด้านระบบคุณภาพมากที่สุด และอีเมลเป็นช่องทางที่บุคลากรเห็นว่าสามารถรับทราบข้อมูลที่ง่ายและทั่วถึงที่สุด ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกได้ข้อเสนอในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องที่ควรดำเนินการ คือ การสร้างให้เกิดการเรียนรู้ด้านระบบคุณภาพอย่างเป็นระบบ ยั่งยืน เป็นปัจจุบัน รวมถึงการเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย จัดให้มีกระบวนการจัดการความรู้ขององค์กรที่บุคลากรสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา อีกทั้งเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับบุคลากรในแต่ละระดับเพื่อให้เกิดการรับรู้ที่มีประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กร

References

ไชยวัฒน์ จุมพลพิทักษ์, ณักษ์ กุลิสร์. ความรู้ความเข้าใจและเจตคติต่อเครื่องมือในการจัดการคุณภาพขององค์กรของพนักงาน บริษัท ฮานา เซมิคอนดักเตอร์ (อยุธยา) จำกัด. ว บริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ 2554; 3(1): 129-43.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข. คู่มือคุณภาพสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข รหัส QM-NIH-13 แก้ไขครั้งที่ 13 วันที่ออกเอกสาร 22 ก.ค. 2562. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

เอกลักษณ์ ธนเจริญพิศาล. ความตระหนักและการยอมรับการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) มาใช้ในองค์การภาครัฐ: ศึกษากรณีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. [วิทยานิพนธ์]. สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2554.

ปวีณา ผลฟักแฟง. ความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติกิจกรรมเกี่ยวกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี. [วิทยานิพนธ์]. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการ), บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2554.

ธนิตตา นิลสดใส. ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และความคิดริเริ่มในการอนุรักษ์พลังงานของโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์. [การค้นคว้าอิสระ]. สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2555.

สุธาเทพ รุณเรศ. ปัจจัยที่มีผลต่อการตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระ]. สาขาวิชานโยบายและการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ, วิทยาลัยนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2021

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)