การสำรวจการแพร่กระจายเชิงพื้นที่และแหล่งเกาะพักของยุงลายสวน (Aedes albopictus) ในจังหวัดชลบุรี เพื่อการควบคุมยุงลายสวนอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้แต่ง

  • เอกรัฐ เด่นชลชัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • วรรณิศา สืบสอาด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ปิติ มงคลางกูร กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
  • จิตติ จันทร์แสง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อุรุญากร จันทร์แสง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

ยุงลายสวน, การแพร่กระจายเชิงพื้นที่, แหล่งเกาะพัก, การควบคุมยุง, โรคปวดข้อยุงลาย

บทคัดย่อ

          ยุงลายสวน (Aedes albopictus) เป็นหนึ่งในพาหะหลักนำโรคปวดข้อยุงลายและโรคไข้เลือดออก ในปี พ.ศ. 2563 มีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคทั้งสอง จำนวน 5,728 ราย และ 71,292 ราย ตามลำดับ โดยที่ยังขาดองค์ความรู้ในด้านการแพร่กระจายเชิงพื้นที่และไม่มีรายงานถึงแหล่งเกาะพัก จึงดำเนินการคัดเลือกพื้นที่สวนยางพาราตำบลหนองเสือช้าง อำเภอบ้านบึง และตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี ดำเนินการเก็บตัวอย่างยุงตัวเต็มวัย ด้วยเทคนิค questing and hovering โดยใช้อุปกรณ์จับยุงที่พัฒนาขึ้นใหม่ ผลการศึกษาพบยุง 4 สกุล (genus) 8 สายพันธุ์ (species) เป็นยุงลายสวนร้อยละ 80 และร้อยละ 90 ของยุงที่จับได้ทั้งหมดใน 2 พื้นที่ดังกล่าว มีอัตราการจับยุงเฉลี่ยที่ 20 และ 25 ตัว/ชั่วโมง ตามลำดับ สำหรับการศึกษาด้านแหล่งเกาะพักเพื่อการควบคุม ได้คัดเลือกพื้นที่ที่พบยุงลายสวนชุกชุมในจังหวัดชลบุรี โดยได้พัฒนากล่องสำรวจการเกาะพัก รวมทั้งเครื่องมือสำหรับเก็บตัวอย่างยุง พบว่ายุงลายสวนเกาะพักอยู่อย่างหนาแน่นในบริเวณที่มีพุ่มไม้อยู่ร่วมกับสวนยางมากกว่าบริเวณที่เป็นสวนยางอย่างเดียว ข้อมูลกายภาพและภูมิศาสตร์ในพื้นที่ศึกษาได้นำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลประชากรยุงลายสวน นำมาจัดทำเป็นแผนที่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) แสดงความชุกชุมของประชากรยุงลายสวนในช่วงเวลาตั้งแต่ 6.00-21.00 น. เปรียบเทียบระหว่างพื้นที่เชิงเขา พื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่สวนยางพารา จังหวัดชลบุรี ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการวางแผนเพื่อช่วยควบคุมยุงลายสวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

Thavara U, Tawatsin A, Phan-Urai P, Ngamsuk W, Chansang C, Mingtuan L, et al. Dengue vector mosquitoes at a tourist attraction, Ko Samui, in 1995. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1996; 27(1):160-3.

นิภา เบญจพงศ์, อุรุญากร จันทร์แสง. ยุงลาย Aedes (Stegomyia) albopictus (Skuse) พาหะของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย. ว โรคติดต่อ 2541; 24(1): 154-8.

Huang YM. Contribution to the mosquito fauna of Southeast Asia XIV. The subgenus Stegomyia of Aedes in Southeast Asia. I-The scutellaris group of species. Contrib Am Entomol Inst 1972; 9(1): 1-109.

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค. โรคชิคุนกุนยา. [ออนไลน์]. 2552; [สืบค้น 30 ก.ย. 2557]. [1 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://old.ddc.moph.go.th/km/showimgkm.php?id=46.

สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya virus disease). [ออนไลน์] 2557; [สืบค้น 30 ก.ย. 2557]. [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.pidst.or.th/A234.html.

Thavara U, Tawatsin A, Pengsakul T, Bhakdeenuan P, Chanama S, Anantapreecha S, et al. Outbreak of chikungunya fever in Thailand and virus detection in fi eld population of vector mosquitoes, Aedes aegypti (L.) and Aedes albopictus Skuse (Diptera: Culicidae). Southeast Asian J Trop Med Public Health 2009; 40(5): 951-62.

สริตา มิ่งมาลีโชคชัย. การแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาช่วง พ.ศ.2552 -2560 ในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์]. สาขาวิชาภูมิศาสตร์, คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2561.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคไข้ปวดข้อยุงลายประเทศไทย ประจำสัปดาห์ที่ 52/2561 ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 20 ม.ค. 2562]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/6f4922f45568161a8cdf4ad2299f6d23/files/Chikun/2561/chikun_wk52.pdf.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2562 กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 20 ก.พ. 2563]; [129 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://drive.google.com/filed/1vtmSOp60uLinIBm3XUFmUv-h5vpJznOB/view.

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค. พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์ ฉบับที่ 274 ประจำสัปดาห์ที่ 32 (วันที่ 9-15 ส.ค. 63). [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 30 ต.ค. 2563]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=14160&deptcode=brc&news_views=3332.

อุษาวดี ถาวระ, พายุ ภักดีนวน, อภิวัฏ ธวัชสิน, จักรวาล ชมภูศรี, ชญาดา ขำสวัสดิ์, ยุทธนา ภู่ทรัพย์, และคณะ. ชีววิทยาของยุงพาหะโรคไข้เลือดออกและซีโรทัยป์ของเชื้อไวรัสเดงกีในวงจรการเกิดโรคในประเทศไทย. ว กรมวิทย พ 2558; 57(2): 186-96.

อุษาวดี ถาวระ. ยุงลายพาหะโรคไข้เลือดออก และไข้ชิคุนกุนยา (Dengue haemorrhagic fever and chikungunya fever vectors). ใน: อุษาวดี ถาวระ, บรรณาธิการ. ชีววิทยา นิเวศวิทยา และการควบคุมยุงในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: หนังสือดีวัน; 2553. หน้า 17.

Ratsitorahina M, Harisoa J, Ratovonjato J, Biacabe S, Reynes JM, Zeller H, et al. Outbreak of dengue and chikungunya fevers, Toamasina, Madagascar, 2006. Emerg Infect Dis 2008; 14(7): 1135-7.

Miller BR, Mitchell CJ, Ballinger ME. Replication, tissue tropisms and transmission of yellow fever virus in Aedes albopictus. Trans R Soc Trop Med Hyg 1989; 83(2): 252-5.

อุรุญากร จันทร์แสง, จิตติ จันทร์แสง, นิภา เบญจพงศ์. การจำแนกชนิดยุงพาหะในประเทศไทยด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. ว วิชาการสาธารณสุข 2540; 6(3): 545-51.

สำนักงานสถิติจังหวัดชลบุรี. รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัดชลบุรี. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 20 ก.พ. 2563]; [22 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://osthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file%20Download/Report%20Analysis%20Province/รายงานวิเคราะห์สถานการณ์จังหวัดชลบุรี.pdf.

คณพศ ทองขาว, วิโรจน์ ฤทธาธร, สุพิทย์ ยศเมฆ. การสำรวจทางกีฏวิทยา ยุงพาหะนำโรคไข้ปวดข้อยุงลายในพื้นที่รอยโรค จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ว ควบคุมโรค 2558; 41(1): 57-67.

Yap HH, Lee CY, Chong NL, Foo AE, Lim MP. Oviposition site preference of Aedes albopictus in the laboratory. J Am Mosq Control Assoc 1995; 11(1): 128-32.

ศุภวรรณ พรหมเพรา, หยดฟ้า ราชมณี, จุรีย์ ไก่แก้ว. นิเวศวิทยาของยุงลายในตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. ว มหาวิทยาลัยทักษิณ 2561; 21(1): 9-20.

ปฐมพร พริกชู, สุวิช ธรรมปาโล, วิรัช วงศ์หิรัญรัชต์, เรวดี แก้วขาว, ปัจฉิมา บัวยอม, แจ่มจันทร์ กิมาคม. ระบาดวิทยาของโรคชิคุนกุนยาในภาคใต้ตอนล่าง ปี 2553. ว ควบคุมโรค 2554; 37(3): 205-14.

Thammapalo S, Wonghiranrat W, Moonmek S, Sriplong W. Biting time of Aedes albopictus in the rubber plantation and the orchard, The Southernmost of Thailand. J Vector Borne Dis 2009; 6(2): 1-6.

สุวิช ธรรมปาโล, วิรัช วงค์หิรัญรัชต์, โสภาวดี มูลเมฆ, วาสินี ศรีปล้อง. แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายสวนในพื้นที่ระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา). ว โรคติดต่อนำโดยแมลง 2553; 7(2): 7-15.

Surtees G. Aedes (Stegomyia) albopictus: a summary of present knowledge with particular reference competition with Aedes aegypti. Int J Pest Manag A 1967; 13(2): 172.

Xu Z, Bambrick H, Yakob L, Devine G, Lu J, Frentiu FD, et al. Spatiotemporal patterns and climatic drivers of severe dengue in Thailand. Sci Total Environ 2019; 656: 889-901.

วัชพงษ์ แสงนิล, จารุวรรณ์ วงบุตดี. การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อจำแนกพื้นที่เสี่ยงต่ออุบัติการณ์โรคมาลาเรียในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว-กัมพูชา จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี. ว สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557; 44(3): 260-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)