การศึกษาย้อนหลังปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ตัวเล็กระยะแพร่กระจายในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุมากกว่า 70 ปี ในโรงพยาบาลสระบุรี ระหว่างปี 2553-2557

ผู้แต่ง

  • พินทุมาศ อุตกฤษฏานนท์ โรงพยาบาลสระบุรี

คำสำคัญ:

มะเร็งปอดระยะแพร่กระจาย, ผู้ป่วยสูงอายุ, อัตราการรอดชีวิต

บทคัดย่อ

          การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ตัวเล็กระยะแพร่กระจาย ดำเนินการโดยเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยอายุมากกว่า 70 ปี และมีผลทางพยาธิวิทยายืนยันการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ตัวเล็กระยะแพร่กระจาย จากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสระบุรี ระหว่าง 1 กรกฎาคม 2553 - 31 ธันวาคม 2557 จำนวน 78 คน ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยมีค่ามัธยฐานอายุ 76 ปี สภาพร่างกายตาม Eastern Co-operation Oncology Group (ECOG) performance status เป็นปัจจัยเดียวที่มีผลต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05, 95% CI 2.82 – 9.45) โดยมี Hazard ratio เท่ากับ 5.16 ผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดมีอัตราการรอดชีวิตที่ดีกว่าผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) คือ 10.8 เดือน และ 1.5 เดือน โดยมีอัตราการรอดชีวิตที่ 1, 2 และ 5 ปี เป็น 21.79%, 6.41% และ 2.56% ตามลำดับ ผลข้างเคียงจากการรักษาพบว่ามีความรุนแรงระดับ 3-4 โดยพบอาการปอดอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับเม็ดเลือดขาวตํ่าร้อยละ 13.15 อย่างไรก็ตามไม่มีผู้ป่วยสูงอายุเสียชีวิตจากการได้รับเคมีบำบัด จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าระดับสภาพร่างกายตาม ECOG performance status เป็นปัจจัยที่ส่งผลดีต่ออัตราการรอดชีวิต และยังสามารถนำมาเป็นตัวกำหนดการเข้าถึงการรักษาด้วยการได้รับการเคมีบำบัดมาตรฐาน โดยสามารถบริหารจัดการผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาได้

References

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: พรทรัพย์การพิมพ์; 2561.

Mäkitaro R, Pääkko P, Huhti E, Bloigu R, Kinnula VL. Prospective population-based study on the survival of patients with lung cancer. Eur Respir J 2002; 19(6): 1087-92.

Bryant A, Cerfolio RJ. Diff erences in epidemiology, histology, and survival between cigarette smokers and never-smokers who develop non-small cell lung cancer. Chest 2007; 132(1): 185-92.

Tammemagi CM, Neslund-Dudas C, Simoff M, Kvale P. Smoking and lung cancer survival: the role of comorbidity and treatment. Chest 2004; 125(1): 27-37.

Ito Y, Ohno Y, Rachet B, Coleman MP, Tsukuma H, Oshima A. Cancer survival trends in Osaka, Japan: the infl uence of age and stage at diagnosis. Jpn J Clin Oncol 2007; 37(6): 452-8.

Schiller JH, Harrington D, Belani CP, Langer C, Sandler A, Krook J, et al. Comparison of four chemotherapy regimens for advanced non-small-cell lung cancer. N Engl J Med 2002; 346(2): 92-8.

Fukuoka M, Wu YL, Thongprasert S, Sunpaweravong P, Leong SS, Sriuranpong V, et al. Biomarker analyses and fi nal overall survival results from a phase III, randomized, open-label, fi rst-line study of gefi tinib versus carboplatin/paclitaxel in clinically selected patients with advanced non-small-cell lung cancer in Asia (IPASS). J Clin Oncol 2011; 29(21): 2866-74.

Mok TS, Wu YL, Thongprasert S, Yang CH, Chu DT, Saijo N, et al. Gefitinib or carboplatin-paclitaxel in pulmonary adenocarcinoma. N Engl J Med 2009; 361(10): 947-57.

Oken MM, Creech RH, Tormey DC, Horton J, Davis TE, McFadden ET, et al. Toxicity and response criteria of the Eastern Cooperative Oncology Group. Am J Clin Oncol 1982; 5(6): 649-55.

Tam TC, Ho JC, Wong MK, Wong WM, Wang JK, Lam JC, et al. Treatment outcomes in elderly with advanced-stage non-small cell lung cancer. Lung 2013; 191(6): 645-54.

Booton R, Jones M, Thatcher N. Lung cancer 7: management of lung cancer in elderly patients. Thorax 2003; 58(8): 711-20.

Gridelli C, Perrone F, Gallo C, Cigolari S, Rossi A, Piantedosi F, et al. Chemotherapy forelderly patients with advanced non-small-cell lung cancer: the Multicenter Italian Lung Cancer in the Elderly Study (MILES) phase III randomized trial. J Natl Cancer Inst 2003; 95(5): 362-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)