ค่าปริมาณรังสีที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์ฟันชนิดถ่ายภาพในช่องปาก ในพื้นที่จังหวัดตรัง พัทลุง และสตูล
คำสำคัญ:
ค่าปริมาณรังสีอ้างอิง, การถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย, การถ่ายภาพรังสีฟันบทคัดย่อ
การได้รับรังสีมากเกินไปจากเครื่องเอกซเรย์อาจก่อเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานด้านการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยจึงต้องระมัดระวังโดยใช้เท่าที่จำเป็นและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ได้รับสัมผัส ในปี พ.ศ. 2560 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง (ศวก. 12/1 ตรัง) ได้ศึกษาค่าปริมาณรังสีจากการถ่ายภาพรังสีด้วยเครื่องเอกซเรย์ฟันชนิดถ่ายภาพในช่องปาก ในจังหวัดตรัง พัทลุง และสตูล จำนวน 59 เครื่อง เป็นระบบฟิล์ม 48 เครื่อง (ร้อยละ 81.4) และระบบดิจิทัล 11 เครื่อง (ร้อยละ 18.6) โดยวัดปริมาณรังสีจากการตั้งค่าเทคนิคในการถ่ายภาพรังสีสำหรับฟันผู้ใหญ่ของ 6 กลุ่มซี่ฟัน คือ ฟันหน้าบน ฟันหน้าล่าง ฟันเขี้ยว-กรามน้อยบน ฟันเขี้ยว-กรามน้อยล่าง ฟันกรามบน ฟันกรามล่าง พบค่าปริมาณรังสีของแต่ละกลุ่มเท่ากับ 2.5, 2.1, 3.5, 2.5, 4.3 และ 3.1 มิลลิเกรย์ ตามลำดับ ซึ่งเกินค่าอ้างอิงของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่มีค่าเท่ากับ 2.3, 1.9, 3.1, 2.4, 4.0 และ 3.1 มิลลิเกรย์ ตามลำดับ จึงได้แจ้งโรงพยาบาลและคลินิกในพื้นที่เพื่อดำเนินการแก้ไข ในปี พ.ศ. 2562 ได้ดำเนินการวัดค่าปริมาณรังสีในเขตพื้นที่ดังกล่าวอีกครั้งจากเครื่องเอกซเรย์ฟัน จำนวน 77 เครื่อง เป็นระบบฟิล์ม 62 เครื่อง (ร้อยละ 80.5) และระบบดิจิทัล 15 เครื่อง (ร้อยละ 19.5) พบค่าปริมาณรังสีของแต่ละกลุ่มเท่ากับ 2.0, 1.7, 2.7, 2.2, 3.6 และ 2.6 มิลลิเกรย์ ตามลำดับ ซึ่งผลที่ได้ตํ่ากว่าปี พ.ศ. 2560 และไม่เกินค่าอ้างอิงของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งคาดว่าเกิดจากเจ้าหน้าที่รังสีได้มีปรับค่าทางเทคนิคในการถ่ายภาพรังสี และการใช้ระบบดิจิทัลมากขึ้นทำให้ปริมาณรังสีลดลง
References
Equipment factors in reduction of radiation doses to patients. In: European Commission. European guidelines on radiation protection in dental radiology: the safe use of radiographs in dental practice. Issue No. 136. Luxembourg: Office for Official Publications of the European Communities; 2004. p. 41-50.
IAEA. International basic safety standards for protection against ionizing radiation and the safety of radiation sources, safety series No. 115. Vienna: International Atomic Energy Agency; 1996.
International Commission on Radiological Protection. Diagnostic reference levels in medical imaging: review and additional advice. [online]. 2001; [cited 2020 May 10]; [14 screens]. Available from: URL: https://www.icrp.org/docs/DRL_for_web.pdf.
Hart D, Hillier MC, Shrimpton PC. Dose to patients from radiographic and fluoroscopic x-ray imaging procedures in UK-2010 review, HPA-CECA-234. [online]. 2012; [cited 2020 May 10] [87 screens]. Available from: URL: https://assets.publishing.service.gov.uk/government/uploads/system/uploads/attachment_data/file/342780/HPA-CRCE-034_Doses_to_patients_from_radiographic_and_fluoroscopic_x_ray_imaging_procedures_2010.pdf.
Kim EK, Han WJ, Choi JW, Jung YH, Yoon SJ, Lee JS. Diagnostic reference levels in intraoral dental radiography in Korea. Imaging Sci Dent 2012; 42(4): 237-42.
Japan Network for Research and Information on Medical Exposures. Diagnostic reference levels based on latest surveys in Japan. [online]. 2015; [cited 2020 May12]; [17 screens]. Available from: URL: http://www.radher.jp/J-RIME/report/DRLhoukokusyoEng.pdf.
ศิริวรรณ จูเลียง, สายัณห์ เมืองสว่าง. ความปลอดภัยจากการใช้เครื่องเอกซเรย์ฟันในเขตสาธารณสุขที่ 7. ว กรมวิทย พ 2556; 55(4): 236-45.
นัฐิกา จิตรพินิจ. ปริมาณรังสีผู้ป่วยจากการถ่ายภาพรังสีฟันในช่องปากในเขตสุขภาพที่ 2. ว วิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก 2559; 4(2): 9-21.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง ปริมาณรังสีอ้างอิงการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย. [online]. 2562; [สืบค้น 12 พ.ค. 2563]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://webdb.dmsc.moph.go.th/radiation/news/ปริมาณรังสีอ้างอิงการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย.pdf.
Vañó E, Miller DL, Martin CJ, Rehani MM, Kang K, Rosenstein M, et al. ICRP publication 135: diagnostic reference levels in medical imaging. Ann ICRP 2017; 46(1): 1-144.