การลดความแออัดในโรงพยาบาลและระยะเวลารอคอยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลปากช่องนานา

ผู้แต่ง

  • ธวัช ทองน้อย กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลปากช่องนานา นครราชสีมา
  • อรวรรยา กระสังข์ กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลปากช่องนานา นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การลดความแออัด, ระยะเวลารอคอย, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

       ในช่วงสามปีที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ป่วยมารับบริการที่โรงพยาบาลปากช่องนานา เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.9 ต่อปี ส่งผลให้ปริมาณงาน ในทุกส่วนงานเพิ่มขึ้น ทำให้สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้มารับบริการไม่เพียงพอ เกิดความแออัดและเสี่ยงต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รวมทั้งมีข้อร้องเรียนจากผู้รับบริการทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกในเรื่องระยะเวลารอคอยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (turnaround time, TAT) ที่ยาวนาน คณะผู้วิจัยจึงจัดทำโครงการลดความแออัดและระยะเวลารอคอยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในทุกขั้นตอน ประเมินผลด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลบันทึกเวลา (time stamp) จากระบบสารสนเทศทางห้องปฏิบัติการจนกระทั่งได้รับผลทดสอบเพื่อวิเคราะห์ TAT และแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ในรูปแบบเอกสารและแบบออนไลน์ทั้งก่อนและหลังการปรับปรุง ผลการศึกษาพบว่า TAT ของกลุ่มงานเคมีคลินิก มีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนหลังจากการปรับปรุงระบบในช่วงที่ 1 และช่วงที่ 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 และ 10.7 ตามลำดับ ในขณะที่ TAT ของทุกรายการทดสอบ มีการพัฒนาหลังจากการปรับปรุงระบบในช่วงที่ 1 และช่วงที่ 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 และร้อยละ 12.1 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจก่อนการปรับปรุงระบบเฉลี่ยต่อราย 69.0 คะแนน ความพึงพอใจหลังการปรับปรุงระบบเฉลี่ยต่อราย 73.5 คะแนน ซึ่งมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบงานและสามารถใช้ประเมินร่วมกับการใช้เทคโนโลยีที่นำเข้ามาพัฒนางานในโรงพยาบาล ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องต่อไป

References

สภาเทคนิคการแพทย์. มาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ 2560 ฉบับ 60 ปี เทคนิคการแพทย์ไทย. นนทบุรี: สภาเทคนิคการแพทย์; 2560.

Health Data Center (HDC) Dashboard กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการใช้บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลปากช่องนานา เขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 29 พ.ย. 2564]; เข้าถึงได้ที่: URL: https://nma.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=9d8c311d6336373d40437c4423508cad.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. การพัฒนาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล. ว. วิจัยระบบสาธารณสุข 2550; 1(3-4); 216-23.

Bhatt RD, Shrestha C, Risal P. Factors affecting turnaround time in the clinical laboratory of the Kathmandu University Hospital, Nepal. EJIFCC 2019; 30(1): 14-24.

Mahdaviazad H, Javidialesaadi F, Hosseinzadeh M, Masoompour SM, et al. Turnaround times for hematology and chemistry tests in the emergency department: experience of a teaching hospital in Iran. Shiraz E-Med J 2016; 17(4-5): e37101. (6 pages).

Goswami B, Singh B, Chawla R, Gupta VK, Mallika V. Turn around time (TAT) as a benchmark of laboratory performance. Indian J Clin Biochem 2010; 25(4): 376-9.

Chung HJ, Lee W, Chun S, Park HI, Min WK. Analysis of turnaround time by subdividing three phases for outpatient chemistry specimens. Ann Clin Lab Sci 2009; 39(2): 144-9.

Fernandes CM, Worster A, Eva K, Hill S, McCallum C. Pneumatic tube delivery system for blood samples reduces turnaround times without affecting sample quality. J Emerg Nurs 2006; 32(2): 139-43.

สุรัส วิจิตรวงศ์. การลดระยะรอบการรายงานผลตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยสัญญาณเตือนให้รับสิ่งส่งตรวจ. กรุงเทพฯ: คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

บังอร ผามั่น, เพชรมาศ อาระวิล. การศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลารอคอยและการรายงานผลล่าช้าของงานเคมีคลินิกห้องปฏิบัติการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. [โครงงานวิจัย]. สาขาเทคนิคการแพทย์, คณะเทคนิคการแพทย์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. แนวทางการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีและการตรวจติดตามการรักษา ปี 2563. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

LIAISON® XL HBsAg Quant (REF 310250). EN - 200/007-926, 04 - 2014-05. Italy: DiaSorin SpA; 2014.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

บทความทั่วไป (General Articles)