การประเมินการได้รับสัมผัสของตะกั่ว แคดเมียม และปรอท จากการบริโภคหอยสองฝา จากแหล่งเพาะเลี้ยงในอําเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • เขมิกา เหมโลหะ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • จรรยา บุญวิจิตร ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • นิรันดร แร่กาสินธุ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สุภาทินี โสบุญ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

การประเมินการได้รับสัมผัส, ตะกั่ว, แคดเมียม, ปรอท, หอยสองฝา

บทคัดย่อ

          จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นแหล่งที่มีอาหารทะเลขึ้นชื่อโดยเฉพาะหอยนางรม อําเภอกาญจนดิษฐ์เป็นพื้นที่ที่มีการเพาะเลี้ยงหอยมากที่สุด ปี พ.ศ. 2556 มีการรายงานพบการปนเปื้อนแคดเมียมในหอยนางรม ซึ่งอาจสร้างความกังวลเรื่องความปลอดภัยต่อ    ผู้บริโภค ปี พ.ศ. 2559 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี จึงได้ทําการประเมินการได้รับสัมผัสโลหะตะกั่ว แคดเมียม และปรอท จากการบริโภคหอยสองฝา โดยเลือกพื้นที่แหล่งเพาะเลี้ยงในอําเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทําการศึกษาปริมาณตะกั่ว แคดเมียม ด้วยวิธี Graphite Furnace Atomic Absorption Spectrophotometer และปรอท ด้วยวิธี Mercury Analyzer Combustion technique ในหอยนางรม หอยแมลงภู่และหอยแครง จํานวน 25, 13 และ 7 ตัวอย่าง ตามลําดับ ผลการศึกษา พบว่าตัวอย่างทั้งหมดมีการปนเปื้อนตะกั่วและปรอทอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 414 พ.ศ. 2563 แต่พบการปนเปื้อนแคดเมียมสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานสหภาพยุโรป ในหอยนางรม หอยแมลงภู่ และหอยแครง จํานวน 19, 2 และ 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 76.0, 15.4 และ 42.8 ตามลําดับ ผลจากการประเมินพบว่าผู้บริโภคยังมีความปลอดภัยจากการได้รับตะกั่ว แคดเมียม และปรอท จากการบริโภคหอยสองฝาในแหล่งเพาะเลี้ยงดังกล่าว สาเหตุการปนเปื้อนโลหะหนักในหอยสองฝาขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลง จึงควรมีการเฝ้าระวังเป็นระยะ เพื่อเป็นข้อมูลความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคต่อไป

References

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดสุราษฎร์ธานี. แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี (พ.ศ. 2557-2560) ฉบับทบทวน. สุราษฎร์ธานี: สํานักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี; 2560.

พงษ์เทพ วิไลพันธ์, อรษา สุตเธียรกุล, มณีย์ กรรณรงค์, ธีรยา สรรพวรพงษ์, ประทุมวัลย์ เจริญพร, สันติสุข ไทยปาล และคณะ. หอยนางรมปลอดภัย: สถานการณ์และแนวทางบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่การผลิต กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2556.

World Health Organization. Lead poisoning and health. Fact sheet no. 379. [online]. 2013; [cited 2014 Oct 25]; [2 screens]. Available form: URL: https://www.sertox.com.ar/en/who-fact-sheet-n379-about-lead-intoxication.

Cadmium. In: World Health Organization. International program on chemical safety. [online]. 2010; [cited 2014 Oct 25]; [2 screens]. Available form: URL: https://www.who.int/ipcs/assessment/public_health/cadmium/en.

World Health Organization. Mercury and health. [online]. 2017; [cited 2017 Jul 30]; [5 screens]. Available form: URL: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mercury-and-health.

United States Environment Protection Agency (EPA). Health effect of exposures to mercury. [online]. 2017; [cited 2017 Jul 30]; [3 screens]. Available form: URL: https://www.epa.gov/mercury/health-effects-exposures-mercury.

กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสําหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

AOAC Official Method 999.10. Lead, cadmium, zinc, copper, and iron in foods atomic absorption spectrophotometry after microwave digestion. In: Latimer GL, Editor. Official methods of analysis of AOAC International. 20th ed. Rockville, Maryland: AOAC International; 2016. p. 16-19.

United States Environment Protection Agency (EPA). Method 7473: mercury in solids and solutions by thermal decomposition, amalgamation, and atomic absorption spectrometry. [online]. 2007; [cited 2017 Jul 30]; [17 screens]. Available form: URL: https://www.epa.gov/sites/production/files/2015-12/documents/7473.pdf

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 118 ง (20 พฤษภาคม 2563).

European Commission Regulation (EC) No. 1881/2006 of 19 December 2006 setting maximum levels for certain contaminants in foodstuff s. Official Journal of the European Union 2006; L 364: 5-24.

สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. ข้อมูลการบริโภคอาหารของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ; 2559.

Partnerships in Environmental Management for the Seas of East Asia (PEMSEA). A regional of mechanism facilitating sustainable environmental benefits in river basins, coasts, islands and seas. Quezon City: PEMSEA; 2007.

CODEX Alimentarius International Food Standards. CODEX general standard for contaminants and toxins in food and feed (Codex STAN 193-1995). Adopted 1995; Revised 1997, 2006, 2008, 2009; Amended 2009. Rome, Italy; FAO/WHO Food Standards Program; 2010.

United States Environment Protection Agency (EPA). Guidance manual for the exposure uptake biokinetic model for lead in children. Washington: Office of Solid Waste and Emergency Response; 1994.

Hough RL, Breward N, Young SD, Crout NM, Tye AM, Moir AM, et al. Assessing potential risk of heavy metal exposure from consumption of home-produced vegetables by urban populations. Environ Health Perspect 2004; 112(2): 215-21.

European Food Safety Authority. Cadmium dietary exposure in the European population. EFSA J 2012; 10(1): 2551. (37 pages).

Evaluation of certain food additives and contaminants: seventy-third report of the joint FAO/WHO expert committee on food additives. WHO technical report series 960. Geneva, Switzerland; World Health Organization: 2011.

Evaluation of certain food additives and contaminants: seventy-second report of the joint FAO/WHO expert committee on food additives, WHO technical report series 959. Rome, Italy; World Health Organization: 2011.

Evaluation of certain food additives and contaminants: sixty-seventh report of the joint FAO/WHO expert committee on food additives, WHO technical report series 940. Rome, Italy; World Health Organization: 2007.

จิราภา อุณหเลขกะ, จารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล, นฤมล จันทร์แก้ว, ศิริ วัดสว่าง, สมบูรณ์ โตประสิทธิ์, ปราโมทย์ วนิชาชีวะ และคณะ. การศึกษาปริมาณตะกั่ว แคดเมียม ดีบุก และปรอท ที่ปนเปื้อนในหอยแครงและหอยแมลงภู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน ปี 2552. วารสารอาหารและยา 2554; 18(2): 15-22.

แววตา ทองระอา, ฉลวย มุสิกะ, วันชัย วงสุดาวรรณ, อาวุธ หมั่นหาผล. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในการได้รับโลหะหนักจากการบริโภคอาหารทะเลบริเวณชายฝั่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 2557; 19(2): 39-54.

สุรชาติ วิชัยดิษฐ, ไพศาล วุฒิจํานงค์. การประเมินความเสี่ยงของหอยนางรมจากแหล่งเลี้ยงในอ่าวบ้านดอน อําเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [วิทยานิพนธ์]. ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหการเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.

เขมชิต ธนากิจชาญเจริญ, นงนาถ เมฆรังสิมันต์, สุรชัย ศิลามณีโชติ. ประโยชน์และความเป็นพิษของโลหะหนักแคดเมียม: โครงการเคมี. กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์บริการ; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)