การพัฒนาและทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์สารกลุ่มแคนนาบินอยด์ในน้ำมะพร้าว โดยเทคนิค LC-MS/MS
คำสำคัญ:
กัญชา, กัญชง, แคนนาบินอยด์, LC-MS/MS, น้ำมะพร้าวบทคัดย่อ
กัญชาและกัญชงจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 แต่ปัจจุบันได้อนุญาตให้นำบางส่วนไปใช้ได้อย่างถูกกฎหมายตามเงื่อนไขที่กำหนด ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีกัญชาหรือกัญชงเป็นส่วนประกอบกลายเป็นที่สนใจของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เนื่องจากมีสารสำคัญกลุ่มแคนนาบินอยด์ซึ่งมีฤทธิ์ทั้ง psychotropic และ non-psychotropic มีอนุพันธ์หลัก ได้แก่ CBD และ Δ9-THC สามารถช่วยให้ผ่อนคลาย คลายความกังวล และช่วยในการนอนหลับ อย่างไรก็ตามการบริโภคในปริมาณที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น เซื่องซึม ปวดศีรษะ หัวใจเต้นแรง และอาจรุนแรงจนถึงขั้นประสาทหลอน และควบคุมตัวเองไม่ได้ ดังนั้นการควบคุมปริมาณแคนนาบินอยด์ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม จึงมีความสำคัญในการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารได้พัฒนาและตรวจสอบความถูกต้องของวิธีการวิเคราะห์สารกลุ่มแคนนาบินอยด์ทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ Δ8-THC, Δ9-THC, THCA, THCV, CBD และ CBN ในนํ้ามะพร้าว โดยการสกัดอาศัยเทคนิค liquid-liquid extraction แล้ว clean-up ด้วย SPE HLB cartridge ทำการวิเคราะห์ชนิดและปริมาณโดยเทคนิค LC-MS/MS พบว่าวิธีนี้มีขีดจำกัดของการตรวจพบเท่ากับ 2 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และค่าขีดจำกัดของการวัดเชิงปริมาณเท่ากับ 3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ช่วงการวิเคราะห์ที่ให้ความสัมพันธ์เป็นเส้นตรงเท่ากับ 3 - 50 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และมีค่า correlation coefficient ในช่วง 0.9921 - 0.9985 มีความแม่นแสดงด้วยค่าเฉลี่ย %recovery อยู่ในช่วง 91.16 - 113.37% และความเที่ยงแสดงด้วย %RSD อยู่ในช่วง 2.65 - 15.00% วิธีการที่พัฒนาขึ้นนี้มีความน่าเชื่อถือและเหมาะสมในการนำไปใช้ตรวจวิเคราะห์สารแคนนาบินอยด์ในเครื่องดื่มแต่งกลิ่นรส
References
Newton DE. Marijuana : a reference handbook. 2nd ed. California : ABC-CLIO; 2017.
ยาใจ อภิบุณโยภาส, วินัย วนานุกูล. ภาวะพิษจากกัญชา. จุลสารพิษวิทยา 2552; 17(2) : 3-5.
Wang M, Wang YH, Avula B, Radwan MM, Wanas AS, van Antwerp J, et al. Decarboxylation study of acidic cannabinoids : a novel approach using ultra-high-performance supercritical fluid chromatography/photodiode array-mass spectrometry. Cannabis Cannabinoid Res 2016; 1(1) : 262-71.
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 424 (พ.ศ. 2564) เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 45 ง (วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564). หน้า 32.
BfR. BgVV empfi ehlt Richtwerte für THC (tetrahydrocannabinol) in hanfhaltigen Lebensmitteln. [online]. 2000; [cited 2021 Jul 9]; [1 screen]. Available from : URL: https://www.bfr.bund.de/de/presseinformation/2000/07/bgvv_empfiehlt_richtwerte_fuer_thc__tetrahydrocannabinol__in_hanfhaltigen_lebensmitteln-884.html.
Arcella D, Cascio C, Mackay K. Acute human exposure assessment to tetrahydrocannabinol (Δ9-THC). EFSA J 2020; 18(1) : 5953. (41 pages).
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 425 (พ.ศ. 2564) เรื่อง เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง โปรตีนจากเมล็ดกัญชง และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของเมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือโปรตีนจากเมล็ดกัญชง. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 49 ง (วันที่ 4 มีนาคม 2564). หน้า 1.
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 427 (พ.ศ. 2564) เรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของส่วนของกัญชาหรือกัญชง. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 168 ง (วันที่ 23 กรกฎาคม 2564). หน้า 22.
Pourseyed Lazarjani M, Torres S, Hooker T, Fowlie C, Young O, Seyfoddin A. Methods for quantification of cannabinoids : a narrative review. J Cannabis Res 2020; 2 : 35. (10 pages).
Magnusson B, Örnemark U, editors. The fitness for purpose of analytical method : a laboratory guide to method validation and related topics. 2nd ed. United Kingdom : EURACHEM; 2014.
Ellison SLR, Williams A, editors. Quantifying uncertainty in analytical measurement. 3rd ed. United Kingdom : EURACHEM/CITAC; 2012.
Iffl and K, Carus M, Grotenhermen F. Decarboxylation of Tetrahydrocannabinolic acid (THCA) to active THC. Brussels, Belgium : European Industrial Hemp Association; 2016.
Dussy FE, Hamberg C, Luginbühl M, Schwerzmann T, Briellmann TA. Isolation of Delta9-THCA-A from hemp and analytical aspects concerning the determination of Delta9-THC in cannabis products. Forensic Sci Int 2005; 149(1) : 3-10.
Saingam W, Sakunpak A. Development and validation of reverse phase high performance liquid chromatography method for the determination of delta-9-tetrahydrocannabinol and cannabidiol in oromucosal spray from cannabis extract. Rev Bras Farmacogn 2018; 28 : 669-72.
Klein RFX. Analysis of “marijuana edibles” - food products containing marijuana or marijuana extracts - an overview, review, and literature survey. Microgram J 2017; 14(1-4) : 9-32.
Telepchak MJ, Searfoss J, Wang X, Mackowsky D. Determination of cannabinoid content and pesticide residues in cannabis edibles and beverages. LCGC 2016; 34(10) : 20-7.
Holler JM, Bosy TZ, Dunkley CS, Levine B, Past MR, Jacobs A. Delta9-tetrahydrocannabinol content of commercially available hemp products. J Anal Toxicol 2008; 32(6) : 428-32.
Mandrioli M, Tura M, Scotti S, Gallina Toschi T. Fast detection of 10 cannabinoids by RP-HPLC-UV method in Cannabis sativa L. Molecules 2019; 24(11) : 2113. (12 pages).
Christinat N, Savoy MC, Mottier P. Development, validation and application of a LC-MS/MS method for quantification of 15 cannabinoids in food. Food Chem 2020; 318 : 126469. (10 pages).
Citti C, Ciccarella G, Braghiroli D, Parenti C, Vandelli MA, Cannazza G. Medicinal cannabis : principal cannabinoids concentration and their stability evaluated by a high performance liquid chromatography coupled to diode array and quadrupole time of flight mass spectrometry method. J Pharm Biomed Anal 2016; 128 : 201-9.
De Backer B, Debrus B, Lebrun P, Theunis L, Dubois N, Decock L, et al. Innovative development and validation of an HPLC/DAD method for the qualitative and quantitative determination of major cannabinoids in cannabis plant material. J Chromatogr B Analyt Technol Biomed Life Sci 2009; 877(32) : 4115-24.
ทิพวรรณ นิ่งน้อย. แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2549.