การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดกัญชาพันธุ์ไทยต่อเซลล์เพาะเลี้ยงปกติ

ผู้แต่ง

  • พราว ศภุจริยาวัตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ศรายุธ ระดาพงษ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ตีญานี สาหัด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ณฐภัทร หาญกิจ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กัญชริญา ภารเขจร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ปฏิภาณ พริ้มพราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พิเชฐ บัญญัติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ณัฐพงษ์ วิชัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พรชัย สินเจริญโภไคย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

สารสกัดกัญชา, พิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยง, กัญชาพันธุ์ไทย, วิธี MTT, วิธี Neutral red uptake

บทคัดย่อ

         กัญชา (Cannabis sativa L.) เป็นพืชที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการกล่าวถึงสรรพคุณในการรักษาโรค และสามารถผลักดันเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ ในปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ของกัญชาในทางการแพทย์โดยที่ไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลข้างเคียงทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงข้อมูลด้านพิษวิทยาและความปลอดภัยมีอยู่น้อย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพิษของสารสกัดช่อดอกกัญชาพันธุ์ไทย 3 พันธุ์ ได้แก่ PTC0601 (THC : CBD = 2 : 1), PTC0602 (THC : CBD = 10 : 1) และ PTC0729 (THC : CBD = 1 : 6) ที่สกัดด้วยวิธีของไหลวิกฤตยิ่งยวด (Supercritical Fluid Extraction) วิเคราะห์ปริมาณด้วยวิธี HPLC ต่อเซลล์เพาะเลี้ยงชนิด ปกติ ได้แก่ เซลล์ปอด (SV-80), เซลล์ตับ (Chang-liver) และเซลล์ไต (HEK-293) โดยใช้วิธี MTT assay และเซลล์ เอมบริโอหนู (BALB/c 3T3) โดยใช้วิธี Neutral red uptake assay เพื่อกำหนดขนาดแนะนำเริ่มต้นสำหรับทดสอบพิษเฉียบพลัน ผลการทดลองพบว่าสารสกัดช่อดอกกัญชาไทย 3 พันธุ์ มีค่ายับยั้งการเจริญเติบโตร้อยละ 50 (IC50) ต่อเซลล์ไต (HEK-293) ตํ่าที่สุด (มีความเป็นพิษสูงที่สุด) รองลงมาเซลล์ตับ และเซลล์ปอด ส่วนในเซลล์เอมบริโอหนู พบว่าสารสกัดกัญชาพันธุ์ PTC0602 มีความเป็นพิษต่อเซลล์ BALB/c 3T3 สูงที่สุด รองลงมาคือ PTC0601 และ PTC0729 ขนาดแนะนำเริ่มต้นสำหรับทดสอบพิษเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง เท่ากับ 300 มิลลิกรัม/กิโลกรัม งานวิจัยนี้ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการเตือนภัยผู้ป่วยที่ใช้ช่อดอกของกัญชาในการรักษาทางการแพทย์ ดังนั้นควรมีการศึกษาในเรื่องความปลอดภัยต่อเซลล์เพาะเลี้ยงชนิดอื่นๆ หรือในสัตว์ทดลอง และการนำกัญชาไปใช้เพิ่มเติมต่อไป

References

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (พ.ศ. 2563). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ ๒๙๐ ง (วันที่ 14 ธันวาคม 2563). หน้า 33.

กรุงเทพธุรกิจ. เตรียมลุย! เส้นทางกัญชาทางการแพทย์เพิ่มมูลค่าตลาดกัญชา. [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 10 ก.ค. 2564]; [6 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/932483.

Small E, Cronquist A. A practical and natural taxonomy for Cannabis. Taxon 1976; 25(4): 405-35.

ราชบัณฑิตยสถาน. หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์; 2547.

Anderson LC. Leaf variation among Cannabis species from a controlled garden. Bot Mus Leafl Harv Univ 1980; 28(1): 61-9.

Hanus LO, Meyer SM, Munoz E, Taglialatela-Scafati O, Appendino G. Phytocannabinoids: a unifi ed critical inventory. Nat Prod Rep 2016; 33(12): 1357-92.

กัญชายาเสพติดหรือยารักษาโรค “สารสำคัญในกัญชามีอะไร”. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 10 ก.ค. 2564]; 13 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://masakigarden.com/สารสำคัญในกัญชา.

องค์ความรู้เรื่องกัญชาเพื่อสุขภาพ. อะไรคือ“เทอร์ปีน (Terpene)” ในกัญชา. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 7 ก.ค. 2564]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.cannhealth.org/content/4894/terpene.

Ehara M, Noguchi T, Ueda K. Uptake of neutral red by the vacuoles of a green alga, Micrasterias pinnatifi da. Plant Cell Physiol 1996; 37(6): 734-41.

OECD Series on Testing and Assessment No. 129. Guidance document on using the cytotoxicity tests to estimate starting doses for acute oral systemic toxicity tests. Paris: Organization for Economic Co-operation and Development; 2010.

ขนิษฐา เธียรกานนท์, ณัฐวุฒิ โตวนำชัย. แพทย์แนะไม่ให้ใช้ “กัญชา” ชะลอความเสื่อมของไต. [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 13 ก.ค. 2564]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/930407.

สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย. ความคิดเห็นต่อการนำกัญชามาใช้ประกอบการรักษาในโรคระบบประสาท สำหรับบุคลากรทางการแพทย์. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 13 ก.ค. 2564]; [5 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://neurothai.org/images/journal/2020/vol36_no2/07%20Various%20topics.pdf.

ChoiPark WHD, Baek SH, Chu JP, Kang MH, Mi YJ. Cannabidiol induces cytotoxicity and cell death via apoptotic pathway in cancer cell lines. Biomolecules Therapeut 2008; 16(2): 87-94.

Manosroi A, Chankhampan C, Kietthanakorn B, Ruksiriwanich W, Chaikul P, Boonpisuttinant K, et al. Pharmaceutical and cosmeceutical biological activities of hemp (Cannabis sativa L var. sativa) leaf and seed extracts. Chiang Mai J Sci 2019; 42(2): 180-95.

Zagórska-Dziok M, Bujak T, Ziemlewska A, Nizioł-Łukaszewska Z. Positive eff ect of Cannabis sativa L. herb extracts on skin cells and assessment of cannabinoid-based hydrogels properties. Molecules 2021; 26(4): 802. (20 pages).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2021

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)