การศึกษาฤทธิ์สมานแผลของสารสกัดช่อดอกกัญชาเพศเมียพันธ์ุไทยต่อเซลล์ปอดเพาะเลี้ยง
คำสำคัญ:
สารสกัดช่อดอกกัญชาเพศเมียพันธุ์ไทย, เซลล์ปอดเพาะเลี้ยง, การสมานแผลบทคัดย่อ
การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่พบได้บ่อย รวมถึงการติดเชื้อด้วยไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งผู้ติดเชื้ออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างนำไปสู่การเกิดปอดอักเสบ ส่งผลต่อความเสียหายของเซลล์ปอดได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์สมานแผลของสารสกัดช่อดอกกัญชาเพศเมียพันธุ์ไทยต่อเซลล์ปอดเพาะเลี้ยง (SV-80) ด้วย scratch assay ในหลอดทดลอง ผลการทดลองพบว่า สารสกัดกัญชา PTC0601 มีคุณสมบัติที่มีประสิทธิภาพในการสมานแผล เพิ่มการกระตุ้นเซลล์ การแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และการเคลื่อนที่ของเซลล์ SV-80 ที่ความเข้มข้น 2.5 ไมโครกรัม/มิลลิตร ส่วนสารสกัดกัญชา PTC0729 ไม่สามารถเหนี่ยวนำเซลล์ SV-80 ที่ความเข้มข้นต่างๆ ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ดังนั้นข้อมูลเบื้องต้นนี้ แสดงให้เห็นว่ากัญชาไทยมีประสิทธิภาพการสมานแผลในเซลล์ปอดเพาะเลี้ยงได้ สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจ อย่างไรก็ตามการนำสารสกัดกัญชาไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพควรคำนึงถึงสัดส่วนขององค์ประกอบสารสำคัญ นอกจากนี้การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพควรทดสอบกลไกการสมานแผลเพิ่มเติมในเซลล์ปอดเพาะเลี้ยงชนิดเซลล์เยื่อบุ รวมถึงการศึกษาฤทธิ์การต้านอักเสบ และการศึกษาด้านความปลอดภัยของสารสกัดจากช่อดอกกัญชาเพศเมีย เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อไป
References
ปารยะ อาศนะเสน. เป็นหวัดหรือมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน...ต้องกินยาแก้อักเสบไหม. [ออนไลน์]. 2557; [สืบค้น 16 มิ.ย. 2564]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1137.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Coronavirus disease 2019 (COVID-19). [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 16 มิ.ย. 2564]; [42 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/handout001_12032020.pdf.
Liu P, Xu M, Cao L, Su L, Lu L, Dong N, et al. Impact of COVID-19 pandemic on the prevalence of respiratory viruses in children with lower respiratory tract infections in China. Virol J 2021; 18: 159. (7 pages).
Cannabis sativa L. In: The Plant List. Version 1.1. published on the internet. [online]. 2013; [cited 2021 Jun 16]; [3 screens]. Available from: URL: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2696480.
Moreau M, Ibeh U, Decosmo K, Bih N, Yasmin-Karim S, Toyang N, et al. Flavonoid derivative of Cannabis demonstrates therapeutic potential in preclinical models of metastatic pancreatic cancer. Front Oncol 2019; 9: 660. (9 pages).
Daris B, Verboten MT, Knez Z, Ferk P. Cannabinoids in cancer treatment: therapeutic potential and legislation. Bosn J Basic Med Sci 2019; 19(1): 14-23.
Chakravarti B, Ravi J, Ganju RK. Cannabinoids as therapeutic agents in cancer: current status and future implications. Oncotarget 2014; 5(15): 5852-72.
Velasco G, Sanchez C, Guzman M. Endocannabinoids and cancer. Handb Exp Pharmacol 2015; 231: 449-72.
Russo EB. Cannabis therapeutics and the future of neurology. Front Integr Neurosci 2018; 12: 51. (11 pages).
เสงี่ยม พงษ์บุญรอด. ไม้เทศเมืองไทย สรรพคุณของยาเทศและยาไทย. กรุงเทพฯ: เกษมบรรณกิจ; 2522.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ย่อเภสัชกรรมไทยและสรรพคุณสมุนไพร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์; 2552.
Kinghorn AD, Falk H, Gibbons S, Kobayashi J, editors. Phytocannabinoids: unraveling the complex chemistry and pharmacology of Cannabis sativa, volume 103. Cham, Switzerland: Springer International Publishing; 2017.
Chandra S, Lata H, ElSohly MA, editors. Cannabis sativa L. - botany and biotechnology. Cham, Switzerland: Springer International Publishing; 2017.
Andre CM, Hausman JF, Guerriero G. Cannabis sativa: the plant of the thousand and one molecules. Front Plant Sci 2016; 7: 19. (17 pages).
Pertwee RG. The diverse CB1 and CB2 receptor pharmacology of three plant cannabinoids: Δ9-tetrahydrocannabinol, cannabidiol and Δ9-tetrahydrocannabivarin. Br J Pharmacol 2008; 153(2): 199-215.
Nguyen DT, Orgill DP, Murphy GF. The pathophysiologic basis for wound healing and cutaneous regeneration. In: Orgill D, Blanco C, editors. Biomaterial for treating skin loss. Cambridge: Woodhead Publishing Limited; 2009. p. 25-57.
กมลวรรณ เจนวิถีสุข. กระบวนการหายของแผลและหลักการรักษา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 28(4): 10-17.
Liang CC, Park AY, Guan JL. In vitro scratch assay: a convenient and inexpensive method for analysis of cell migration in vitro. Nat Protoc 2007; 2(2): 329-33.
กนกอร สมบัติ, ธีรทัศน์ สุดสาย. ฤทธิ์สมานแผลของสารสกัดจากใบพลู. ใน: เอกสารการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12 ปีการศึกษา 2560. วันที่ 17 สิงหาคม 2560. ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต; 2560. หน้า 1612-1621.
Byun WS, Bae ES, Cui J, Park HJ, Oh DC, Lee SK. Antitumor activity of pulvomycin via targeting activated-STAT3 signaling in docetaxel-Resistant triple-negative breast cancer cells. Biomedicines 2021; 9(4): 436. (16 pages).
Balekar N, Katkam NG, Nakpheng T, Jehtae K, Srichana T. Evaluation of the wound healing potential of Wedelia trilobata (L.) leaves. J Ethnopharmacol 2012; 141(3): 817– 24.
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 19 ก (วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562). หน้า 1.
Miller HP, Bonawitz SC, Ostrovsky O. The eff ects of delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) on infl ammation: a review. Cell Immunol 2020; 352. 104111. (3 pages).
Klein M, de Quadros De Bortolli J, Guimarães FS, Salum FG, Cherubini K, de Figueiredo MAZ. Eff ects of cannabidiol, a Cannabis sativa constituent, on oral wound healing process in rats: clinical and histological evaluation. Phytother Res 2018; 32(11): 2275-81.