การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันในผู้ที่ได้รับวัคซีน CoronaVac ครบ 2 โดส และปัจจัยที่มีผลต่อระดับภูมิคุ้มกัน

ผู้แต่ง

  • วชิราภรณ์ อรุโณทอง กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลลำปาง
  • นิภาวรรณ เจตตวัน กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลลำปาง
  • มลฑล มายูร กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลลำปาง
  • ธัญธิวา บุญพิศิษฐ์สกุล กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลลำปาง
  • สุรินทร์ จันทร์ต๊ะ กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลลำปาง

คำสำคัญ:

ระดับภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีน, วัคซีนชนิดเชื้อตาย, วัคซีนซิโนแวค, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

บทคัดย่อ

       โรคโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลก ปัจจุบันมีวัคซีนที่ช่วยลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันในกลุ่มตัวอย่างหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน CoronaVac ครบ 2 โดส และปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างของระดับภูมิคุ้มกัน โดยการสุ่มตัวอย่างเลือดที่เหลือจากการตรวจสุขภาพประจำปีของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลลำปางที่ได้รับการฉีดวัคซีน CoronaVac ครบ 2 โดส ตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป จำนวน 66 ราย เพื่อตรวจแอนติบอดีชนิด IgG ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 โดยใช้นํ้ายาตรวจ SARS-CoV-2 IgG II Quant ด้วยเครื่อง ARCHITECH i1000 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 100 มีระดับภูมิคุ้มกันสูงขึ้นหลังจากได้รับวัคซีน CoronaVac ครบ 2 โดส 4 สัปดาห์ ขึ้นไป โดยมีค่าเฉลี่ยของระดับภูมิคุ้มกันอยู่ที่ 1,021.2 AU/mL ระดับตํ่าสุดอยู่ที่ 82.1 AU/mL และระดับสูงสุดอยู่ที่ 4,521.9 AU/mL ค่าเฉลี่ยของระดับภูมิคุ้มกันในผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี (723.7 AU/mL) มีระดับตํ่ากว่าผู้ที่มีอายุ < 45 ปี (1,240.4 AU/mL) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.0004) ค่าเฉลี่ยของระดับภูมิคุ้มกันเมื่อเจาะตรวจหลังจากฉีดวัคซีนเกิน 50 วัน (664.2 AU/mL) ตํ่ากว่ากลุ่มที่ฉีดวัคซีน ≤ 50 วัน (1,212.1 AU/mL) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.0001) ความแตกต่างของเพศไม่มีผลต่อระดับภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้นหลังจากได้รับวัคซีน ระดับการกระตุ้นของภูมิคุ้มกันในกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุสูงขึ้นและระดับภูมิคุ้มกันหลังจากฉีดวัคซีนไปแล้วมากกว่า 50 วัน มีระดับลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการพิจารณาการกระตุ้นด้วยวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันในการต่อต้านเชื้อโควิด 19 จึงอาจมีความจำเป็นในการพิจารณาให้ในกลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้

References

Worldometer. COVID-19 coronavirus pandemic. [online]. 2021; [cited 2021 Oct 10]; [5 screens]. Available from: URL: https://www.worldometers.info/coronavirus/?zarsrc=130#countries.

Status of COVID-19 vaccines within WHO EUL/PQ evaluation process. [online]. 2021; [cited 2021 Oct 8]; [3 screens]. Available from: URL: https://extranet.who.int/pqweb/sites/default/files/documents/Status_COVID_VAX_29Sept2021_0.pdf.

กรมควบคุมโรค. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ของประเทศไทย. [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 16 พ.ค. 2564]; [70 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1729520210301021023.pdf.

Wikipedia. COVID-19 pandemic in Chile. [online]. 2020; [cited 2021 Jul 1]; [10 screens]. Available from: URL: https://en.wikipedia.org/wiki/COVID-19_pandemic_in_Chile.

มาลินี จิตตกานต์พิชย์. การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [ออนไลน์]. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์; 2563. [สืบค้น 18 มิ.ย. 2564]; [20 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://nih.dmsc.moph.go.th//data/data/64/covid/covid_lab16102020.pdf.

Abbott Laboratories. SARS-CoV-2 IgG II Quant for use with ARCHITECT. Ireland: Abbott; 2021.

Abbott Laboratories. AdviseDx SARS-CoV-2 IgG II for use with ARCHITECT. [online]. 2021; [cited 2021 Oct 8]; [16 screens]. Available from: URL: https://www.fda.gov/media/146371/download.

Zhang Y, Zeng G, Pan H, Li C, Hu Y, Chu K, et al. Safety, tolerability, and immunogenicity of an inactivated SARS-CoV-2 vaccine in healthy adults aged 18–59 years: a randomised, double-blind, placebo-controlled, phase 1/2 clinical trial. Lancet Infect Dis 2021; 21(2): 181-92.

Tanriover MD, Doğanay HL, Akova M, Güner HR, Azap A, Akhan S, et al. Efficacy and safety of an inactivated whole-virion SARS-CoV-2 vaccine (CoronaVac): interim results of a double-blind, randomised, placebo-controlled, phase 3 trial in Turkey. Lancet 2021; 398(10296): 213-22.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. กรมวิทย์ฯ ร่วมกับ ศิริราช เปิดผลข้อมูลล่าสุด “วัคซีนสลับและวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3” ต่อไวรัสสายพันธุ์เดลตา. [ออนไลน์] . 2564; [สืบค้น 8 ต.ค. 2564]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/1249.

ธรรมศาสตร์ ทูเดย์. คณะแพทย์ มธ. ร่วม BIOTEC วิจัย SV. [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 18 ก.ค. 2564]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.facebook.com/thammasattoday/photos/371218451004514?_rdc=1&_rdr.

Müller L, Andrée M, Moskorz W, Drexler I, Walotka L, Grothmann R, et al. Age-dependent immune response to the Biontech/Pfizer BNT162b2 coronavirus disease 2019 vaccination. Clin Infect Dis [serial online]. 2021; [cited 2021 May 16]; ciab381: [8 screens]. Available from: URL: https://academic.oup.com/cid/advance-article/doi/10.1093/cid/ciab381/6255965.

National News Bureau of Thailand. COVID-19 vaccination results in Thailand: stronger immune system. [online]. 2021; [cited 2021 Jun 16]; [1 screen]. Available from: URL: https://thainews.prd.go.th/en/news/print_news/TCATG210518132746992.

Society for Women’s Health Research. COVID-19 vaccines: sex differences in immune responses. [online]. 2021; [cited 2021 Jun 16]; [4 screens]. Available from: URL: https://swhr.org/covid-19-vaccines-sex-differences-in-immune-responses/.

McCartney PR. Sex-based vaccine response in the context of COVID-19. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2020; 49(5): 405-8.

Vijayasingham L, Bischof E, Wolfe J. Sex-disaggregated data in COVID-19 vaccine trials. Lancet 2021; 397(10278): 966-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)