การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณแคนนาบินอยด์ในใบกัญชาด้วยวิธี Ultra High Performance Liquid Chromatography
คำสำคัญ:
กัญชา, CBD, CBN, THC, UHPLCบทคัดย่อ
กัญชา (Cannabis sativa L.) ได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคตั้งแต่สมัยโบราณ สารสำคัญที่พบในกัญชา คือ Tetrahydro cannabinol (THC) ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เช่น Cannabidiol (CBD) และ Cannabinol (CBN) สาร THC มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด ลดภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัดและรักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง สาร CBD มีฤทธิ์บรรเทาอาการลมชัก แก้ปวด ลดอาการโรคพาร์กินสัน ต้านการอักเสบ ส่วนสาร CBN มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งปอด ปัจจุบันกัญชาถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบทางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่หลากหลาย อย่างไรก็ตามยังไม่มีวิธีการควบคุมคุณภาพสารที่พบในกัญชา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ปริมาณแคนนาบินอยด์ (CBD, CBN และ THC) ในใบกัญชาด้วยวิธี Ultra-High Performance Liquid Chromatography (UHPLC) โดยการสกัดตัวอย่างใบกัญชาใน ethanol ด้วยวิธี reflux กรองและนำสารสกัดมาระเหยแห้ง จากนั้นละลายกลับและปรับปริมาตรด้วย methanol แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยเครื่อง UHPLC ผลการทดสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ดังกล่าว พบว่า calibration curve ของ CBD, CBN และ THC มีลักษณะเป็นเส้นตรงในช่วงความเข้มข้น 1.07-106.89, 1.00-99.60 และ 1.00-99.90 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ค่า correlation coefficient (r) เท่ากับ 0.999, ค่า %recovery อยู่ในช่วง 96.83-100.89%, ค่า HORRAT อยู่ในช่วง 0.30-1.96, limit of detection (LOD) ของ CBD, CBN และ THC มีค่าเท่ากับร้อยละ 0.006, 0.009 และ 0.003 โดยนํ้าหนัก ตามลำดับ ในขณะที่ limit of quantitation (LOQ) มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 0.020, 0.032 และ 0.011 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ซึ่งวิธีวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นนี้ มีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้เป็นวิธีตรวจวิเคราะห์ปริมาณสาร CBD, CBN และ THC ในวัตถุดิบและสารสกัดกัญชาได้
References
นันทวัน บุญยะประภัศร, อรนุช โชคชัยเจริญพร, บรรณาธิการ. สมุนไพรไม้พื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2542.
Mechoulam R, Hanuš LO, Pertwee R, Howlett AC. Early phytocannabinoid chemistry to endocannabinoids and beyond. Nat Rev Neurosci 2014; 15(11) : 757-64.
Velasco G, Sánchez C, Guzmán M. Towards the use of cannabinoids as antitumour agents. Nat Rev Cancer 2012; 12(6) : 436-44.
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 424 (พ.ศ. 2564) เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 45 ง (วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564). หน้า 32.
สำนักงานจัดการกัญชาและกระท่อมทางการแพทย์แผนไทย. Infographic 16 ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่. [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 2 ก.ค. 2564]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL:https://ockt.dtam.moph.go.th/index.php/cannabis-formula/200-infographic-16.
ศรายุธ ระดาพงษ์, พราว ศุภจริยาวัตร, เมธิน ผดุงกิจ. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของกัญชา. ว. กรมวิทย พ 2564; 63(1) : 219-32.
Veniero G, Lucia D, Fiorenza F, Rino F, Elisa S, Giovanna T. Determination of primary active constituents in Cannabis preparations by high-resolution gas chromatography/flame ionization detection and high-performance liquid chromatography/UV detection. Anal Chim Acta 2002; 468(2) : 245-54.
Ciolino LA, Ranieri TL, Taylor AM. Commercial cannabis consumer products part 2 : HPLC-DAD quantitative analysis of cannabis cannabinoids. Forensic Sci Int 2018; 289 : 438-47.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2549.
Hazekamp A, Fischedick JT, Díez ML, Lubbe A, Ruhaak RL. Chemistry of cannabis. In : Mander L, Liu HW, editors. Comprehensive natural products II. Oxford, UK : Elsevier Science; 2010. p. 1033-1084.
Russo EB, Marcu J. Cannabis pharmacology : the usual suspects and a few promising leads. Adv Pharmacol 2017; 80 : 67-134.
Dan Jin, Kaiping Dai, Zhen Xie & Jie Chen. Secondary metabolites profiled in cannabis inflorescences, leaves, stem barks, and roots for medicinal purposes. Sci Rep 2020; 10(1) : 3309. (14 pages).