การตรวจพยาธิในปลาทะเลและผลิตภัณฑ์จากปลาทะเล ช่วงปี พ.ศ. 2561-2563

ผู้แต่ง

  • ขันทอง เพ็ชรนอก สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กนกวรรณ นุชนิยม สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ก่อเกียรติ ศาสตรินทร์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

พยาธิ, ปลาทะเล, ผลิตภัณฑ์จากปลาทะเล

บทคัดย่อ

       เนื้อปลามีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วยโปรตีนที่ย่อยง่าย โดยเฉพาะในเนื้อปลาทะเล มีสารอาหารช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาทในส่วนความจำและการเรียนรู้ มีวิตามินดี แคลเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง นอกจากนี้เนื้อปลามีไขมันน้อยกว่าเนื้อสัตว์อื่น จึงช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ปัจจุบันคนไทยมีความสนใจอาหารสุขภาพกันมากขึ้นจึงมักพบเมนูปลาดิบในร้านค้าเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามปลาดิบที่อยู่ในน้ำเค็มอาจพบตัวอ่อนพยาธิตัวกลม anisakid (anisakid nematodes larvae) ที่ก่อให้เกิดโรค anisakiasis ได้ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค คณะผู้วิจัยจึงได้ตรวจหาพยาธิในปลาทะเลและผลิตภัณฑ์จากปลาทะเล จำนวน 74 ตัวอย่าง แบ่งเป็นปลากระป๋อง ปลาทั้งตัวแช่แข็ง และปลาแล่แช่แข็ง จำนวน 53, 11 และ 10 ตัวอย่าง ตามลำดับ ผลการตรวจพบตัวอ่อนพยาธิตัวกลม anisakid จำนวน 16 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 21.62 ของตัวอย่างทั้งหมด โดยพบในปลากระป๋องปลาทั้งตัวแช่แข็ง และปลาแล่แช่แข็ง จำนวน 6, 6 และ 4 ตัวอย่าง ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 11.32, 54.54 และ 40.00 ตามลำดับ โดยพบพยาธิจำนวนมากที่สุดในช่องท้องของปลาซาบะทั้งตัวแช่แข็ง และปลาแมคเคอเรลในน้ำเกลือหรือน้ำซอสมากเป็นลำดับรองลงมา ดังนั้น การรับประทานปลาทะเลสุกๆ ดิบๆ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค anisakiasis ได้ ผู้บริโภคจึงควรปรุงอาหารประเภทนี้ให้สุกก่อนนำไปรับประทาน

References

ปรียานุช แย้มวงษ์. กินปลาเพื่อสุขภาพ. [ออนไลน์]. 2561; [สืบค้น 19 พ.ค. 2564]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=345.

ประวัติความเป็นมา ปลาซาบะ. [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 19 พ.ค. 2564]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://sites.google.com/site/333scomber333/khwam-pen-ma.

วิลาสินี ถุนาพรรณ์, สุพรรณี ลีโทชวลิต, เพ็ญจันทร์ ละอองมณี, มลฤดี สนธิ. การศึกษาพยาธิ Anisakid Nematodes ในปลาปากคม (Saurida undosquamis) จากบริเวณอ่าวไทย. แก่นเกษตร 2562; 47(ฉบับพิเศษ 2): 29-34.

จันทิพย์ สิงห์ตุ้ย, นภาพร แก้วดวงดี, ประภาทิพย์ เอี่ยมโสภณา. การตรวจหาและจำแนกพยาธิตัวกลมอะนิซาคิสโดยเทคนิคพีซีอาร์-เรสตริกชันเอนโดนิวคลีเอส. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 2555; 12(2): 142-50.

วิไลพร ขันทอง. การตรวจหาพยาธิ Anisakis spp. และสารฟอร์มาลีนตกค้างในปลาทูตัวสั้น Rastrelliger brachysoma ที่จำหน่ายในตลาดปลาแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม. ว. สหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2561; 3(1); 36-44.

ประเสริฐ สายเชื้อ, อมรรัตน์ จำเนียรทรง. ซูชิ และซาซิมิ: การปนเปื้อนของแบคทีเรีย และหนอนพยาธิ แนวทางการป้องกัน. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2558; 15(1): 114-28.

Bacteriological Analytical Manual (BAM). Chapter 19: Parasitic animals in foods. [online]. 2012; [cited 2021 May 19]; [11 screens]. Available from: URL: https://www.fda.gov/food/laboratory-methods-food/bam-chapter-19-parasitic-animals-foods.

วัชริยา ภูรีวิโรจน์กุล. การตรวจหาตัวอ่อนหนอนตัวกลมกลุ่ม Ascaridoid ในปลาทะเลจากอ่าวไทย. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47; 17-20 มี.ค. 2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2552. หน้า 48-56.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ปลาแมกเคอเรล. [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 19 พ.ค. 2564]; [20 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาแมกเคอเรล.

Nematodes/พยาธิตัวกลม. [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 19 พ.ค. 2564]; [5 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3300/nematodes-พยาธิตัวกลม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)