ความชุกของการติดเชื้อ Human papillomavirus สายพันธุ์เสี่ยงสูงของสตรีไทยในพื้นที่ จังหวัดพิจิตร อุทัยธานี ชัยนาท และกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • ศิริญญา เพชรพิชัย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ณัฐพร คล้ายคลึง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อมรรัตน์ โพธิ์ตา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อนุกูล บุญคง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์
  • ปาริชาติ กัญญาบุญ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

ความชุก, HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง, HPV DNA test, สตรีไทย

บทคัดย่อ

       มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากอันดับที่สองของสตรีไทย และการติดเชื้อ human papillomavirus (HPV) สายพันธุ์ความเสี่ยงสูงมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปากมดลูก ซึ่งในอดีตยังไม่มีข้อมูลความชุกของ HPV 14 high-risk (HPV 14 HR) ของภาคเหนือตอนล่าง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความชุกของการติดเชื้อ HPV 14 HR ของสตรีไทยอายุ 30–60 ปี ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร อุทัยธานี ชัยนาท และกำแพงเพชร โดยใช้ข้อมูลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม 2564 ผลการตรวจด้วยวิธี HPV DNA test จำนวน 5,913 ราย พบความชุกในการติดเชื้อ HPV 14 HR 7.20% โดยพบการติดเชื้อสูงสุดที่จังหวัดกำแพงเพชร รองลงมา คือ พิจิตร ชัยนาท และอุทัยธานี ที่ 9.07%, 7.55% 6.62% และ 6.05% ตามลำดับ สายพันธุ์ที่มีการติดเชื้อใน 4 จังหวัด สูงสุด 3 อันดับแรก คือ สายพันธุ์ 52, 16, และ 58 โดยพบที่ 18.08%, 9.39% และ 8.45% ตามลำดับ ความผิดปกติของเซลล์ต่อการติดเชื้อ HPV ตามช่วงอายุ พบว่าช่วงอายุ 30–40 ปี พบความผิดปกติสูงสุดที่ 25% โดยอายุ 37 ปี พบความผิดปกติสูงสุด 6.25% ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เพื่อเพิ่มโอกาสในการตรวจพบความผิดปกติของเซลล์มะเร็งปากมดลูก รวมทั้งใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกและเลือกใช้วัคซีนที่เหมาะสมต่อไป

References

Gargano J, Meites E, Watson M, Unger E, Markowitz L. Chapten 5: human papillomavirus (HPV). In: Roush SW, Baldy LM, Hall MAK, editors. Manual for the surveillance of vaccine-preventable diseases. Atlanta: Centers for Disease Control and Prevention (CDC); 2017. p. 5.1-5.7.

การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. ใน: สุรพันธุ์ คุณอมรพงศ์, สุมาลี ศิริอังกุล. พยาธิวิทยาของปากมดลูก. เชียงใหม่: คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2561. หน้า 308-332.

แนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. ใน: ปิยวัฒน์ เลาวหุตานนท์, อาคม ชัยวีระวัฒนะ, วีรวุฒิ อิ่มสำราญ, บรรณาธิการ. แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก. กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2561. หน้า 6-20.

ดุริยา ฟองมูล, มินตา นากอง, สมเกียรติ ลลิตวงศา, วรันกร เกยูรวงศ์. ความชุกและการกระจายตัวของการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแปปปิโลม่าชนิดความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง. ว เทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2558; 48(3): 231-40.

ทุมวดี ตั้งศิริวัฒนา, สุขใจ ผลอำไพสถิตย์, อัญชลี ชัยนวล, กรองทิพย์ บุญสม, สังคม วิทยานันทน์, สมคิด ธิจักร์ และคณะ. ความชุกของการติดเชื้อไวรัส Human papillomavirus (HPV) และไทป์ต่างๆ ในสตรีไทยที่มีผลแปปสเมียร์ปกติ. ว กรมวิทย พ 2562; 61(2): 73-85.

Baba S, Taguchi A, Kawata A, Hara K, Eguchi S, Mori M, et al. Differential expression of human papillomavirus 16-, 18-, 52-, and 58-derived transcripts in cervical intraepithelial neoplasia. Virol J 2020; 17(1): 32. (10 pages).

Burd EM. Human papillomavirus and cervical cancer. Clin Microbiol Rev 2003; 16(1): 1-17.

Kietpeerakool C, Kleebkaow P, Srisomboon J. Human papillomavirus genotype distribution among Thai woman with high-grade cervical intraepithelial lesion and invasive cervical: a literature review. Asian Pac J Cancer Prev 2015; 16(13): 5153-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)