การตรวจหาผู้ติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่สัมผัสผู้ป่วยในโรงงานทอผ้า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ด้วยวิธี real-time RT-PCR

ผู้แต่ง

  • พายุ ภักดีนวน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ธานี วงษ์ชัย โรงพยาบาลแม่สอด ตาก
  • ณัฐกานต์ ชื่นชม โรงพยาบาลแม่สอด ตาก
  • วิพัฒน์ กล้ายุทธ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • โสภา ศรีสังข์งาม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สุปราณี บุญชู สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • เบญจวรรณ เพชรสุขศิริ 35 ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง นนทบุรี
  • จณิศรา ฤดีอเนกสิน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

โควิด 19, เชื้อไวรัสโคโรนา 2019, Real-time RT-PCR, โรงพยาบาลแม่สอด, การเฝ้าระวังเชิงรุก

บทคัดย่อ

    เชื้อ SARS-CoV-2 ก่อให้เกิดโรคโควิด 19 ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีผู้ป่วยและเสียชีวิตจำนวนมากทั่วโลก รายงานนี้นำเสนอผลการตรวจค้นหาผู้ป่วยในกลุ่มแรงงานต่างด้าวของโรงงานทอผ้าแห่งหนึ่งในอำเภอแม่สอด ซึ่งเป็นผู้เสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อจากการสัมผัสหรือสงสัยมีการสัมผัสกับผู้ป่วย ภายหลังเหตุการณ์พบแรงงานป่วยด้วยโรคโควิด 19 จากการเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลแม่สอด ช่วงกลางปี พ.ศ. 2564 ดำเนินการติดตามผู้สัมผัสและตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ตามกระบวนการเฝ้าระวังโรคเชิงรุก โดยเก็บตัวอย่าง nasopharyngeal swab ส่งโรงพยาบาล เพื่อตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 โดยวิธี real-time reverse transcription-polymerase chain reaction (real-time RT-PCR) ด้วยชุดน้ำยา COVITECT-1 SARS-CoV-2 Real-Time RT-PCR ผู้ที่ได้รับการตรวจเป็นแรงงานชาวเมียนมาร์ 106 ราย ซึ่งมีอายุระหว่าง 18–55 ปี เป็นเพศชาย 32 คน (ร้อยละ 30.19) และเพศหญิง 74 คน (ร้อยละ 69.81) โดยพบผู้ติดเชื้อ 7 ราย (ร้อยละ 6.66) ซึ่งมีอายุระหว่าง 20–39 ปี เป็นเพศชาย 2 คน และเพศหญิง 5 คน มีค่า cycle threshold (Ct) ในการตรวจพบผลบวกยีน RdRp และ N ของเชื้อไวรัส ระหว่าง 20.16–33.36 และ 22.13–33.55 รอบ ตามลำดับ จากผลตรวจแสดงถึงการติดเชื้อในประชากรกลุ่มนี้มีอัตราการต่ำ การตรวจเชิงรุกด้วยวิธี real-time RT-PCR เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อและแยกผู้ติดเชื้อออกจากกลุ่มเป็นการควบคุมการแพร่เชื้อ ช่วยในการประเมินความเสี่ยงและเตรียมพร้อมต่อโรค ข้อมูลที่รายงานนี้อาจเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการดำเนินงานหรือพัฒนาแนวทางปฏิบัติต่อไป

References

D'Cruz RJ, Currier AW, Sampson VB. Laboratory testing methods for novel severe acute respiratory syndrome-coronavirus-2 (SARSCoV-2). Front Cell Dev Biol 2020; 8: 468. (11 pages).

อนุตรา รัตน์นราทร. รายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): ผู้ป่วยรายแรกของประเทศไทยและนอกประเทศจีน. ว สถาบันบำราศนราดูร 2563; 14(2): 116-23.

Okada P, Bauthong R, Phuygun S, Thanadachakul T, Parnmen S, Wongboot W, et al. Early transnmission patterns of coraona disease 2019 (COVID-19) in travellers from Wuhan to Thailand, Jaunuary 2020. Euro Surveill 2020; 25(8): 2000097. (5 pages).

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ฉบับวันที่ 11 สิงหาคม 2564. นนทบุรี: กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข; 2564. หน้า 2.

ดนตร์ ช่างสม, สิริพรรณ แสงอรุณ, ธนัสภา ธนเดชากุล, ฐิติพร ห่านตระกูล, โศภิตา กาหลง, ขันธ์ทิวา ชัยราช และคณะ. การประเมินคุณภาพชุดน้ำยาตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี real-time RT-PCR เพื่อขึ้นทะเบียนจำหน่ายในกรณีเร่งด่วน. ว กรมวิทย พ 2563; 62(3): 205-19.

World Health Organization. Laboratory testing for 2019 novel coronavirus (2019-nCoV) in suspected human cases: interim guidance,17 January 2020. [online]. 2020; [cited 2022 Feb 15]; [7 screens]. Available from: URL:https://www.who.int/publications/i/item/laboratory-testing-of-2019-novel-coronavirus-(-2019-ncov)-in-suspected-humancases-interim-guidance-17-january-2020.

Corman VM, Landt O, Kaiser M, Molenkamp R, Meijer A, Chu DK, et al. Detection of 2019 novel coronavirus (2019-nCoV) by real-time RT-PCR. Euro Surveill 2020; 25(3): 2000045. (8 pages).

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. Pitfall ในการตรวจ SARS-CoV-2 ด้วยเทคนิค Real-time RT-PCR. นนทบุรี: กองแผนงานและวิชาการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

Wang Y, Zhang J, Patrick K, Li M, Gong J, Xu B, et al. Hydroxymethylbilane synthase (HMBS) gene-based endogenous internal control for avian species. AMB Express 2020; 10(1): 181. (9 pages).

พิไลลักษณ์ อัคคไพบูลย์ โอกาดะ, วราวรรณ วงษ์บุตร, ธนัสภา ธนเดชากุล, สิริภาภรณ์ ผุยกัน, สิริชล กาละ, วันดี มีฉลาด และคณะ. การพัฒนาชุดน้ำยา DMSc COVID-19 real-time RT-PCR. ว กรมวิทย พ 2563; 62(3): 143-54.

ศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์, สิริลดา สุพรรณคง, วิภาดา ขวัญแก้ว, สุคนธ์ทิพย์ ปุจฉาการ, ปานทิพย์ ศิริโชติ, นุสรา สัตย์เพริศพราย และคณะ. การตรวจ SARS-CoV-2 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว จังหวัดสมุทรสาคร: ถอดบทเรียนการจัดการเก็บน้ำลาย. ว กรมวิทย พ 2563; 62(3): 261-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2022

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)