การศึกษาย้อนหลัง: ถอดบทเรียนและปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จในการส่งเสริมการผลิตยาแผนไทยในโรงพยาบาลของรัฐ
ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จในการส่งเสริมการผลิตยาแผนไทยในโรงพยาบาลของรัฐ
คำสำคัญ:
ยาแผนไทย, การผลิต, ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ, โรงพยาบาลของรัฐบทคัดย่อ
หลังจากคำประกาศอัลมาอตา กระทรวงสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก การแพทย์ไทยถูกบรรจุเข้าในนโยบายหลักสุขภาพ ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520–2524) การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังที่เน้นการถอดบทเรียนการผลิตยาแผนไทยในโรงพยาบาลของรัฐ เพื่อหาปัจจัยความสำเร็จของการผลิตยาแผนไทยในโรงพยาบาลของรัฐในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2551–2556 ผลการวิจัยเชิงปริมาณในกลุ่มโรงพยาบาลที่ไม่มีประสบการณ์มาก่อน พบว่าปัจจัยหลักความสำเร็จเรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด คือ งบประมาณ การบริหาร โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร และการสร้างเครือข่าย ผลการวิจัยเชิงคุณภาพในโรงพยาบาลที่มีประสบการณ์ พบว่าปัจจัยหลักความสำเร็จเรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด คือ การสร้างเครือข่าย การพัฒนาบุคลากร การบริหาร งบประมาณ และโครงสร้างพื้นฐาน ตามลำดับ อธิบายข้อแตกต่างได้ดังนี้ การมีเครือข่ายเป็นกุญแจสำคัญในการเรียนรู้เพื่อทำให้เกิดการเริ่มต้นที่ถูกต้อง เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซ่อนเร้นและความรู้เด่นชัดในประสบการณ์การทำงานส่งผลให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในการดำเนินงานที่มีประสิทธิผลในการปฏิบัติงานบริหารโครงการผลิตยาแผนไทย จึงเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของหัวหน้าโครงการในการโน้มน้าวทีมงานและผู้บริหารในการผลิตยาแผนไทยให้ประสบผลสำเร็จ เกิดการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการผลิตยาแผนไทยให้สำเร็จได้ในที่สุด
References
World Health Organization. The third ten years of the World Health Organization: 1968-1978. Socrates Listios. Geneva: WHO; 2008.
Chokevivat V. Policies and directions for the development of Thai traditional medicine and alternative medicine in Thailand. Bangkok: War Veterans Administration Printing; 2003. p. 41-74.
Primary health care and development. In: Declaration of Alma-Ata. International conference on primary health care, Alma-Ata, USSR, 6-12 September 1978. Geneva: World Health Organization; 1978. p. 44-52.
Department of Medical Services order no.112/2536. Establishment of the Institute of Thai Traditional Medicine and Pharmacy, 26 March 1993. Bangkok: Institute of Thai Traditional Medicine and Pharmacy; 1993.
Bureau cratic reform act B.E. 2545. Section 43, Organization of the Ministry of Public Health, issued on 3 October 2002. Bangkok: Ministry of Public Health; 2002.
Ministerial regulation on the organization of the Department of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public Health B.E. 2545, issued on 9 October 2002. Bangkok: Ministry of Public Health; 2002.
Ministerial regulation on the organization of the Department of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public Health B.E. 2561, issued on 7 March 2018. Bangkok: Ministry of Public Health; 2018.
Kamoltham T, Sornrung W. Study on the development of international herbal hub of Thailand with good governance. International Journal of Management and Applied Science (IJMAS) 2016; 2(11); 15-20.
Kenya GMP Roadmap. A stepwise approach for the pharmaceutical industry to attain WHO GMP Standards. Vienna, Austria: United Nations Industrial Development Organization (UNIDO); 2014.
Sirikwin P, Pongpirul K, Sirikwin K, Anantsuksomsri S. Situation of public and private herbal pharmaceutical factories in Thailand. J Thai Trad Alt Med 2020; 18(1): 99-110.
Kwesiga V, Ekeocha Z, Byrn S, Clase K. Compliance to GMP guidelines for herbal manufacturers in East Africa: a position paper. BIRS Africa Technical Reports. [online]. 2021; [14 screens]. Available from: URL: http://dx.doi.org/10.5703/1288284317428.
Tavakol M, Dennick R. Making sense of Cronbach's alpha. Int J Med Educ 2011; 2: 53-5.
Luangpirom N. Innovation management. Bangkok: Duangkamol Publishing; 2015. p. 33-45.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.