การพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์พาราควอต ไดควอต คลอร์มีควอต และเมพิควอต ในเนื้อสัตว์ นม และไข่ โดยเทคนิค LC-MS/MS

การพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์กลุ่มควอตในเนื้อสัตว์ นม และไข่ โดย LC-MS/MS

ผู้แต่ง

  • รัติยากร ศรีโคตร สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ภรพรรณ ส่งศรี สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ณิชนันท์ บุญนิ่ม สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

กลุ่มควอต, เนื้อสัตว์, นม, ไข่, LC-MS/MS

บทคัดย่อ

        พาราควอต เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือมีไว้ครอบครองตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีวัตถุอันตราย ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2563) นอกจากนั้นประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 419 (พ.ศ. 2563) เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง กำหนดขีดจำกัดการตรวจวัดของวิธี (method detection limit) อาหารประเภทเนื้อสัตว์ นม และไข่ ที่ระดับ 0.005 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการ คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาวิธีวิเคราะห์พาราควอตในเนื้อสัตว์ นม และไข่ ด้วยเทคนิค LC-MS/MS รวมทั้งสารในกลุ่มควอต 3 ชนิด ได้แก่ ไดควอต คลอร์ มีควอต และเมพิควอต ในคราวเดียวกัน เพื่อให้ได้วิธีที่มีความจำเพาะสูงและตรวจวิเคราะห์เชิงปริมาณได้ในระดับที่กฎหมายกำหนด โดยสกัดตัวอย่างด้วย acidic acetonitrile ตกตะกอนและทำให้บริสุทธิ์ผ่าน hydrophilic-lipophilic-balanced (HLB) SPE cartridge และตรวจวัดปริมาณแคทไอออนด้วย multiple reaction monitoring (MRM) วิธีนี้มีขีดจำกัดของการตรวจวัดเท่ากับ 0.005 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขีดจำกัดการวัดเชิงปริมาณเท่ากับ 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ความแม่น (%recovery) ความเที่ยง (%RSD) มีค่าเฉลี่ยในช่วง 64.8–108.6 และ 2.1–13.0 ตามลำดับ และมีช่วงความเป็นเส้นตรงของการวิเคราะห์ที่ 0.01–0.20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยไม่มีผลกระทบจากคุณสมบัติของเนื้อตัวอย่าง การนำวิธีที่พัฒนาไปตรวจวิเคราะห์อาหารประเภทเนื้อสัตว์ นม และไข่ จำนวน 29 ตัวอย่าง ผลตรวจไม่พบการตกค้างของสารทั้ง 4 ชนิด โดยสรุปวิธีดังกล่าวมีประสิทธิภาพเหมาะสมในการวิเคราะห์เนื้อสัตว์ นม และไข่ สอดคล้องตามข้อกำหนดทางกฎหมายเพื่อเฝ้าระวังการตกค้างในอาหาร

References

สุทธิดา คงเจ้ย. “พาราควอต” เพชฌฆาตปราบวัชพืช. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2564.

Database Platform for S-Curve Industrial, Bureau of Science and Technology Information. PARAQUAT (057). [online]. 2020; [cited 2022 Oct 7]; [166 screens]. Available from: URL: http://lib1.dss.go.th/5datasci/index.php/th/standard-rules/2020-09-29-09-53-26/158-paraquat-057.

คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี. ภาวะเป็นพิษจาก paraquat. [ออนไลน์]. [สืบค้น 23 ก.ย. 2565]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/PQ.

Gawarammana IB, Buckley NA. Medical management of paraquat ingestion. Br J Clin Pharmacol 2011; 72(5): 745-57.

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2563). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 117 ง (วันที่ 19 พฤษภาคม 2563).

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 419 (พ.ศ. 2563) เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 3). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 257 ง (วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563).

Codex Alimentarius International Food Standard. Codex pesticides residues in food online database. [online]. 2021; [cited 2022 Sep 23]; [1 screen]. Available from: URL: https://www.fao.org/fao-who-codexalimentarius/codex-texts/dbs/pestres/en/.

European Commission (EURL-SRM). Quick method for the analysis of numerous highly polar pesticides in food involving extraction with acidified methanol and LC-MS/MS measurement. Food of Animal Origin (QuPPe-AO-Method). [online]. 2021; [cited 2022 Oct 1]; [87 screens]. Available from: URL: https://www.eurl-pesticides.eu/userfiles/file/EurlSRM/EurlSrm_meth_QuPPe_PO_V11_1.pdf.

Gao L, Yuan H, Xu E, Liu J. Toxicology of paraquat and pharmacology of the protective effect of 5-hydroxy-1-methylhydantoin on lung injury caused by paraquat based on metabolomics. Sci Rep 2020; 10: 1790. (16 pages).

Cho IK, Rahman M, Seol JU, Noh HH, Jo HW, Moon JK. Development of a simultaneous, analytical method for diquat, paraquat and chlormequat in animal products using UPLCMS/MS. Korean J Environ Agric 2020; 39(4): 368-74.

Zhang C, Cui F, Zeng GM, Jiang M, Yang ZZ, Yu ZG, et al. Quaternary ammonium compounds (QACs): A review on occurrence, fate and toxicity in the environment. Sci Total Environ 2015; 518-519: 352-62.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 387 (พ.ศ. 2560) เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 228 ง (วันที่ 18 กันยายน 2560).

European Commission (EURL-SRM). Quick method for the analysis of numerous highly polar pesticides in food invilving extraction with acidified methanol and LC-MS/MS measurement I. Food of Plant Origin (QuPPe-POMethod). [online]. 2019; [cited 2022 Oct 1]; [86 screens]. Available from: URL: https://www.eurl-pesticides.eu/userfiles/file/EurlSRM/EurlSrm_meth_QuPPe_PO_V11.pdf.

EU Reference Laboratories for Residues of Pesticides. Analytical quality control and method validation procedures for pesticide residues analysis in food and feed. SANTE 2021; 11312: 1-55.

Ferrer C, Lozano A, Agüera A, Girón AJ, Fernández-Alba AR. Overcoming matrix effects using the dilution approach in multiresidue methods for fruits and vegetables. J Chromatogr A 2011; 1218(42): 7634-9.

Williams A, Ellison SL, Rosslein M. Quantifying uncertainty in analytical measurement. 2nd ed. United Kingdom: EURACHEM/CITAC; 2000.

สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร. รายงานประจำปี 2565 สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

ISO/IEC 17025:2017. General requirements for the competence of testing and calibration laboratories. 3rd ed. Geneva, Switzerland: International Organization for Standardization; 2017.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าและระบบคุณภาพ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. ข้อมูลการบริโภคอาหารของประเทศไทย. [ออนไลน์]. 2549; [สืบค้น 23 ก.ย. 2565]; เข้าถึงได้ที่: URL: https://dol.thaihealth.or.th/resourcecenter/sites/default/files/documents/1_451.pdf?download.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Guidelines on good laboratory practice in pesticide residue analysis CXG 40-1993. Rome, Italy: Codex Committee on Pesticide Residues (CCPR); 2010.

มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9002-2559. สารพิษตกค้าง: ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)