การพัฒนาตัวอย่างทดสอบความชำนาญสำหรับการวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญของกัญชาในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

ทดสอบความชำนาญสำหรับกัญชาในเครื่องสำอาง

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ทองประกายแสง สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • จำเริญ ดวงงามยิ่ง สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

THC, CBD, เครื่องสำอาง, ทดสอบความชำนาญ, สารสกัดกัญชา

บทคัดย่อ

        ตามที่กระทรวงสาธารณสุขออกกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงเกี่ยวกับกัญชาและกัญชง 4 ฉบับ ในปี พ.ศ. 2564–2565 เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ รวมทั้งนำส่วนต่างๆ ของพืชกัญชาและกัญชงมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยควบคุมปริมาณสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท คือ tetrahydrocannabinol (THC) ในผลิตภัณฑ์สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้พัฒนาห้องปฏิบัติการบริการตรวจวิเคราะห์ปริมาณ THC และ cannabidiol (CBD) ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 ในปี พ.ศ. 2564 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนที่ให้บริการตรวจวิเคราะห์สาร THC และ CBD ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จึงจัดให้มีโปรแกรมทดสอบความชำนาญ ซึ่งยังไม่มีผู้ให้บริการทดสอบความชำนาญ โดยพัฒนาการทดสอบความชำนาญของตัวอย่าง 2 ชนิด คือ ครีมที่มีความเข้มข้นของสาร THC ร้อยละ 0.05 โดยน้ำหนัก และแชมพูที่มีความเข้มข้นของ CBD ร้อยละ 0.01 โดยน้ำหนัก นำมาทดสอบคุณสมบัติความเป็นเนื้อเดียวกันความคงตัว และประเมินทางสถิติตามมาตรฐาน ISO 13528:2015 พบว่าตัวอย่างสูตรตำรับครีมที่ผสม THC มีความเป็นเนื้อเดียวกัน ความคงตัวที่อุณหภูมิห้อง (27−30 องศาเซลเซียส) ในสภาวะเร่งที่ 45±2 องศาเซลเซียส รวมถึงสภาวะการขนส่งมีความเหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการ พบว่าสูตรตำรับแชมพูผสม CBD มีปัญหาด้านความคงตัวจำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป เพื่อนำไปสู่การขอรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17043:2022 และขยายขอบข่ายการให้บริการด้านการทดสอบความชำนาญของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

References

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 86 ก (วันที่ 8 กันยายน 2558)หน้า 5.

Fortune Business Insides. Market research report: cosmetics market. [online]. 2021; [cited 2022 Nov 20]; Available from: URL: https://www.fortunebusinessinsights.com/cosmeticsmarket-102614.

Atakan Z. Cannabis, a complex plant: different compounds and different effects on individuals. Ther Adv Psychopharmacol 2012; 2(6): 241-54.

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 35 ง (วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565). หน้า 8.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 137 ง (วันที่ 16 มิถุนายน 2565). หน้า 9.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้ส่วนของกัญชาในเครื่องสำอาง พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 105 ง (วันที่ 17 พฤษภาคม 2564). หน้า 1.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออลจากกัญชาและกัญชงในเครื่องสำอาง พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 105 ง (วันที่ 17 พฤษภาคม 2564). หน้า 4.

ISO/IEC 17025:2017. General requirements for the competence of testing and calibration laboratories. 3rd ed. Geneva, Switzerland: International Organization for Standardization; 2017.

ISO/IEC 17043:2010. Conformity assessment — general requirements for profi ciency testing. Geneva, Switzerland: International Organization for Standardization; 2010.

ISO 13528:2015. Statistical methods for use in proficiency testing by interlaboratory comparison. 2nd ed. Geneva, Switzerland: International Organization for Standardization; 2015.

สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย. SOP 06-02-396: การตรวจวิเคราะห์สาร Δ9-tetrahydrocannabinol และ Cannabidiol โดยวิธี UPLC แก้ไขครั้งที่ 1, 18 พฤษภาคม 2566. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข: 2566.

Horwitz W. Evaluation of analytical methods used for regulation of foods and drugs. Anal Chem 1982; 54(1): 67-76.

Cosmetics Europe. Guidelines on stability testing of cosmetic products. [online]. 2004; [cited 2022 Nov 1]; [10 screens]. Available from: URL: https://www.cosmeticseurope.eu/files/5914/6407/8121/Guidelines_on_Stability_Testing_of_Cosmetics_CE-CTFA_-_2004.pdf.

Wang M, Wang YH, Avula B, Radwan MM, Wanas AS, van Antwerp J, et al. Decarboxylation study of acidic cannabinoids: a novel approach using ultra-high-performance supercritical fluid chromatography/photodiode array-mass spectrometry. Cannabis Cannabinoid Res. [serial online] 2016; [cited 2022 Dec 29]; 1(1): [10 screens]. Available from: URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5549281/pdf/can.2016.0020.pdf.

Fućak T, Kreft S, Svedružić ŽM, Tavčar E. Mechanism and kinetics of CBDA decarboxylation into CBD in hemp. J Plant Biochem Biotechnol 2023; 32(3): 608-21.

Merrick J, Lane B, Sebree T, Yaksh T, O'Neill C, Banks SL. Identification of psychoactive degradants of cannabidiol in simulated gastric and physiological fluid. Cannabis Cannabinoid Res. [serial online] 2016; [cited 2022 Dec 29]; 1(1): [11 screens]. Available from: URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5576596/pdf/can.2015.0004.pdf.

Caprioglio D, Mattoteia D, Pollastro F, Negri R, Lopatriello A, Chianese G, et al. The oxidation of phytocannabinoids to cannabinoquinoids. J Nat Prod. [serial online] 2020; [cited 2022 Dec 29] 83(5): [5 screens]. Available from: URL: https://pubs.acs.org/doi/epdf/10.1021/acs.jnatprod.9b01284.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-09-2023

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)