การทดสอบความใช้ได้ของตลับบรรจุแผ่นวัดรังสี โอเอสแอล DMSc Holder

การทดสอบตลับบรรจุแผ่นวัดรังสีโอเอสแอล DMSc Holder

ผู้แต่ง

  • เตวิช ตุงคะเสรีรักษ์ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สถาพร กล่อมแก้ว สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ประเชิญ เชษฐสิงห์ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ศิริณา เกิดสีทอง สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อุดมทรัพย์ จันทษร สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

DMSc holder, แผ่นวัดรังสีโอเอสแอล, การทดสอบความใช้ได้

บทคัดย่อ

         ตลับบรรจุแผ่นวัดรังสีโอเอสแอล InLight® holder มีความเปราะบาง ไม่คงทน และแตกหักง่าย คณะผู้วิจัยได้พัฒนาตลับใหม่ชื่อ DMSc holder ซึ่งมีความแข็งแรงและใช้งานง่ายมากขึ้น โดยดำเนินการทดสอบความใช้ได้ของ DMSc holder ตามมาตรฐานของคณะกรรมการมาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards Committee: JIS) 4339:2004 (R2016) ผลการทดสอบ พบว่าความคลาดเคลื่อนของค่าปริมาณรังสีมีค่าเท่ากับ 1.085 ความเป็นเชิงเส้นของค่าปริมาณรังสีที่ 0.1, 0.3, 0.5, 1.0 และ 10.0 mSv มีค่าเท่ากับ 1.158±0.074, 1.023±0.053, 1.034±0.050, 1.000±0.043 และ 0.968±0.037 ตามลำดับ การตอบสนองต่อพลังงานโฟตอนที่เอกซเรย์ 24, 47, 83 และ 117 keV มีค่าเท่ากับ 1.090±0.048, 1.040±0.108, 1.010±0.091 และ 0.987±0.062 ตามลำดับ และแกมมา 662 keV เท่ากับ 1.000±0.054 การตอบสนองต่อมุมในการประเมินค่าปริมาณรังสีตามแนวนอน ณ มุมเอียงซ้าย 60°, เอียงซ้าย 30°, ตรง 0°, เอียงขวา 30° และเอียงขวา 60° มีค่า 0.999±0.066, 0.988±0.046, 1.000±0.050, 0.988±0.053 และ 0.985±0.042 ตามลำดับ โดยผลการทดสอบทั้งหมดผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน ในการเปรียบเทียบกับตลับ InLight® holder พบว่าความแตกต่างสำหรับการทดสอบความเป็นเชิงเส้นของค่าปริมาณรังสีและการทดสอบการตอบสนองต่อมุมในการประเมินค่าปริมาณรังสีสามารถยอมรับได้ ดังนั้นตลับบรรจุแผ่นวัดรังสีโอเอสแอลที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่นี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติงานด้านรังสีของห้องปฏิบัติการรังสีบุคคลได้

References

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 98 ก (วันที่ 28 ธันวาคม 2552). หน้า 70.

Yukihara EG, McKeever SW. Optically stimulated luminescence: fundamentals and applications. Oklahoma, USA: John Wiley & Sons; 2011. p. 13-14.

Landauer InLight model 2 dosemeter characterization and uncertainty analysis for National Dosimetry Services (NDS), Health Canada Rev 004. Illinois, USA: Landauer, Inc; 2009.

Callister WD. Materials science and engineering: an introduction. 4th ed. New York: John Wiley & Sons; 1997.

Croonenborghs B, Smith MA, Strain P. X-ray versus gamma irradiation effects on polymers. Radiat Phys Chem 2007; 76(11-12): 1676-8.

Moskala EJ. The effect of gamma irradiation on thermoplastic copolyesters. Med Device Technol 2003; 14(3): 12-6.

ISO/IEC 17025:2017. General requirements for the competence of testing and calibration laboratories. Geneva: International Organization for Standardization; 2017.

JIS Z 4339:2004 (R2016). Optically stimulated luminescence dosimetry systems. Tokyo: The Japanese Standards Association; 2016.

Nagase Landauer. InLight badge (LDR holder) type test report Ver. 1.1. Ibaraki: Nagase Landauer Ltd; 2012.

Nagase Landauer. Quixel dosimeter type test report Ver. 2.0. Ibaraki: Nagase Landauer Ltd; 2014.

International Atomic Energy Agency. Calibration of radiation protection monitoring instruments. (Safety reports series no.16). Vienna: IAEA; 2000.

Stanford Dosimetry. Whole body dose algorithm for the Landauer InLight LDR model 2 dosimeter, Revision InLight N 2003. Washington: Stanford Dosimetry; 2003.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)