การพัฒนาและทดสอบความถูกต้องวิธีวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมน 17α-Estradiol, 17ß-Estradiol และ Testosterone โดยเทคนิค UPLC-MS/MS

พัฒนาวิธีวิเคราะห์สารกลุ่มฮอร์โมนโดยเทคนิค UPLC-MS/MS

ผู้แต่ง

  • สุวิมล หมวดหม๊ะ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • วรรณพร พะเยาว์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อัจฉรี อินแก้ว สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • วิทวัส วังแก้วหิรัญ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กัญญารัตน์ เชื้อกูลชาติ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สกุลรัตน์ สมสันติสุข สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ทองสุข ปายะนันทน์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

17α-Estradiol, 17ß-Estradiol, Testosterone, ฮอร์โมน, UPLC-MS/MS

บทคัดย่อ

         ฮอร์โมน 17α-estradiol, 17ß-estradiol และ testosterone เป็นฮอร์โมนเพศที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญของระบบสืบพันธุ์ รวมถึงส่งผลต่อการแสดงลักษณะของเพศหญิงและเพศชาย ปัจจุบันพบว่ามีการนำฮอร์โมนเพศสังเคราะห์มาใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงปลานิลและปลาหมอแบบเพศเดี่ยว โดยใช้ testosterone เหนี่ยวนำให้เกิดปลานิลเพศผู้ และ 17ß-estradiol เพื่อให้เกิดปลาหมอเพศเมีย การผสมฮอร์โมนในอาหารอาจก่อให้เกิดการตกค้างในเนื้อสัตว์และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภค จึงมีข้อกำหนดจากสหภาพยุโรป (EU) ประกาศห้ามใช้ฮอร์โมนดังกล่าวในการทำปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์สารกลุ่มฮอร์โมนเพศ ได้แก่ 17α-estradiol, 17ß-estradiol และ testosterone ในเนื้อปลา ด้วยเทคนิค UPLC-MS/MS คำนวณผลโดยใช้ procedural mixed standard calibration curve พบว่า LOD และ LOQ เป็น 1 และ 2 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ช่วงการวิเคราะห์อยู่ระหว่าง 2–100 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ค่า coefficient of determination (R2) มากกว่า 0.999 ความแม่นแสดงด้วย %recovery อยู่ในช่วง 89.7–114.0% และความเที่ยงแสดงด้วย %RSD อยู่ในช่วง 3.5–26.5% แสดงให้เห็นว่าวิธีวิเคราะห์นีมีความจำเพาะ แม่นยำ น่าเชื่อถือ เหมาะสมสำหรับใช้ตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

References

Ferretti G, Ferranti C, Crovella T, Fiori M, Civitareale C, Marchiafava C, et al. Simultaneous analysis of 17α-estradiol and 17ß-estradiol in bovine serum by liquid chromatography-tandem mass spectrometry. J Chromatogr B 2008; 871(1): 135-40.

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ฮอร์โมน. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 2 ส.ค. 2564]; [20 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.shorturl.asia/6cYUK.

เจนนุช ว่องธวัชชัย, พรชัย โรจน์สิทธิศักดิ์, นิอร วินารักษ์วงศ์. ปริมาณฮอร์โมนเมสทาโนโลนตกค้างในปลานิลหลังจากการกินฮอร์โมนในระยะสั้น. [ออนไลน์]. 2556; [สืบค้น 2 ส.ค. 2564]; [83 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56651.

สุชาติ จุลอดุง, กฤษณุพันธ์ โกเมนไปรรินทร์. ศึกษาการใช้ฮอร์โมน 17ß-estradiol ในการแปลงเพศปลาหมอให้เป็นเพศเมีย. เอกสารวิชาการฉบับที่ 7/2550. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2550.

วีรพล เรืองศรี. ผลของฮอร์โมนเอสโตรเจน 2 ชนิด ต่อการผลิตลูกปลาหมอแปลงเพศ. ว การประมงอิเล็กทรอนิกส์ 2563; 3(3): 37-55.

สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีประมง กรมประมง. การเพาะเลี้ยงปลานิล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2553.

ธงชัย เย็นเปิง, ธราพันธ์ วัฒนะมหาตม์, วรวิทย์ พรหมปากดี, สมศรี งามวงศ์ชน. การศึกษาระดับของฮอร์โมน (17 alpha methyltestosterone) ที่ตกค้างใน การผลิตลูกปลานิลแปลงเพศ ระบบน้ำหมุนเวียน. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง; 2554.

จอมสุดา ดวงวงษา. การแปลงเพศปลาหมอไทยด้วยเอสโตรเจนชนิดธรรมชาติ (Premarin) ให้ได้เพศเมียล้วน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2555.

พรศักดิ์ มัทวงศ์, ศิริภาวี เจริญวัฒนศักดิ์, บัณฑิต ยวงสร้อย, สุธี วงศ์มณีประทีป. ผลของ 17ß-estradiol ต่อการเปลี่ยนแปลงเพศปลาหมอไทยในระยะไข่โดยวิธีการแช่. ว แก่นเกษตร 2556; 41(พิเศษ 1): 110-5.

เสาวนีย์ ดีมูล, จรูญ สารินทร์, กนกทิพย์ จักษุ, Guang-Guo Ying, ชาญยุทธ กฤตสุนันท์กุล, สริน ศรีปรางค์. สารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อในน้ำ ตะกอนและปลา ในแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก. ว วิชาการสาธารณสุข 2562; 28(1): 69-80.

Ocharoen Y, Boonphakdee C, Boonphakdee T, Shinn AP, Moonmangmee S. High levels of the endocrine disruptors bisphenol-A and 17ß-estradiol detected in populations of green mussel, Perna viridis, culture in the Gulf of Thailand. Aquac 2018; 497: 348-56.

Samy Abu-Taleb SM, Osman TA, Faisal RA. Detection of Testosterone hormone and 17α-Methyltestosterone residues in some fish products at retailed markets. Egypt J ChemEnviron Health 2016; 2(2): 292-7.

Ying GG, Kookana SR, Ru YJ. Occurrence and fate of hormone steroids in environment. Environ Int 2002; 28(6): 545–51.

Rubin BS. Bisphenol A: An endocrine disruptor with widespread exposure and multiple effects. J Steroid Biochem Mol Biol. 2011(1-2); 127: 27-34.

ปริศนา เพียรจริง. การใช้สเตียรอยด์ฮอร์โมนในการเกษตรการตกค้างในอาหารและสิ่งแวดล้อม. ว สหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2564; 6(1): 90-110.

World Health Organization (WHO), Food and Agriculture Organization (FAO). Maximum residues limits (MRLs) and risk management recommendations (RMRs) for residues of veterinary drugs in food CX/MRL 2-2021. Rome, Italy: Codex Alimentarius International Food Standard; 2021.

The European Parliament and The Council of The European Union. Directive 2003/74/EC of european parliament and of the council of 22 september 2003: amending council directive 96/22/EC concerning the prohibition on the use in stock farming of certain substance having a homonal or thyostatic action and betaagonist. Official Journal of the European Union 2003; L262: 17-21.

Li ZM, Kannan K. Determination of 19 steroid hormones in human serum and urine using Liquid Chromatography-Tandem Mass Spectrometry. Toxics 2022; 10: 1-15.

Adlercreutz H, Kiuru P, Rasku S, Wahala K, Fotsis T. An isotope dilution gas chromatographic–mass spectrometric method for the simultaneous assay of estrogens and phytoestrogens in urine. J Steroid Biochem Mol Biol 2004; 92: 399-411.

Bhawani S, Sulaiman O, Hashim R, Mohamad Ibrahim MN. Thin-layer chromatographic analysis of steroids: a review. Trop J Pharm Res 2010; 9(3): 301-13.

Musharraf SG, Gulzar U. Effective separation and simultaneous analysis of anabolic androgenic steroids (AAS) in their pharmaceutical formulations by a validated TLC-densitometry method. Chem Cent J 2012;6: 54. (7 pages).

Elder PA, Lewis JG. An enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) for plasma testosterone. J Steroid Biochem 1985; 22(5): 635-8.

Hanquez C, Urios P, Desfosses B, Samake H, Lince E, Rajkowski KM, et al. Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) for steroid hormones with polyclonal and monoclonal antibodies: an assay for urinary aldosterone. Clin Chim Acta 1987; 164(1): 71-82.

เฉลิมพร ควรหา, ทองสุข ปายะนันทน์, ลัดดา แก้วกล้าปัญญาเจริญ. การพัฒนาและทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์สารตกค้างกลุ่มฮอร์โมนในเนื้อสัตว์ โดย LC-MS/MS. ว กรมวิทย พ 2561; 60(2): 54-68.

Magnusson B, Ömemark U, editors. Eurachem guide: the fitness for purpose of analytical methods a laboratory guide to method validation and related topics. 2nd ed. United Kingdom: Eurachem; 2014.

สุจิตตรา พงศ์วิวัฒน์. คู่มือการพิสูจน์ความใช้ได้ของวิธีทดสอบ ตามแนวมติคณะกรรมาธิการยุโรป 2002/657/EC สำหรับห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสารตกค้างยาสัตว์ วิธียืนยันผลและวิธีคัดกรอง. ปทุมธานี: สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์; 2555.

Pihlström T, Fernández-Alba AR, Amate CF, Poulsen ME, Hardebusch B, Anastassiades M, et al. Analytical quality control and method validation procedures for pesticide residues analysis in food and feed SANTE 11312/2021. Sante 2021; 11312: v2. (55 pages).

Ferrer C, Lozano A, Agüera A, Girón AJ, Fernández-Alba AR. Overcoming matrix effects using the dilution approach in multiresidue methods for fruits and vegetables. J Chromatogr A 2011; 1218(42): 7634-9.

World Health Organization (WHO), Food and Agriculture Organization (FAO). Guidelines for the design and implementation of national regulatory food safety assurance programme associated with the use of veterinary drugs in food producing animals; CAC/GL 71-2009. Adopted 2009, Revision 2012, 2014. Rome, Italy: Codex Alimentarius International Food Standard; 2014.

ทิพวรรณ นิ่งน้อย. แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

Ellison SLR, Williams A, editors. Eurachem/CITAC guide CG 4: Quantifying uncertainty in analytical measurement. 3rd ed. United Kingdom: Eurachem; 2012.

Shao B, Zhao R, Meng J, Xue Y, Wu G, Hu J, et al. Simultaneous determination of residual hormonal chemicals in meat, kidney, liver tissues and milk by liquid chromatography–tandem mass spectrometry. Anal Chim Acta2005; 548: 41-50.

Blasco C, Van Poucke C, Van Peteghem C. Analysis of meat samples for anabolic steroids residues by liquid chromatography/tandem mass spectrometry. J Chromatogr A 2007; 1154(1-2): 230-9.

Matraszek-Zuchowska I, Kłopot A, Witek S, Pekala-Safinska A, Posyniak A. Development of analytical procedure for the determination of 17ß-testosterone, 11-ketotestosterone and 17ß-estradiol in the sea trout (Salmo trutta L.) gonads. Separations 2022; 9(10): 293. (15 pages).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)