การเตรียมห้องปฏิบัติการอณูชีวโมเลกุลในการตรวจหาเชื้ออุบัติใหม่: ประสบการณ์จากการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่สถาบันบำราศนราดูร

การเตรียมห้องปฏิบัติการอณูชีวโมเลกุล

ผู้แต่ง

  • สุมนมาลย์ อุทยมกุล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

การเตรียมห้องปฏิบัติการอณูชีวโมเลกุล, เชื้ออุบัติใหม่, ไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

         การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในปี 2019 หรือ Severe Acute Respiratory Syndrome Corona Virus-2 (SARS-CoV-2) ที่ก่อโรค COVID-19 เริ่มมีรายงานในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 จากการพบกลุ่มผู้ป่วยอาการปอดบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ ณ เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และได้แพร่กระจายไปทั่วโลก การตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นขั้นตอนสำคัญในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย รวมทั้งใช้สอบสวน เฝ้าระวัง และป้องกันโรค โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำให้วินิจฉัยเชื้อไวรัสนี้ด้วยวิธีการเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมสำหรับคัดกรองผู้ที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ ประกอบกับรัฐบาลไทยได้ขอความร่วมมือทุกจังหวัดให้ดำเนินการตามนโยบาย หนึ่งจังหวัด-หนึ่งแล็บ ดังนั้นการจัดเตรียมห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยเทคนิค real-time reverse transcription-polymerase chain reaction (real-time RT-PCR) โดยการจัดทำแผนผังลำดับงานที่เป็นมาตรฐานและปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยด้วยชีวนิรภัยระดับ 2 แบบเสริมสมรรถนะ (biosafety level 2 enhance) สำหรับเชื้ออันตรายกลุ่มเสี่ยงระดับ 3 จึงเป็นสิ่งเร่งด่วนในสถานการณ์ระบาดทั่วโลก การนำระบบจัดการคุณภาพมาปรับใช้ออกแบบห้องปฏิบัติการ โดยแบ่งพื้นที่สำหรับกิจกรรมก่อนการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการทำปฏิกิริยา PCR ได้แก่ ห้องเตรียมน้ำยา และห้องสกัดสารพันธุกรรม พื้นที่สำหรับตรวจวัดสารพันธุกรรมที่ตั้งเครื่อง real-time PCR เป็นห้องสำหรับเพิ่มปริมาณและตรวจหาสารพันธุกรรม รวมทั้งวิเคราะห์ผลตรวจโดยเสนอรูปแบบของการจัดห้องปฏิบัติการ ไว้ 2 ระบบ คือ semi-automation และ fully automation จากประสบการณ์ปฏิบัติงานด้วยเทคนิค PCR และการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการ เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้กับการตรวจด้านอณูชีวโมเลกุลสำหรับเชื้ออุบัติใหม่อื่นๆ ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงระดับ 3 ต่อไป

References

แสงทอง จันทร์เฉิด. จะไม่รอให้เกิดพายุ กรมควบคุมโรคและภาคี ท่ามกลางวิกฤติโควิด 19 พ.ศ. 2562-2563 เล่ม 1. นนทบุรี: กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

Wachrarapluesadee S, Buathong R Iamsirithawon S, Chaifoo W, Ponpinit T, Ruchuisrasarod C, et al. Identification of a novel pathogen using family-wide PCR: initial confirmation of COVID-19 in Thailand. Front Public Health 2020; 8: 555013. (5 pages).

แสงทอง จันทร์เฉิด, ญาณี แสงสง่า, พรรณพร กะตะจิตต์. จะไม่รอให้เกิดพายุ กรมควบคุมโรคและภาคี ท่ามกลางวิกฤติโควิด 19 พ.ศ. 2562-2563 เล่ม 2. นนทบุรี: กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. รายชื่อห้องปฏิบัติการเครือข่ายที่ผ่านการทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการเครือข่ายตรวจ SARS-CoV-2. [ออนไลน์]. 2566; [สืบค้น 18 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://service.dmsc.moph.go.th/labscovid19/thai

Dieffenbach CW, Dveksler GS. PCR primer: a laboratory manual. Plainview, NY: Cold Spring Harbor Laboratory Press; 1995.

ทีมงาน Molecular Diagnostics บริษัท โรช ไดแอกโน-สติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด. การจัดเตรียมห้องปฏิบัติการพี ซี อาร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยพิมพ์; 2550.

รติกร กัณฑะพงศ์. การประเมินความเสี่ยงทางชีวภาพ (Bio risk assessment). [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 18 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://nih.dmsc.moph.go.th/data/data/64/EID/Webinar10.pdf.

World Health Organization. Laboratory testing for coronavirus disease 2019 (COVID-19) in suspected human cases: interim guidance, 2 March 2020 (WHO/COVID-19/laboratory/2020.4). Geneva: World Health Organization; 2020.

World Health Organization. Laboratory testing for coronavirus disease (COVID-19) in suspected human cases: interim guidance. [online]. 2020; [cited 2020 Mar 9]; [7 screens]. Available from: URL: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/331501/WHO-COVID-19-laboratory-2020.5-eng.pdf.

National Health Commission of People's Republic of China. Laboratory biosafety guide for the novel coronavirus. [online]. 2020; [cited 2023 Oct 27]; [4 screens]. Available from: URL: https://rs.yiigle.com/yufabiao/1179586.htm.

อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์, อธิวัฒน์ ปริมสิริคุณาวุฒิ, รติกร กัณฑะพงศ์, บรรณาธิการ. คู่มือการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทางห้องปฏิบัติการ SARS-CoV-2. นนทบุรี: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023

ฉบับ

บท

บทความทั่วไป (General Articles)