การศึกษาย้อนหลังของผลการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิดบีเซลล์ ด้วยยาริทูซิแมบชนิดชีววัตถุคล้ายคลึง

การรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดบีเซลล์ด้วยยาริทูซิแมบชนิดชีววัตถุคล้ายคลึง

ผู้แต่ง

  • ชวฎา ปิยะบุญญานนท์ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
  • พิมพ์ใจ นิภารักษ์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นรมน ธีระอัมพรพันธุ์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดบีเซลล์, ยาริทูซิแมบชนิดชีววัตถุคล้ายคลึง, ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

       ความเป็นมาการรักษาหลักของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดบีเซลล์ คือให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี CD20 ชื่อยาริทูซิแมบ (Rituximab) ซึ่งยาต้นแบบมีราคาสูง จึงพัฒนายาชีววัตถุคล้ายคลึงที่มีผลการรักษาดีไม่ต่างจากยาต้นแบบ ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาอัตราการตอบสนอง (response rate) อัตราการอยู่รอด (survival rate) และผลข้างเคียง (side eff ect) ของยาริทูซิแมบชนิดชีววัตถุคล้ายคลึง (biosimilar rituximab) ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิดบีเซลล์ในประเทศไทย การศึกษาเป็นเชิงพรรณาจากผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดบีเซลล์ จำนวน 84 คน ค่ามัธยฐานอายุเท่ากับ 65 ปี (25–88 ปี) ให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับยาริทูซิแมบชนิดชีววัตถุคล้ายคลึง ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ในโรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ผลชิ้นเนื้อเป็นชนิด double expressor ร้อยละ 59.5 มีผู้ป่วยก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ร้อยละ 63 มีผู้ป่วยระดับแลกเตทดีไฮโดรจีเนส (lactate dehydrogenase; LDH) สูงกว่าปกติร้อยละ 69 หลังการรักษา 5 ปี พบว่าผลตอบสนองโรคสงบร้อยละ 84.5 ตอบสนองบางส่วนร้อยละ 3.6 และไม่ตอบสนองร้อยละ 11.9 ระยะเวลารอดชีวิตเฉลี่ย 50 เดือน ระยะเวลาปลอดโรคเฉลี่ย 53 เดือน พิจารณาตามคะแนน IPI ตั้งแต่ 0–4 พบระยะเวลารอดชีวิต 45, 56, 48, 47 และ 29 เดือน ตามลำดับ (p-value < 0.001) ผลข้างเคียงพบแบบไม่รุนแรงร้อยละ 9.5 และ ไม่พบผลข้างเคียงร้อยละ 90.5 จากการศึกษาพบว่าการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดบีเซลล์ด้วยยาริทูซิแมบชนิดชีววัตถุคล้ายคลึงร่วมกับยาเคมีบำบัดมาตรฐานให้ผลการรักษาที่ดีและมีผลข้างเคียงน้อย

References

Boross P, Leusen JH. Mechanisms of action of CD20 antibodies. Am J Cancer Res 2012; 2(6): 676-90.

Weiner GJ. Rituximab: mechanism of action. Semin Hematol 2010; 47(2): 115-23.

Feugier P. A review of rituximab, the first anti-CD20 monoclonal antibody used in the treatment of B non-Hodgkin’s lymphomas. Future Oncol 2015; 11(9): 1327-42.

Salles G, Barrett M, Foà R, Maurer J, O’Brien S,Valente N, et al. Rituximab in B-cell hematologic malignancies: a review of 20 years of clinical experience. Adv Ther 2017; 34(10): 2232-73.

Pfreundschuh M, Kuhnt E, Trümper L, Osterborg A, Trneny M, Shepherd L, et al. CHOP-like chemotherapy with or without rituximab in young patients with good-prognosis diffuse large-B-cell lymphoma: 6-year results of an open-label randomised study of the MabThera International Trial (MInT) Group. Lancet Oncol 2011; 12(11): 1013-22.

Marcus R, Imrie K, Belch A, Cunningham D, Flores E, Catalano J, et al. CVP chemotherapy plus rituximab compared with CVP as fi rst-line treatment for advanced follicular lymphoma. Blood 2005; 105(4): 1417-23.

Coiffier B, Lepage E, Briere J, Herbrecht R, Tilly H, Bouabdallah R, et al. CHOP chemotherapy plus rituximab compared with CHOP alone in elderly patients with diffuse large-B-cell lymphoma. N Engl J Med 2002; 346(4): 235-42.

Intragumtornchai T, Bunworasate U, Siritanaratkul N, Khuhapinant A, Nawarawong W, Norasetthada L, et al. Inferior progressionfree survival for Thai patients with diffuse large B-cell lymphoma treated under Universal Coverage Scheme: the impact of rituximab inaccessability. Leuk Lymphoma 2013; 54: 83-9.

Jurczak W, Długosz-Danecka M. Rituximab biosimilars in clinical practice. Leuk Lymphoma 2020; 61(7): 1523-24.

Gota V, Karanam A, Rath S, Yadav A, Tembhare P, Subramanian P, et al. Population pharmacokinetics of Reditux™, a biosimilar Rituximab, in diffuse large B-cell lymphoma. Cancer Chemother Pharmacol 2016; 78(2): 353-9.

Roy PS, John S, Karankal S, Kannan S, Pawaskar P, Gawande J, et al. Comparison of the efficacy and safety of Rituximab (Mabthera™) and its biosimilar (Reditux™) in diffuse large B-cell lymphoma patients treated with chemo-immunotherapy: a retrospective analysis. Indian J Med Paediatr Oncol 2013; 34(4): 292-8.

Kim WS, Coiffier B, Buske C, Ogura M, Kwak L, Jurczak W, et al. CT-P10 versus reference rituximab in combination with CVP in advanced-stage follicular lymphoma: Phase 3, double-blind, randomized trial. Ann Oncol 2017; 28: 94.

Rioufol C, Salles G. Biosimilar monoclonal antibodies in lymphoma: a critical appraisal. Expert Rev Anticancer Ther 2015; 15(5): 569-78.

สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย. คำแถลงฉันทามติการใช้ยาชีววัตถุคล้ายคลึงในการรักษาโรครูมาติกและ ออโตอิมมูน ฉบับที่ 4. กรุงเทพฯ: สมาคมรูมาติสซั่ม แห่งประเทศไทย; 2566. หน้า 6-7.

Brink M, Kahle XU, Vermaat JSP, Zijlstra JM, Chamuleau M, Kersten MJ, et al. Impact of rituximab biosimilars on overall survival in diffuse large B-cell lymphoma: a Dutch population-based study. Blood Adv 2021;5(15): 2958-64.

กลุ่มนโยบายแห่งชาติด้านยา. ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่องกำหนดราคากลางยา พ.ศ. 2562. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 1 กรกฎาคม 2566]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL:https://ndi.fda.moph.go.th/drug_value/index.

Ding J, Leng Z, Gu H, Jing X. A novel prednisone premedication protocol significantly decreases infusion-related reactions of rituximab in newly diagnosed diffuse large B-cell lymphoma. Oncol Lett 2023; 25: 258. (7 pages).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)