ข้อบกพร่องตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการของสถานพยาบาลตรวจสุขภาพคนหางานที่จะไปทำงานต่างประเทศ

ข้อบกพร่องตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการของสถานพยาบาลตรวจสุขภาพคนหางานที่จะไปทำงานต่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • พินิจ งามประสิทธิ์ สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สิริพรรณ แสงอรุณ สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สุพรรณี กาญจนกุล กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน
  • ภัทรวีร์ สร้อยสังวาลย์ สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

มาตรฐานห้องปฏิบัติงาน, คนหางานไปทำงานต่างประเทศ, หนังสือรับรองการตรวจสุขภาพ, ข้อบกพร่อง

บทคัดย่อ

         มาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสุขภาพคนหางานที่จะไปทำงานต่างประเทศ เป็นมาตรฐานสำหรับสถานพยาบาลเอกชนที่ประสงค์ขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ในการตรวจสุขภาพของคนไทยเพื่อให้ได้หนังสือรับรองการตรวจสุขภาพที่จะไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่มีความจำเพาะและมีการพิสูจน์ตัวบุคคล การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ข้อบกพร่องจากการตรวจประเมินในปี พ.ศ. 2562 และ 2564 และวิเคราะห์ผลตรวจโรคที่ทำให้คนหางานชาวไทยถูกส่งกลับ ศึกษาข้อมูลเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง ผลการศึกษาพบว่ามีจำนวนห้องปฏิบัติการทั้งหมด 37 แห่ง เปรียบเทียบผลการตรวจประเมินในปี พ.ศ. 2562 และ 2564 พบข้อบกพร่องทั้งหมด 227 และ 246 ข้อ ตามลำดับ ข้อบกพร่องสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ระบบเอกสาร (ร้อยละ 17.6, 17.1) การตรวจวิเคราะห์ (ร้อยละ 9.7, 15.9) และการเก็บตัวอย่าง (ร้อยละ 9.3, 10.2) คนหางานชาวไทยที่ถูกส่งกลับจำนวน 9 ราย ได้แก่ คนหางานจากสาธารณรัฐเกาหลีจำนวน 6 ราย คูเวตจำนวน 1 ราย มาเลเซียจำนวน 1 ราย และฮ่องกงจำนวน 1 ราย เนื่องจากผลตรวจโรคของคนหางานชาวไทยในต่างประเทศบ่งชี้ว่าเป็นโรควัณโรคจำนวน 5 ราย โรคซิฟิลิสจำนวน 3 ราย และเอชไอวีจำนวน 1 ราย เมื่อตรวจซ้ำที่ประเทศไทยพบคนหางานที่เป็นวัณโรคจำนวน 3 ราย ปอดอักเสบจำนวน 1 ราย โรคซิฟิลิสจำนวน 2 ราย และเอชไอวีจำนวน 2 ราย ระยะเวลาที่คนหางานชาวไทยถูกส่งตัวกลับตั้งแต่ 1 วัน ถึง 6 ปี การถูกส่งตัวกลับภายในระยะเวลา 3 วัน อาจเกิดจากผลระหว่างห้องปฏิบัติการที่ไม่ตรงกัน ซึ่งมาตรฐานนี้ครอบคลุมถึงการวิเคราะห์หาสาเหตุกรณีคนหางานถูกส่งกลับ

 

 

References

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2528. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา; 2552.

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. ระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นสถานตรวจสุขภาพคนหางานที่จะไปทำงานต่างประเทศ พ.ศ. 2546. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 102 (วันที่ 5 กันยายน 2546). หน้า 22.

ภัทรวีร์ สร้อยสังวาลย์, เรวดี สิริธัญญานนท์, พินิจ งามประสิทธิ์. นโยบาย ข้อกำหนดและเงื่อนไขการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการของสถานพยาบาลตรวจสุขภาพคนหางานที่จะไปทำงานต่างประเทศ. แก้ไขครั้งที่ 7. นนทบุรี: สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2563.

ISO 15189:2012. Medical laboratories-requirements for quality and competence. Geneva: International Organization for Standardization; 2012.

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. ข้อมูลจำนวนคนหางานที่ถูกส่งตัวกลับประเทศไทย กรณีตรวจโรคไม่ผ่านในต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2562-2564. กรุงเทพฯ: กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ; 2564.

ภัทรวีร์ สร้อยสังวาลย์, อมรรัตน์ ทัศนกิจ, พินิจ งามประสิทธิ์. นโยบาย ข้อกำหนดและเงื่อนไขการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการของสถานพยาบาลตรวจ สุขภาพคนหางานที่จะไปทำงานต่างประเทศ. แก้ไขครั้งที่ 6. นนทบุรี: สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2561.

อมรรัตน์ ทัศนกิจ, พินิจ งามประสิทธิ์, ปวีณา กมลรักษ์.การวิเคราะห์ระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตรวจสุขภาพที่แรงงานไทยถูกส่งกลับระหว่าง พ.ศ. 2557-2559. ว กรมวิทย พ 2561; 60(1): 9-17.

สุธน วงษ์ชีรี, สุรศักดิ์ หมื่นพล, อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์, พินิจ งามประสิทธิ์, มะลิวัลย์ หอมจัน, พรหมภัสสร ดิษสระ, และคณะ. สรุปและวิเคราะห์สาเหตุที่แรงงานไทยถูกส่งกลับจากการตรวจโรคไม่ผ่านในต่างประเทศระหว่าง พ.ศ. 2554-2557. ว กรมวิทย พ 2558; 57(3): 304-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-03-2024

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)