การสํารวจการปนเปื้อนปรสิตในลําไส้ในผักสด ในเขตกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

การสำรวจการปนเปื้อนปรสิตในลำไส้ในผักสด

ผู้แต่ง

  • อุทัยทิพย์ บุญเกษม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อนัญญา ประดิษฐปรีชา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การปนเปื้อน, ปรสิตในลําไส้, ผักสด, ตลาดสด

บทคัดย่อ

         ผักเป็นแหล่งสารอาหารที่จําเป็นต่อร่างกาย การบริโภคผักสดโดยไม่ผ่านกระบวนการล้างให้สะอาด ก่อให้เกิดการแพร่เชื้อปรสิตในลําไส้จากสิ่งแวดล้อมสู่มนุษย์ได้ ซึ่งโรคติดเชื้อปรสิตยังคงเป็นโรคที่พบได้เป็นประจําและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญของประเทศไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของปรสิตในลําไส้ในผักสด และเพื่อเปรียบเทียบความชุกของเชื้อปรสิตในลําไส้ในผักสดจากตลาดท้องถิ่นและตลาดเมืองในกรุงเทพมหานคร สํารวจช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ทําการสุ่มเก็บตัวอย่างผักสด จํานวน 15 ชนิด ทั้งหมด 300 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีการตกตะกอน ผลการศึกษาพบว่ามีความชุกของการปนเปื้อนเชื้อปรสิตในลําไส้ในผักสดร้อยละ 33.3 โดยพบเชื้อปรสิตในลําไส้ที่มีการปนเปื้อนมากที่สุดในผักสด คือ เชื้อพยาธิปากขอ (Hookworm) ร้อยละ 17.3 รองลงมา คือ พยาธิ Strongyloides stercoralis ร้อยละ 11.7 ส่วนชนิดของผักสดที่พบการปนเปื้อนเชื้อปรสิตมากที่สุด คือ โหระพา ร้อยละ 100 รองลงมา คือ ผักชีร้อยละ 60 และสะระแหน่ร้อยละ 60 นอกจากนี้พบความชุกของการปนเปื้อนเชื้อปรสิตในลําไส้ระหว่างตลาดเมืองและตลาดท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 (OR: 1.64, 95% CI: 1.00−2.63, p-value = 0.05) จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผักสดมีการปนเปื้อนเชื้อปรสิตในลําไส้ที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยแก่ผู้บริโภคได้ ด้วยเหตุนี้จึงควรล้างผักสดให้สะอาดและถูกวิธีก่อนบริโภค เพื่อลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนเชื้อปรสิตในลําไส้จากสิ่งแวดล้อมสู่มนุษย์

References

Ulukanligil M, Seyrek A, Aslan G, Ozbilge H, Atay S. Environmental pollution with soil-transmitted helinths in Sanliurfa, Turkey. Mem Inst Oswaldo Cruz 2001; 96(7): 903-9.

ขันทอง เพ็ชรนอก, กนกวรรณ ตุ้นสกุล. สํารวจการปนเปื้อนพยาธิในผักสดและผลไม้สดจากตลาดสด 5 ภูมิภาคของประเทศไทย. ว กรมวิทย พ 2563; 62(4): 372-83.

Berger CN, Sodha SV, Shaw RK, Griffin PM, Pink D, Hand P, et al. Fresh fruit and vegetables as vehicles for the transmission of human pathogens. Environ Microbiol 2010; 12(9): 2385-97.

Yusof AM, Mohammad M, Abdullahi MA, Mohamed Z, Zakaria R, Wahab RA. Occurrence of intestinal parasitic contamination in select consumed local raw vegetables and fruits in Kuantan, Pahang. Trop Life Sci Res 2017; 28(1): 23-32.

Zavala GA, García OP, Camacho M, Ronquillo D, Campos-Ponce M, Doak C, et al. Intestinal parasites: associations with intestinal and systemic inflammation. Parasite Immunol 2018; 40: e12518. (6 pages).

WHO report on the global tobacco epidemic, 2017: monitoring tobacco use and prevention policies. Geneva; World Health Organization; 2017.

Wongsaroj T, Nithikathkul C, Rojkitikul W, Nakai W, Royalb L, Rammasut P. National survey of helminthiasis in Thailand. Asian Biomed 2014; 8(6): 779-83.

Chonsawat P, Wongphan B. Prevalence of parasitic infections in patients at Hospital for Tropical Diseases, Mahidol University. J Med Tech Assoc Thailand 2017; 45(2): 6073-84.

สํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสํารวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สํานักงานสถิติแห่งชาติ; 2561.

นันทวดี เนียมมุ้ย, รัชนีกร สืบแก้ว, ณัฐชนน อักษรเนียม, วรยา นิมนากรณ์, แพร สายบัวแดง, โชติช่วง พณโสภณกุล, และคณะ. การศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อปรสิตในผักที่จําหน่ายในตลาดสดและห้างสรรพสินค้าในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. ว วิชาการสาธารณสุข. 2565; 31(1): 5-13.

กองส่งเสริมและบริหารตลาด กรมการค้าภายใน. ทําเนียบตลาดสดในความส่งเสริมของกรมการค้าภายใน [ออนไลน์]. 2561; [สืบค้น 7 ก.ย. 2565]: [21 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.dit.go.th/FILE/CONTENT_FILE/256202181736143776974.pdf

สํานักงานสวนสาธารณะ. แผนที่กรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 7 ก.ย. 2565]; เข้าถึงได้ที่: URL: https://sites.google.com/view/publicparksdiv1/พนทกรงเทพมหานคร

Meeker WQ, Hahn Gj, Escobar LA. Statistical intervals: A guide for practitioners and researchers. 2nd ed. New Jersey: John Wiley & Sons; 2017.

นันทพร จงกลนี, ดุจดาว ทรงธรรมวัฒน์. การตรวจหาการปนเปื้อนของปรสิตในผักสดจากอําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ว เทคนิคการแพทย์. 2558; 43(1): 5141-50.

Punsawad C, Phasuk N, Thongtup K, Nagavirochana S, Viriyavejakul P. Prevalence of parasitic contamination of raw vegetables in Nakhon Si Thammarat province, southern Thailand. BMC Public Health 2019; 19: 34. (7 pages).

กฤตปภัช ตันติอมรกุล, ธัชพล เมธารัชกุล. การตรวจหาการปนเปื้อนของสารเคมีกําจัดแมลง และความชุกของโปรโตซัวในผักสดที่จําหน่ายในตลาดสด อําเภอเมือง จังหวะดพะเยา. ว สาธารณสุขศาสตร์ 2562; 49(1): 118-29.

Bekele F, Shumbej T. Fruit and vegetable contamination with medically important helminths and protozoans in Tarcha town, Dawuro zone, South West Ethiopia. Res Rep Trop Med 2019; 10: 19-23.

El Bakri A , Hussein NM, Ibrahim ZA, Hasan H, AbuOdeh R. Intestinal parasite detection in assorted vegetables in the United Arab Emirates. Oman Med J 2020; 35(3): e128. (5 pages).

Mohamed MA, Siddig EE, Elaagip AH, Edris AM, Nasr AA. Parasitic contamination of fresh vegetables sold at central markets in Khartoum state, Sudan. Ann Clin Microbiol Antimicrob 2016; 15: 17. (7 pages).

Obebe OO, Aluko OO, Falohun OO, Akinlabi KB, Onyiche TE. Parasitic contamination and public health risk of commonly consumed vegetables in Ibadan-Nigeria. Pan Afr Med J 2020; 36: 126. (9 pages).

Rostami A, Ebrahimi M, Mehravar S, Omrani VF, Fallahi S, Behniafar H. Contamination of commonly consumed raw vegetables with soil transmitted helminth eggs in Mazandaran province, northern Iran. Int J Food Microbiol 2016; 225: 54-8.

Isazadeh M, Mirzaii-Dizgah I, Shaddel M, Homayouni MM. The prevalence of parasitic contamination of fresh vegetables in Tehran, Iran. Turkiye Parazitol Derg 2020; 44(3): 143-8.

Kudah C, Sovoe S, Baiden F. Parasitic contamination of commonly consumed vegetables in two markets in Ghana. Ghana Med J 2018; 52(2): 88-93.

Rodrigues AC, da Silva MDC, Pereira RÂS, Pinto LC. Prevalence of contamination by intestinal parasites in vegetables (Lactuca sativa L. and Coriandrum sativum L.) sold in markets in Belém, northern Brazil. J Sci Food Agric 2020; 100(7): 2859-65.

Duedu KO, Yarnie EA, Tetteh-Quarcoo PB, Attah SK, Donkor ES, Ayeh-Kumi PF. A comparative survey of the prevalence of human parasites found in fresh vegetables sold in supermarkets and open-aired markets in Accra, Ghana. BMC Res Notes 2014; 7: 836. (6 pages).

Su GL, Mariano CM, Matti NS, Ramos GB. Assessing parasitic infestation of vegetables in selected markets in Metro Manila, Philippines. Asian Pac J Trop Dis 2012; 2(1): 51-4.

Hong S, Kim K, Yoon S, Park WY, Sim S, Yu JR. Detection of Cryptosporidium parvum in environmental soil and vegetables. J Korean Med Sci 2014; 29(10): 1367-71.

Schär F, Trostdorf U, Giardina F, Khieu V, Muth S, Marti H, et al. Strongyloides stercoralis: global distribution and risk factors. PLoS Negl Trop Dis 2013; 7(7): e2288. (17 pages).

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. มาตรฐานตลาด. [ออนไลน์]. 2566; [สืบค้น 27 ม.ค. 2566]: [7 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.dla.go.th/work/e_book/eb1/std210550/23/6.pdf.

ทิพจุฑา ชัยทอง. พฤติกรรมการบริโภคผักสดของผู้บริโภคในอําเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา [สารนิพนธ์]. สาขาการจัดการธุรกิจเกษตร, คณะเศรษฐศาสตร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559.

ประพิณวดี ศิริศุภลักษณ์, อิสริยา บุญญะศิริ. พฤติกรรมการบริโภคและความเต็มใจที่จะจ่ายสําหรับผักผลไม่ปลอดภัยของประชาชนไทย. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2559.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

24-09-2024

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)