ประสิทธิภาพของเครื่องอัลตราโซนิคในการกำจัดลูกน้ำและตัวโม่งยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ในห้องปฏิบัติการ

เครื่องอัลตราโซนิคกำจัดลูกน้ำและตัวโม่งยุงลายบ้าน

ผู้แต่ง

  • อนุพงศ์ สุขใจ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กรมควบคุมโรค
  • วรรณภา ทองโม้ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กรมควบคุมโรค
  • กรณ์ทอง เวียงแก้ว สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กรมควบคุมโรค
  • วศิน เทพเนาว์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กรมควบคุมโรค
  • ฉัตรสุดา ลัดสูงเนิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กรมควบคุมโรค
  • ชาญชัย ทองโสภา สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ทวีชัย วิษณุโยธิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

ยุงลาย, การกำจัดลูกน้ำและตัวโม่ง, อัลตราโซนิค

บทคัดย่อ

         ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้พัฒนาเครื่องกำเนิดอัลตราโซนิค ชื่อ “SONiC BOOM” เพื่อจัดการลูกน้ำและตัวโม่งของยุง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์ในการควบคุมลูกน้ำและตัวโม่งของยุงภายในห้องปฏิบัติการ โดยใช้ลูกน้ำยุง จำนวน 50 ตัว และตัวโม่ง จำนวน 50 ตัว ทดสอบในโอ่งดิน ขนาด 20 ลิตร ในห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองที่ได้รับอัลตราโซนิคที่ความถี่ 40 กิโลเฮิร์ตซ์ ปล่อยคลื่นในบริเวณน้ำ จำนวน 5 จุด ๆ ละ 3 วินาที บันทึกเปอร์เซ็นต์การตายหลังจากปล่อยคลื่นไปแล้ว 5 นาที และ 24 ชั่วโมง วิเคราะห์ความแตกต่างทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่าเปอร์เซ็นต์การตายของลูกน้ำในระยะเวลา 5 นาที และ 24 ชั่วโมง หลังการสัมผัสคลื่นไม่แตกต่างกัน โดยในตัวโม่งพบเปอร์เซ็นต์การตายมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้เปอร์เซ็นต์การตายระหว่างกลุ่มที่ได้รับอัลตราโซนิคและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) โดยเปอร์เซ็นต์การตายเริ่มต้นของลูกน้ำ เท่ากับ 96.0% และตัวโม่ง เท่ากับ 64.0% และหลังจากได้รับอัลตราโซนิคแล้ว 24 ชั่วโมง พบเปอร์เซ็นต์การตายของลูกน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 97.6% และตัวโม่งเป็น 100% โดยอัลตราโซนิคมีผลทำลายเนื้อเยื่อและ อวัยวะภายในของลูกน้ำยุง เครื่อง SONiC BOOM จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมลูกน้ำและตัวโม่งของยุงโดยไม่ใช้สารเคมี ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย สามารถนำไปพัฒนาและนำไปใช้ควบคุมโรคในพื้นที่ที่มีการระบาดได้

References

Mayer SV, Tesh RB, Vasilakis N. The emergence of arthropod-borne viral diseases: a global prospective on dengue, chikungunya and zika fevers. Acta Trop 2017; 166: 155-63.

Ahebwa A, Hii J, Neoh KB, Chareonviriyaphap T. Aedes aegypti and Aedes albopictus (Diptera: Culicidae) ecology, biology, behaviour, and implications on arbovirus transmission in Thailand: Review. One Health 2023;16:100555. (9 pages).

Benelli G. Plant-borne ovicides in the fight against mosquito vectors of medical and veterinary importance: a systematic review. Parasitol Res 2015; 114(9): 3201-12.

Naqqash MN, Gökçe A, Bakhsh A, Salim M. Insecticide resistance and its molecular basis in urban insect pests. Parasitol Res 2016; 115(4): 1363-73.

Benelli G. Plant-mediated biosynthesis of nanoparticles as an emerging tool against mosquitoes of medical and veterinary importance: a review. Parasitol Res 2016; 115(1): 23-34.

Fredregill CL, Motl GC, Dennett JA, Bueno RJ, Debboun M. Efficacy of two larvasonicTM units against Culex larvae and effects on common aquatic nontarget organisms in Harris County, Texas. J Am Mosq Control Assoc 2015; 31(4): 366-70.

Britch SC, Nyberg H, Aldridge RL, Swan T, Linthicum KJ. Acoustic control of mosquito larvae in artificial drinking water containers. J Am Mosq Control Assoc 2016; 32(4): 341-4.

Tawatsin A, Thavara U, Siriyasatien P, Permpoonburana S. Development of a novel ultrasonic sound-generated device: the physical tool for controlling immature stages of mosquitoes transmitting dengue haemorrhagic fever (Aedes aegypti) and filariasis (Culex quinquefasciatus). Biomed J Sci & Tech Res 2019; 19(3): 14308-14.

Bhatt S, Gething PW, Brady OJ, Messina JP, Farlow AW, Moyes CL, et al. The global distribution and burden of dengue. Nature 2013; 496(7446): 504-7.

Schwab SR, Stone CM, Fonseca DM, Fefferman NH. The importance of being urgent: the impact of surveillance target and scale on mosquito-borne disease control. Epidemics 2018; 23: 55-63.

Kalimuthu K, Tseng LC, Murugan K, Panneerselvam C, Aziz AT, Benelli G, et al. Ultrasonic technology applied against mosquito larvae. Appl Sci 2020; 10: 3546. (15 pages).

Jirakanjanakit N, Rongnoparut P, Saengtharatip S, Chareonviriyaphap T, Duchon S, Bellec C, et al. Insecticide susceptible/resistance status in Aedes (Stegomyia) aegypti and Aedes (Stegomyia) albopictus (Diptera: Culicidae) in Thailand during 2003–2005. J Econ Entomol 2007; 100(2): 545-50.

Komalamisra N, Srisawat R, Phanbhuwong T, Oatwaree S. Insecticide susceptibility of the dengue vector, Aedes aegypti (L.) in Metropolitan Bangkok. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2011; 42(4): 814-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-03-2025

How to Cite

1.
สุขใจ อ, ทองโม้ ว, เวียงแก้ว ก, เทพเนาว์ ว, ลัดสูงเนิน ฉ, ทองโสภา ช, วิษณุโยธิน ท. ประสิทธิภาพของเครื่องอัลตราโซนิคในการกำจัดลูกน้ำและตัวโม่งยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ในห้องปฏิบัติการ: เครื่องอัลตราโซนิคกำจัดลูกน้ำและตัวโม่งยุงลายบ้าน. ว กรมวิทย พ [อินเทอร์เน็ต]. 28 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 3 พฤษภาคม 2025];67(1):45-5. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/270312

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)