ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

Jerusphol Thaiyanan

บทคัดย่อ

                ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดเป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งที่ทำให้ทารกแรกเกิด มีเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตได้สูง และเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่บอกถึงคุณภาพและประสิทธิภาพในการดูแลมารดาและทารกในโรงพยาบาล เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและการป้องกันที่เป็นมาตรฐานในดูแลมารดาและทารกในช่วงการฝากครรภ์และช่วงคลอดให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด การวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์วิจัยเพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา โดยศึกษาวิจัยแบบ Retrospective study เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2561 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2563 จำนวน 208 คน แบ่ง
2 กลุ่ม กลุ่มศึกษา คือ สตรีตั้งครรภ์ที่คลอดทารกแรกเกิด Apgar Score นาทีที่ 1 ≤ 7 จำนวน 52 คน กลุ่มควบคุม คือ สตรีตั้งครรภ์ที่คลอดทารกแรกเกิด Apgar Score นาทีที่ 1 > 7 จำนวน 156 คน สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย SD Odds ratio (95% CI)
หาความสัมพันธ์โดยใช้ Chi-Square


                ผลการวิจัย พบว่า ความชุกของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ในปี พ.ศ.2561 มีความชุก 24.0 ต่อ 1,000
การเกิดมีชีพ (95% CI: 21.75-26.25) ปี 2562 ความชุก 68.1 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ (95% CI: 44.65-91.75) และ ปี 2563 ความชุก 24.8 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ (95% CI: 24.74-24.93) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม (p < 0.5) พบว่าปัจจัยเสี่ยงด้านมารดา คือ อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ (OR 3.21, 95%CI  1.49-6.85) ปัจจัยเสี่ยงด้านทารก คือ น้ำหนักแรกเกิด < 2,500 กรัม (OR 7.29, 95%CI 2.98-17.81)  เมื่อทราบถึงปัจจัยเสี่ยงนี้ทำให้สามารถวางแผนเตรียมความพร้อมตลอดจนการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังในสตรีตั้งครรภ์ เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ลดภาวะทุพพลภาพของทารกและการตายปริกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

World Health Organization. International statistical classification of diseases and related health problems-10th revision. 2. Geneva: WHO; 2010.

อภิรักษ์ หงวนบุญมาก, สมบูรณ์ ศรศุกลรัตน์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงสำหรับภาวะทารกแรกเกิดขาดออกซิเจนในหญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี. Thai J Obstet Gynaecol, 2562; 27(1): 29-37.

บรรพจน์ สุวรรณชาติ. ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2547; 19(4): 233-240.

กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. อัตราการเกิดภาวะขาดอากาศในทารกแรกเกิด (Birth Asphyxia Rate) ระดับจังหวัด. [อินเตอร์เน็ต]. รายงาน Service Plan สาขาแม่และเด็ก. [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ย.

. เข้าถึงได้จาก:

http://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/birthasphyxia/changwat?year=2020&kid=2055&

rg=6

สุนิดา พรรณะ. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลหนองคาย. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2563; 35(3): 278-286.

นงเยาว์ ศิลปะวัฒนานันท์ และสิริกร ถนอมธรรม. ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะออกซิเจนในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร, 2559; 36(1): 25-38.

กรรณิการ์ บูรณวนิช และกฤษณ์ เชี่ยวชาญประพันธ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิด ในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 2563; 64(1): 11-22.

มนตรี ภูริปัญญวานิช. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลเสนา. Journal of health Research, 2551; 22(2): 83-89.

ชญาศักดิ์ พิศวง และปริศนา พานิชกุล. ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. เวชสารแพทย์ทหารบก, 2554; 64(3): 109-19.

นริศรา แสงปัดสา. ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดที่เกิดในโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารการแพทย์เขต 4-5, 2557; 33(4): 237-248.

ปทุมมา กังวานตระกูล, เมธา ทรงธรรมรัตน์, ศรีสุดา ไทยเลิศ. ทารกขาดออกซิเจนแรกคลอดในโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารแพทย์เครือข่าย 6/2, 2540; 7: 451-61.

ศราวุฒิ ตั้งศรีสกุล. ปัจจัยเสียงของการคลอดทารกคะแนนแอบการ์ที่ 1 นาที เท่ากับ 7 หรือน้อยกว่าในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารกรมการแพทย์ 2544 ; 26: 458-65.

MacDonald HM, Mulligan IC, Taylor PM. Neonatal asphyxia. I. Relationship of obstetric and neonatal complications of neonatal mortality in 38,405 consecutive deliveries. J Pediatr, 1980; 96: 898-902.

สุรชัย พงศ์หล่อพิศิษฏ์. ปัจจัยเสี่ยงของมารดาต่อการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง. ลำปางเวชสาร, 2552; 30(3): 146-153.

นพัสร ทรัพย์พิพัฒน์. ปัจจัยเสี่ยงของมารดาต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาล

กาฬสินธุ์. [อินเตอร์เน็ต]. งานอนามัยแม่และเด็กจังหวัดมหาสารคาม. [เข้าถึงเมื่อ 26 ส.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://mkho.moph.go.th/depart/mch/downloaddata/ research/2007-08-18-13.pdf

สำเริง ไตรติลานันท์. ปัจจัยเสี่ยงการคลอดทารกน้ำหนักตัวน้อยในโรงพยาบาลพนมสารคาม จังหวัด

ฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2551; 2:886-900.

บรรจง ไวทยเมธา, รุชนีย์ ไวทยเมธา. อิทธิพลของปัจจัยที่เกี่ยวกับมารดา ต่อน้ำหนักแรกเกิดของทารก

ในหญิงมีครรภ์ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลปัตตานี. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

; 22:307-12.

มณีภรณ์ โสมานุสรณ์. การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ : ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์. นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก; 2551: 215.