โปรแกรมป้องกันกระดูกสะโพกหักซ้ำในผู้ป่วยสูงอายุที่เคยกระดูกสะโพกหัก
บทคัดย่อ
การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุเป็นปัญหาสำคัญและรักษายาก ไม่ว่าจะรักษาโดยการผ่าตัดหรือ รักษาแบบอนุรักษ์ พบอัตราการเสียชีวิตใน 1 ปี ประมาณร้อยละ 20-30 ทั้งนี้อัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้น มากถ้าหักซ้ำ ไม่ว่าจะเป็นข้างเดิมหรือข้างที่ยังไม่เคยหัก อีกทั้งประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุปัญหา จากการพลัดตกหกล้มยิ่งเป็นปัญหาสำคัญซึ่งควรตระหนักทั้งการป้องกันและรักษา การศึกษาแบบเปรียบ เทียบวิเคราะห์ย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มใน ผู้สูงอายุทุกรายที่เข้ารับการผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหัก โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มก่อนได้รับ โปรแกรมฯ (กลุ่มควบคุม) 472 คน ระหว่างปีงบประมาณ 2555 - 2556 และกลุ่มหลังได้รับโปรแกรมฯ (กลุ่มศึกษา) 494 คน ระหว่างปีงบประมาณ 2557 - 2558 เครื่องมือที่ใช้คือโปรแกรมป้องกันการหกล้ม ในผู้สูงอายุ เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างทั้งสองกลุ่มด้วยการทดสอบ chi-square และการทดสอบ Fisher’s exact กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 พบว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมป้องกันฯ มีอัตราการหักซ้ำ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 12 ราย ใน 472 ราย (ร้อยละ 2.5) เป็น 4 ราย ใน 494 ราย (ร้อยละ 0.8) (p = 0.035) สรุปได้ว่าโปรแกรมป้องกันการหกล้มนี้สามารถลดอัตราการหักซ้ำได้ ควรพิจารณาใช้โปรแกรมนี้ ป้องกันการหกล้มทั้งในผู้สูงอายุทุกราย โดยเน้นการป้องกันที่บ้านและการดูแลโดยชุมชน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์