รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ด้านการสร้างเสริม สุขภาวะผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เขตสุขภาพที่ 5

ผู้แต่ง

  • Rujirung Wanthanatas, B.N.S ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ชั้นสูง
  • Ratchanee Krongrawa, M.N.S. พย.ม.สาขาการพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด
  • Pirom Leesuwan, M.Sc. วทม. (สาธารณสุขศาสตร์) เอกบริหารสาธารณสุข

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะที่คาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพ และ 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 5
วิธีการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา (research & development) ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสม (mixed method) เชิงปริมาณและคุณภาพ มีการดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ

1) การศึกษาสมรรถนะที่คาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ

     1.1) การศึกษาความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 10 คน ประกอบด้วย ผู้บังคับบัญชา (regulator) ผู้ใช้บริการ (consumer) ผู้ซื้อบริการ (purchaser) และผู้ให้บริการ (provider) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
   1.2) ประเมินสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 5 สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (stratified random sampling) จำนวน 280 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเขตสุขภาพที่ 5 โดยการตรวจสอบความเหมาะสม และด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่มตรวจสอบเอกสารโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และประเมินความเป็นไปได้โดยการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากหัวหน้าพยาบาล จำนวน 30 คน

ผลการศึกษา : 1) สมรรถนะที่คาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพตามมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า 1.1) ความคาดหวังสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุตามกฎบัตรออคตาวา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\fn_jvn&space;\small&space;\bar{x}= 3.10) 1.2) ความคาดหวังความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลด้านการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวคิดของสภาวิชาชีพโดยรวมอยู่ ในระดับปานกลาง (gif.latex?\fn_jvn&space;\small&space;\bar{x} =2.87) 2) ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันว่ารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ องค์ประกอบที่ 2
ลักษณะสำคัญของรูปแบบการพัฒนา ได้แก่ 2.1) การกำหนดสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของที่ตรงความต้องการของพื้นที่ 2.2) การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ 2.3) กำหนดแผนดำเนินการและขั้นตอนการดำเนินการพัฒนา และ 2.4) การกำหนดวิธีการนำไปสู่การปฏิบัติ การติดตามและการประเมินผลองค์ประกอบที่ 3 เงื่อนไขของความสำเร็จในการพัฒนาสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ
ข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารเขตสุขภาพควรสนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพอย่างต่อเนื่องเป็นขั้นตอนทั้งระบบ

Author Biographies

Rujirung Wanthanatas, B.N.S, ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ชั้นสูง

ศศ.ม. จิตวิทยาชุมชน
กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม

Ratchanee Krongrawa, M.N.S., พย.ม.สาขาการพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี จักรีรัช จังหวัดราชบุรี

Pirom Leesuwan, M.Sc., วทม. (สาธารณสุขศาสตร์) เอกบริหารสาธารณสุข

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี จักรีรัช จังหวัดราชบุรี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-18