การดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังแบบสหสาขาวิชาชีพ ในคลินิกหัวใจล้มเหลวโรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • Kamonrat Thongplung, M.D. กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

คลินิกหัวใจล้มเหลว, สหสาขาวิชาชีพ

บทคัดย่อ

          กลุ่มอาการหัวใจล้มเหลวเป็นภาวะที่มีอัตราการเสียชีวิตและอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำที่สูง การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวโดยสหสาขาวิชาชีพ จะช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาล และอัตราการเสียชีวิตดังกล่าวได้

          วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาผลของการดูแลรักษาผู้ป่วยในคลินิกหัวใจล้มเหลวที่มีการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ

          วิธีการศึกษา:  เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective descriptive study) เก็บข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ที่เข้ามารับการรักษาในคลินิกหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลนครปฐม

          ผลการศึกษา:  มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 71 คน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30-60 ปี เป็นเพศชายร้อยละ 70.4 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 94.4 มีผลการทำงานของหัวใจช่วงซิสโทลีต่ำกว่าร้อยละ 40 ผู้ป่วยได้รับยาตามแนวทางการใช้ยาในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ได้แก่ ACEI/ARB, aldosterone antagonist, B-blocker, digoxin หรือในกลุ่มผู้ป่วยที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจเต้นพลิ้ว (atrial fibrillation) ก็ได้รับยา warfarin การดูแลในคลินิกหัวใจล้มเหลว สามารถลดความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลวจากการประเมินโดยใช้  NYHA  functional  class  พบว่า  NYHA functional class III, IV มีอาการดีขึ้นเป็น class I, II ได้เกือบทั้งหมด มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งสมรรถภาพการทำงานของหัวใจดีขึ้นอย่างชัดเจนที่เวลา 6 เดือนหลังเข้าคลินิก (p<0.01) ผู้ป่วย 67 คน มีอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำที่เวลา 3, 6, และที่ 12 เดือน ลดลงร้อยละ 19.7, 25.3 และ 2.8 ตามลำดับ มีผู้ป่วยเสียชีวิต 4 ราย เสียชีวิตแบบไม่ทราบสาเหตุคิดเป็นร้อยละ 5.6 ซึ่งเป็นการเสียชีวิตที่บ้าน

          สรุป:  ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิกหัวใจล้มเหลวที่ได้รับการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ  สามารถให้การดูแลรักษาได้ใกล้ชิด ช่วยลดความรุนแรงของอาการหัวใจล้มเหลว คุณภาพชีวิตดีขึ้น สมรรถภาพของหัวใจดีขึ้น และลดอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำได้

Author Biography

Kamonrat Thongplung, M.D., กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลนครปฐม

ว.ว. อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

References

1. Laothavorn P, Hengrussamee K, Kanjanavanit R, et al. Thai Acute Decompensated Heart Failure Registry (Thai ADHERE). CVD Prevention and Control 2010;5:89-95.

2. Ponikowski P, Voors AA, Anker SD, et al. 2016 ESC Guidelines for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure: The Task Force for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure of the European Society of Cardiology (ESC) Developed with the special contribution of the Heart Failure Association (HFA) of the ESC. Eur Heart J 2016;37:2129-200.

3. Yancy CW, Jessup M, Bozkurt B, et al. 2017 ACC/AHA/HFSA Focused Update of the 2013 ACCF/AHA Guideline for the Management of Heart Failure: A Report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Clinical Practice Guidelines and the Heart Failure Society of America. Circulation 2017;136:e137-61.

4. สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์; 2560.

5. สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557.

6. รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์, อรินทยา พรหมินธิกุล. คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังแบบบูรณาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คอนเซ็พท์ เมดิคัส; 2558.

7. กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ. 6-Minute Walk Test. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2557;24:1-4.

8. Pons F, Lupón J, Urrutia A, et al. Mortality and cause of death in patients with heart failure: findings at a specialist multidisciplinary heart failure unit. Rev Esp Cardiol 2010;63:303-14.

9. Howlett JG, Mann OE, Baillie R, et al. Heart failure clinics are associated with clinical benefit in both tertiary and community care settings: data from the Improving Cardiovascular Outcomes in Nova Scotia (ICONS) registry. Can J Cardiol 2009;25:e306-11.

10. Parmar KR, Xiu PY, Chowdhury MR, et al. In-hospital treatment and outcomes of heart failure in specialist and non-specialist services: a retrospective cohort study in the elderly. Open Heart 2015;2:e000095.

11. Larned J, Kabach M, Tamariz L, et al. Congestive Heart Failure clinic: How to Make Them Work in a Community-Based Hospital System. Cardiovasc Innov Appl 2015;1:13-8.

12. Boonrat S, Moleerergpoom W. Predictors of 6-month Recurrent Admission or Death in Patients with Acute Decompensated Heart Failure in Police General Hospial. Thai Heart J 2012;25:87-94.

13. สิทธิลักษณ์ วงษ์วันทนีย์, สำอางค์ เกียรติเจริญสิน, ปราณี ดาวมณี. การดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพในคลินิกโรคหัวใจล้มเหลวโรงพยาบาลระยอง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2010;27:222-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-17