การประดับในช่องปากและผลข้างเคียง: การศึกษาในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • Ittipol Tientaworn, D.D.S. กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
  • Chanapong Rojanaworarit, D.D.S., M.P.H., Ph.D. ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ

คำสำคัญ:

การประดับในช่องปาก

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์การประดับในช่องปาก และผลข้างเคียงในกลุ่มเยาวชนชายที่ถูกคุมประพฤติในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน ในอำเภอแห่งหนึ่งของจังหวัดนครปฐม

          วิธีการศึกษา: ศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลจากการให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากแก่เยาวชนชายที่ถูกคุมประพฤติ ปี พ.ศ. 2559 ซึ่งได้มีการซักประวัติ ตรวจช่องปาก และบันทึกไว้ตามระบบบริการปกติของโรงพยาบาลชุมชนที่รับผิดชอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา เพื่อระบุจำนวนและสัดส่วนตามลักษณะทางคลินิกต่างๆ

          ผลการศึกษา: เยาวชนที่อยู่ในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนมีการประดับในช่องปากใน 3 รูปแบบ คือ การตกแต่งหรือเจาะฟัน (ร้อยละ 34.3) การเจาะลิ้น (ร้อยละ 14.4) และการสักริมฝีปากหรือในช่องปาก (ร้อยละ 1.5) ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการประดับช่องปากแตกต่างไปตามรูปแบบการประดับ เช่น มีอาการเสียวฟันในกรณีที่มีการเจาะฟัน เลือดออก เป็นหนอง หรือมีอาการชาที่ลิ้น ในกรณีที่มีการเจาะลิ้น เหตุผลหลักในการประดับช่องปาก คือ การเชิญชวนจากเพื่อน (ร้อยละ 97.7) และทำโดยเพื่อน (ร้อยละ 93.4)

          ข้อสรุป: การประดับในช่องปากของเยาวชนชายในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนมี 3 รูปแบบหลัก คือ การตกแต่งหรือเจาะฟัน การเจาะลิ้น และการสักช่องปาก กระบวนการประดับช่องปากใช้เครื่องมือที่ไม่ได้ผ่านการทำลายเชื้ออย่างถูกวิธี และภายหลังทำการประดับช่องปากพบภาวะแทรกซ้อนหลายประการตามรูปแบบการประดับในช่องปาก ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการดูแลทางทันตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังผลเสียที่อาจเกิดภายหลัง

References

1. Randall JA, Sheffield D. Just a personal thing? A qualitative account of health behaviours and values associated with body piercing. Perspect Public Health 2013;133:110-5.

2. Chimenos-Küstner E, Batlle-Travé I, Velásquez-Rengijo S, et al. Appearance and culture: oral pathology associated with certain “fashions” (tattoos, piercings, etc.). Med Oral 2003;8:197-206.

3. Hennequin-Hoenderdos NL, Slot DE, Van der Weijden GA. Complications of oral and peri-oral piercings: a summary of case reports. Int J Dent Hyg 2011;9:101-9.

4. Singh A, Tuli A. Oral piercings and their dental implications: a mini review. J Investig Clin Dent 2012;3:95-7.

5. Ziebolz D, Hornecker E, Mausberg RF. Microbiological findings at tongue piercing sites: implications to oral health. Int J Dent Hyg 2009;7:256-62.

6. Tabbaa S, Guigova I, Preston CB. Midline diastema caused by tongue piercing. J Clin Orthod 2010;44:426-8.

7. Oberholzer TG, George R. Awareness of complications of oral piercing in a group of adolescents and young South African adults. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod 2010;110:744-7.

8. Levin L, Zadik Y, Becker T. Oral and dental complications of intra-oral piercing. Dent Traumatol 2005;21:341-3.

9. Gallè F, Quaranta A, Napoli C, et al. Body art practices and health risks: young adults’ knowledge in two regions of southern Italy. Ann Ig 2012;24:535-42.

10. Ziebolz D, Hildebrand A, Proff P, et al. Long-term effects of tongue piercing --a case control study. Clin Oral Investig 2012;16:231-7.

11. Bentsen B, Gaihede M, Lontis R, et al. Medical tongue piercing – development and evaluation of a surgical protocol and the perception of procedural discomfort of the participants. J Neuroeng Rehabil 2014;11:44.

12. Plastargias I, Sakellari D. The consequences of tongue piercing on oral and periodontal tissues. ISRN Dent 2014;2014:876510.

13. Bhatia S, Arora V, Gupta N, et al. Tooth jewellery – its knowledege and practice among dentists in Tricity, India. J Clin Diagn Res 2016;10:ZC32-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-17