ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปากอักเสบเหตุฟันเทียม ในผู้ที่มีการใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ โรงพยาบาลชะอำ
คำสำคัญ:
ปากอักเสบเหตุฟันเทียม, การใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปากอักเสบเหตุฟันเทียมในผู้ที่มีการใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ในโรงพยาบาลชะอำ
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางโดยเก็บข้อมูลจากผู้ที่ใส่ฟันเทียมถอดได้ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลชะอำ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ถึงเดือนกรกฎาคม 2562 จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยสอบถามข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ การไปพบทันตแพทย์ สภาพของฟันเทียม ความถี่ในการแปรงฟันเทียม การใส่ฟันเทียมขณะนอนหลับ อายุของฟันเทียม โรคเบาหวาน สูบบุหรี่ และชนิดของฟันเทียมถอดได้ ประกอบกับการตรวจช่องปากของผู้เข้าร่วมการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยสถิติพรรณา ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่chi-square test และbinary logistic regression
ผลการศึกษา: จากการศึกษาในผู้ที่ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ 140 คน พบว่า สภาพของฟันเทียม การใส่ฟันเทียมขณะนอนหลับ และอายุฟันเทียม มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปากอักเสบเหตุฟันเทียม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และพบว่าผู้ที่ใส่ฟันเทียมที่มีคราบจุลินทรีย์มีโอกาสเกิดปากอักเสบเหตุฟันเทียมมากกว่าผู้ที่ใส่ฟันเทียมที่ไม่มีคราบจุลินทรีย์ถึง 3.87 เท่า และผู้ที่ใส่ฟันเทียมขณะนอนหลับมีโอกาสเกิดปากอักเสบเหตุฟันเทียมมากกว่าผู้ที่ไม่ใส่ฟันเทียมขณะนอนหลับถึง 8.08 เท่าส่วนปัจจัยด้าน เพศ อายุ การไปพบทันตแพทย์ ความถี่ในการแปรงฟันเทียม การเป็นเบาหวาน การสูบบุหรี่ และชนิดของฟันเทียม ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปากอักเสบเหตุฟันเทียม
สรุป: สภาพของฟันเทียม การใส่ฟันเทียมขณะนอนหลับ อายุฟันเทียม มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปากอักเสบเหตุฟันเทียม ดังนั้นควรมีการส่งเสริมให้ความรู้แก่ผู้ที่ใส่ฟันเทียมถอดได้ในเรื่องการทำความสะอาดฟันเทียม เพื่อลดคราบจุลินทรีย์เป็นประจำทุกวัน ไม่แนะนำให้ใส่ฟันเทียมขณะนอนหลับ และแนะนำให้มีการเปลี่ยนฟันเทียมใหม่เมื่อมีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี
References
2. อรรถวิทย์ พิสิฐอนุสรณ์. การสร้างและการรักษาผู้ป่วยด้วยฟันปลอมเรซินอะคริลิก.
เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์; 2544.
3. รัชดาภรณ์ เค้ามงคลกิจ. ปากอักเสบเหตุฟันเทียม. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่: ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย. 2558.
4. Figueiral MH, Azul A, PintoE. et al. Denture-related stomatitis: identification
ofaetiological and predisposing factors - a large cohort. J Oral Rehabil. 2007. 34(6): 448-55.
5.Waters MG, Williams DW, Jagger RG, et al. Adherence of Candida albicans to experimental denture soft lining materials. J Prosthet Dent. 1997;77(3): 306-12.
6.Yildirim MS, Hasanreisoqlu U, Hasirci N, et al. Adherence of Candidaalbicans to glow-discharge modified acrylic denture base polymers. J Oral Rehabil. 2005;32(7):518-25.
7.Lamfon H, Porter SR, McCullough M, et al. Susceptibility of Candida
albicans biofilms grown in a constant depth film fermentor to chlorhexidine, fluconazole and miconazole: a longitudinal study. J Antimicrob Chemother. 2004;53(2): 383-5.
8.Samaranayake LP, McCourtie J, MacFarlane TW. Factors affecting th in-vitro
adherence of Candida albicans to acrylic surfaces. Arch Oral Biol. 1980;25(8-9): 611-5.
9.Nikawa H, McCourtie J, MacFarlane TW. Candidaalbicans colonization onthermal cycled maxillofacial polymeric materials in vitro. J of Oral Rehabilitation 2001;28:526-33.
10. Williams DW, Kuriyama T, Silva S, et al. Candidda biofilms and oral candidosis: treatment and prevention. Periodontol 2000. 2011; 55:250-65.
11.Evren BA, Uludamar A, lseri U, et al. The asspcoatopmbetweemspcopecpmp, ocstatis, oral hygiene practice, denture stomatitis and oral status in elderly people living different residential homes. Arch Gerontol Geriatr. 2011; 53: 252-7.
12. Shulman JD, Rivea-Hidalgo F, Beach MM. Risk factors associated with denture stomatitis in the United States. J Oral Pathol Med. 2005; 34(6): 340-6.
13. Kossioni AE. The prevalence of denture stomatitis and its predisposing conditions in an older Greek population.Gerodontoloty. 2011; 28: 85-90.
14. Sakar O, Sulun T, Bilhan H, et al. Does the presence of anterior mandibular teeth increase the incidence of denture stomatitis?. J Prosthodont. 2013; 22:174-8.
15.da Silva HF, Martins-Filho PR, Piva MR. Denture-related oral mucosal lesions among farmers in a semi-arid Northeastern Region of Brazil. Med Oral Patol Oral Cir Bucal. 2011;16:e740-e744.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์