คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ชวนนท์ อิ่มอาบ พ.บ., สม.ม., อว. สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์ โรงพยาบาลวัดเพลง จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, การทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว, การสนับสนุนทางสังคม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ : 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จำแนกตามอายุ เพศ การศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ ภาระหนี้สิน และการมีโรคประจำตัว และ 3) ศึกษาว่าการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวและการสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี

          วิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงวิเคราะห์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่อาศัยอยู่ในอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี จำนวน 339 คน ทำการสุ่มโดยการแบ่งชั้น (stratified random sampling) ตามสัดส่วนประชากรจำแนกตามตำบลและอายุ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การทดสอบ oneway analysis of variance และ stepwise multiple regression analysis

          ผลการศึกษา : คุณภาพชีวิตภาพรวมของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 97.6 ( =79.30)  เมื่อจำแนกตามอายุ  สถานภาพสมรส และรายได้  ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวสามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ได้ร้อยละ 28.2 และสมการที่ได้จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          สรุป : การทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวสามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรีได้ ดังนั้นควรส่งเสริมการทำกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้มีการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว และแนะนำให้ความรู้ในการประกอบอาชีพเสริมที่ผู้สูงอายุสามารถทำได้ไม่ยากเกินไป

References

1. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, บรรณาธิการ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ; ทีคิวพีการพิมพ์: 2551.
2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2557.
3. สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. คู่มือการปฏิบัติงานของ อผส. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ; 2557.
4. World Health Organization. Programme on mental health: WHOQOL measuring quality of life [Internet]. Geneva: 1997 [cited 2018 Nov 15]. Available from: https://www.who.int/ mental_health/media/68.pdf.
5. จีราพร ทองดี, ดาราวรรณ รองเมือง, ฉันทนา นาคฉัตรีย์. ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. 2555;22(3):88-99.
6. Garin N, Olaya B, Moneta VM, et al. Impact of multi morbidity on disability and quality of life in the Spanish older population. PLoS ONE. 2014;9(11):1-12.
7. Liu H, Han C, Xiao, Q et al. Family structure and quality of life of elderly in rural China: the role of the new rural social pension. Aging Soc Policy. 2015;27(2):123–38.
8. Onunkwor FO, Al-Dubai R A S, George P et al. A cross-sectional study on quality of life among the elderly in non-governmental organizations’ elderly homes in Kuala Lumpur. Health and Quality of Life Outcomes 2016;14(6):1-10.
9. Van NT, Van NH, Duc NT, et al. Difference in quality of life and associated factors among the elderly in rural Vietnam. J Prev Med Hyg. 2017;58(1):E63-E71.
10. Talarska D, Tobis S, Kotkowiak M, et al. Determinants of quality of life and the need for support for the elderly with good physical and mental functioning. Med Sci Monit 2018;24:1604-13.
11. ภัทรพงษ์ เกตุคล้าย, วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น. 2555;19(2):55-64.
12. มุทิตา วรรณชาติ, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, และคณะ. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสารณสุขศาสตร์. 2558; 45(ฉบับพิเศษ):18-29.
13. เสน่ห์ แสงเงิน, ถาวร มาต้น, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตชุมชนชนบท จังหวัดสุโขทัย. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาตินเรศวรวิจัย ครั้งที่ 13 วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม 2560; 20-21 กรกฏาคม 2560; ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก; 2560.
14. กิตติวงค์ สาสวด. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก. วารสารชุมชนวิจัย. 2560;11(2):21-38.
15. Tiraphat S, Peltzer K, Thamma-Aphiphol K, et al. The role of age-friendly environments on quality of life among Thai older adults. Int J Environ Res Public Health. 2017;14(3):282.
16. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. ข้อมูล Health Data Center [อินเตอร์เน็ต] 2561. [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rbpho.moph.go.th/hdc.php
17. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2543.
18. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, และคณะ. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2541.
19. อภิรัติ พูลสวัสดิ์. การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพ: 2562 [เข้าถึงเมื่อ 23 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.gj.mahidol.ac.th/th/wp-content/uploads/conference/2560/change.Pdf
20. วนัญญา แก้วแก้วปาน. สัมพันธภาพครอบครัวกับปัญหาการกระทำความผิดในวัยรุ่น. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 2560;10(1):361-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-03