ความชุกของโรคความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17

ผู้แต่ง

  • เอก อัศวโรจน์พงษ์ พ.บ., ว.ว. จิตเวชศาสตร์ กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ความชุก, โรคความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม

บทคัดย่อ

ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมีจำนวนผู้ที่ถูกนัดมารับบริการทางจิตเวชเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีการศึกษาข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมอย่างเป็นระบบในเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาหาความชุกของโรคความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมของผู้ที่มารับบริการในโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17

วิธีการศึกษา:เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยทำการเก็บข้อมูลย้อนหลังเพื่อศึกษาหาความชุกของโรคความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมของผู้ที่มารับบริการในโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการในระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2561 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงโดยพยาบาลคัดกรองและได้รับการตรวจยืนยันวินิจฉัยโดยจิตแพทย์

ผลการศึกษา:จากจำนวนประชากรตัวอย่าง 60,580 ราย พบผู้ที่เป็นโรคความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมทั้งสิ้นจำนวน 613 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.0 ของประชากรทั้งหมด และพบความชุกของโรคความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในผู้ที่มารับบริการมากสุด 10 อันดับแรก ดังนี้ 1.schizophrenia (ร้อยละ 0.2) 2.tobacco use disorder (ร้อยละ 0.2) 3.alcohol use disorder (ร้อยละ 0.2) 4.stimulant use disorder (ร้อยละ 0.2) 5.depressive disorder (ร้อยละ 0.1) 6.dementia (ร้อยละ 0.1) 7.mixed anxiety and depressive disorder (ร้อยละ 0.1) 8.other nonorganic psychotic disorders and unspecified nonorganic psychosis (ร้อยละ 0.1) 9.psychological and behavioral factors associated with disorders or diseases classified elsewhere (ร้อยละ 0.1) 10.other organic mental and behavioral disorders (ร้อยละ 0.1)

สรุป: จากผลลัพธ์ที่พบความชุกของโรคความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมอื่นนอกเหนือจากโรคจิตเภทที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการศึกษาอื่น อาจสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการเข้าถึงบริการทางจิตเวชที่ยังมีอยู่ในโรคความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมอื่นนอกเหนือจากโรคจิตเภท

 

References

1. The Lancet Commission on Global Mental Health and Sustainable Development.Inaction on Mental Health Crisis Will Cost World $16 Trillion by 2030 [internet]. 2018 [cited 2019 May 24]. Available from: URL: https://globalmentalhealthcommission.org/wp-content/uploads/2018/10/Lancet-Commission-on-Global-Mental-Health-Press-Release.pdf
2. Christopher JL, Lopez AD.The Global Health Statistics.World Health Organization 1996.
3. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561-2580). นนทบุรี: กรุมสุขภาพจิต; 2559. .
4. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. รายงานสถานการณ์สุขภาพพ.ศ. 2559[อินเตอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2562].เข้าถึงได้จาก URL: https://www.nationalhealth.or.th/sites/default/files/upload_files/Health%20Situation%20Report%20_2559.pdf
5. โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17.เอกสารรายงานการเยี่ยมสำรวจเพื่อต่ออายุการรับรองกระบวนการคุณภาพตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฯ. ห้องประชุมห้องประชุมฯพณฯบรรหาร ศิลปอาชา ชั้น 7 อาคารอำนวยการ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17.สุพรรณบุรี; 2562.
6. โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17. (2561). [Computer File].ข้อมูลสถิติของจำนวนผู้ที่ถูกนัดมารับบริการที่แผนกจิตเวช พ.ศ.2552-2561
7. มาร์วิน โฟร์สะโตน, ฝน แสงสิงแก้วและคณะ. การสํารวจคนไข้จิตเวชที่แม่สะเรียง. วส.จิต พ.ท. 2522;24(3) :225-59.
8.อนุรักษ์ บัณฑิตย์ชาติ และคณะ. ระบาดวิทยาของความผิดปกติทางจิตของประชาชนไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2544;46(4):335-343.
9. พิเชฐ อุดมรัตน์. ระบาดวิทยา. ใน: พิเชฐ อุดมรัตน์, สรยุทธ วาสิกนานนท์, บรรณาธิการ. ตำราโรคจิตเภท สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์, 2552: 28.
10. Andrade LH, Wang YP, Andreoni S, et al. Mental disorders in megacities: findings from the Sao Paulo megacity mental health survey, Brazil.Plos One. 2012; 7:e31879.
11. Phillips MR, Zhang J, Shi Q, et al. Prevalence, treatment, and associated disability of mental disorders in four provinces in China during 2001-05: an epidemiological survey. Lancet 2009; 373(9680):2041-53.
12. จิระ สีตสุวรรณ, วันเพ็ญ บุญประกอบ, สมศรี ณ ระนอง, สมพร บุษราทิจ, ระบาดวิทยาของโรคทางจิตเวชในอําเภอบางกอกน้อย : รายงานเบื้องต้น. วส. จิต พ.ท. 2519;21(1):1-7.
13. ส่งศรี จัยสิน และคณะ. การสํารวจสภาวะสุขภาพจิตของประชาชนในจังหวัดชลบุรี. วารสารกรมการแพทย์ 2528; 10:247-59.
14. ธรณินทร์ กองสุข, แก้วศรี จาตกานนท์ และคณะ. การสํารวจทางระบาดวิทยาของโรคจิตเวชในจังหวัดเลย. ประชุมวิชาการประจําปีของสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, โรงแรมเซนทรัลพลาซ่า.กรุงเทพ; 2534.
15. กรมสุขภาพจิต : รายงานการวิจัยเรื่องการสํารวจทางระบาดวิทยาของความผิดปกติทางจิตและความรู้เจตคติ ทักษะการปฏิบัติงานเกี่ยวกับสุขภาพจิตของประชาชนในเขต กรุงเทพฯ; 2540.
16.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ และคณะ. ความชุกของโรคจิตเวชในประเทศไทย : การสำรวจระดับชาติ ปี 2546. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2547;12(3):177-188.
17. วรกช นิธิกุล. การศึกษาความเครียดของญาติผู้ป่วยจิตเภท[วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา]. บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2535.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-03