ผลของโปรแกรมท่าศาลาในการเสริมสร้างสมรรถนะทางกายเพื่อลดความเสี่ยงจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ชิดชนก ศิริวิบุลยกิติ พ.บ., อว.สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
  • กุลนาถ มากบุญ ภ.บ., (ภม.), วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • จุฬาลักษณ์ คำเจริญ วท.บ. (กายภาพบำบัด) โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมท่าศาลากับผู้สูงอายุในการเสริมสร้างสมรรถนะทางกาย เพื่อลดความเสี่ยงจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

          วิธีการศึกษา:การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรที่มีอายุ 60-70 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ในตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี และได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 27คน โดยมีขั้นตอนการวิจัยคือ 1) พัฒนาโปรแกรมท่าศาลาโดยสหวิชาชีพ 2) พัฒนาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อเป็นพี่เลี้ยง (buddy) ให้กับกลุ่มตัวอย่าง 3) พัฒนาสื่อที่เข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย และ 4) การนำโปรแกรมไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนาซึ่งใช้อธิบายข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างและความพึงพอใจ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ paired sample t-test ซึ่งใช้ประเมินก่อนและหลังการเข้าโปรแกรมในด้านความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มด้วย Thai Falls Risk Assessment Test (Thai-FRAT) การทรงตัวและความแข็งแรงกล้ามเนื้อด้วย Berg Balance Scale (BBS) และ Timed Up and Go Test (TUGT)

          ผลการศึกษา: พบว่า ผลการประเมินความเสี่ยงในการหกล้มโดย Thai-FRAT ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) นอกจากนี้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการทรงตัวซึ่งประเมินโดย BBS และ TUGT มีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤.001 และ p<0.05 ตามลำดับ) ส่วนความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อภาพรวมของโครงการคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง คือ 4.90 (SD =0.27)

          สรุป: โปรแกรมท่าศาลาซึ่งพัฒนาโดยสหวิชาชีพสามารถลดความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้มและเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการทรงตัวของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น ดังนั้น สามารถขยายผลโดยการนำไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นในอนาคต

References

1. อายุรแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์กรุงเทพ. สถิติการหกล้มในผู้สูงอายุ.(อินเทอร์เนต)
2559 [เข้าถึงเมื่อ30 มีนาคม 2562]; เข้าถึงได้จาก: https://longgoodlife.com/article_detail.php?id=7.
2. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2556. นนทบุรี: เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์; 2558.
3. คมชัดลึก. สพฉ.เปิดสถิติการเจ็บป่วยฉุกเฉินของผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม2562]; เข้าถึงได้จาก: www.posttoday.com
4. สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, มงคล ณ สงขลา, นภาพร ชโยวรรณ, และคณะ. หกล้มและปัจจัยร่วม : การสำรวจระดับชาติในประชากรสูงอายุไทย. จดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. 2542; 81(4): 233- 42.
5. Assantachai P,Praditsuwan R,Chatthanawaree W, et al. Risk factors for fall in the Thai elderly in an urban community. J Med Assoc Thai. 2003; 86(2): 124-30.
6.Boongrid C, KeesukphanP,Phiphadthakusolkul S, Rattananasiri S, Thakkinstian A. Effects of a simple home-based exercise program on fall prevention in older adults: A 12-month primary care setting, randomized controlled trial. GeriatrGerontol Int 2017.
7. ฐานข้อมูล Hos XP . โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี. เข้าถึงเมื่อ1 เมษายน 2562.
8. ภาวิณี วิไลพันธ์, ณภัทรารัตน์ เทพแก้ว. การออกกำลังกาย 5 ท่า เพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุจังหวัด
ลพบุรี. การประชุมวิชาการประจำปี 56 คณะแพทย์ศาสตร์ มศว. Patient Safety; 3-4 กุมภาพันธ์ 2557; มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
9.ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎ
อุบลราชธานี; 2543.
10.Thiamwong L, Thamarpirat J, Maneesriwongul W, et al. Thai falls risk assessment
Test. (Thai-FRAT) developed for community-dwelling Thai elderly. J Med Assoc Thai.
2008; 91(12): 1823-31.
11. Berg KO, Wood-Dauphinee SL, Williams JI, et al. Measuring balance in
elderly: preliminary development of an instrument. Phys Ther Can. 1989; 41: 304-11.
12. Podsiadlo D, Richardson S. The timed “Up & Go”:a test of basic function mobility for frail elderly persons. J Am Geriatric Soc. 1991;39: 142-8.
13. ชุติมา ชลายนเดชะ. คัดกรองการล้มด้วย Timed Up and Go Test (TUG). วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2557;1:6-13.
14. จิตติมา บุญเกิด, บรรณาธิการ. การหกล้มในผู้สูงอายุ การป้องกันและดูแลรักษาทางเวชศาสตร์ครอบครัว. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์; 2561.
15. Mazzeo RS,Cavanagh P,Evans WJ, et al. Position stand exercise and physical activity for older adults. Med Sci Sports Exerc. 1998;30:992-1008.
16.Paterson DH, Jones GR,Ric CL. Ageing and physical activity:evidence to develop exercise recommendations for older adults. Appl PhysiolNutrMetab2007:32 (suppl 2F):S75-S171.
17. ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์, ญาศิณี เคารพธรรม. สื่อกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจ
บัณฑิตย์. 2560; 2: 369-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-03