ประสิทธิผลของการใช้สมาธิบำบัดแบบ SKT ต่อระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์ธัญศา ยิ่งยงเมธี พย.ม., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

คำสำคัญ:

สมาธิบำบัดแบบ SKT, ผู้ป่วยเบาหวาน, ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของสมาธิบำบัดแบบ SKT ต่อระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKT เทคนิคที่ 1 และ 3 ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ณ ชุมชนบ้านเกาะหงษ์ ต.ตะเคียนเลื่อน อ.เมือง จ.นครสวรรค์ คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*power ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 30 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) คู่มือการปฏิบัติสมาธิบำบัด SKT เทคนิคที่ 1 และ 3 ที่ประยุกต์มาจากสมาธิบำบัด SKT ของสมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี4 หาความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) มีค่าเท่ากับ 0.92 3) แบบบันทึกพฤติกรรมการปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKT หาความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) มีค่าเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่   ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ paired t-test

ผลการศึกษา: หลังการปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKT เทคนิคที่ 1 และ 3 ต่อเนื่องระยะเวลา 6 สัปดาห์ ระดับน้ำตาลเฉลี่ยในเลือดของกลุ่มตัวอย่างลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สรุป: การปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKT เทคนิคที่ 1 และ 3 ช่วยทำให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง สามารถใช้เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

References

1. สำนักโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อ ปี 2559 - 2561 (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หัวใจขาดเลือด, หลอดเลือดสมอง, หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง) [อินเทอร์เนต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562]; เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13684&tid=32&gid=1-020.

2. กองแผนงาน กรมควบคุมโรค. รายงานผลการดำเนินงานกรมควบคุมโรครอบ 6 เดือน ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 (1 ตุลาคม 2560- 31 มีนาคม 2561). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

3. เทวัญ ธานีรัตน์, แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ, วิกิต ประกายหาญ, และคณะ. แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยการแพทย์ผสมผสาน. นนทบุรี: วี อินดี้ ดีไซน์; 2558.

4. สมพร กันทรดุษฏี เตรียมชัยศรี. การปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเจี้ยฮั้ว; 2556.

5. อรอุมา ปัญญาโชติกุล, สุธินา เศษคง, สุขุมาภรณ์ ศรีวิศิษฐ. ผลของสมาธิบำบัด SKT ในการลดระดับความดันโลหิต ของผู้ที่มารับบริการโรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560; 4(2): 245-55.

6. วรัญญากรณ์ โนใจ, เอกพันธ์ คำภีระ, เฉลิมพล กำใจ, และคณะ. ผลของการปฏิบัติสมาธิบำบัดเพื่อการเยียวยาแบบ SKT ต่อระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561; 19(3): 175-84.

7. อมรรัตน์ แก้วโพนเพ็ก. ผลของการออกกำลังกายร่วมกับสมาธิบำบัดในผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่เป็นโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ตำบลวังสวาบ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2561; 12(2): 265-72.

8.ณัฐธิดา พระสว่าง, รัชนก คชไกร, ยุพา จิ๋วพัฒนกุล. ผลของสมาธิบำบัด นั่งผ่อนคลาย ประสานกายประสานจิตร่วมกับการรักษาแบบเดิมต่อความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ชนิดไม่ทราบสาเหตุในหน่วยบริการปฐมภูมิ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ.2561; 36(1): 33-42.

9. ประชุมพร กวีกรณ์, ภูเบศร์ แสงสว่าง, เนาวรัตน์ ค้าข้าว, และคณะ. รูปแบบการใช้สมาธิบำบัดSKT โดยครู ก เพื่อควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดยโสธร.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย.2559; 6(3): 231-39.

10. สุภาพร แนวบุตร. ผลของการควบคุมระดับคลอเรสเตอรอลโดยใช้เทคนิคสมาธิบำบัด SKT 3. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2562; 12(1): 96-104.

11.จิราภรณ์ นกแก้ว. ผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อสร้างแรงจูงใจในการฝึกโยคะต่อดัชนีมวลกายและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2558.

12.อัจฉรา แสนไชย,ลินจง โปธบาล,ภารดี นานาศิลป์. ผลของการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร. 2554; 38(4): 65-80.

13. ดวงใจ พันธ์อารีวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี.วารสารแพทย์เขต 4-5.2561; 37(4): 294-305.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29