การตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการวินิจฉัยก่อนอายุ 40 ปี

ผู้แต่ง

  • ศิรินุช ธีระธำรงชัยกุล พ.บ., กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

แมมโมแกรม, อัลตร้าซาวด์เต้านม, พยาธิวิทยาคลินิก, มะเร็งเต้านม, อายุน้อยกว่า 40 ปี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านมกับลักษณะทางคลินิกและพยาธิวิทยาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการวินิจฉัยก่อนอายุ 40 ปี ในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

          วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยหญิงที่อายุน้อยกว่า 40 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ทั้งหมด 51 ราย ตั้งแต่กันยายน พ.ศ. 2557 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2562 โดย 39 ราย ได้รับการตรวจทั้งแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านม, 12 ราย ได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมเพียงอย่างเดียว แล้วนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาผลการตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านมกับลักษณะทางคลินิกและพยาธิวิทยา

          ผลการศึกษา: อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยคือ 35 ปี โดยมีเพียง 4 ราย (ร้อยละ 7.8) ที่มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมในญาติลำดับที่หนึ่ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการคลำได้ก้อนที่เต้านม (ร้อยละ 88.2) ผลพยาธิวิทยาที่พบมากที่สุด คือ invasive ductal carcinoma (ร้อยละ 82.3) และเป็นมะเร็งระดับสูงร้อยละ 51 พบว่าอัลตร้าซาวด์เต้านมมีอัตราการตรวจพบมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยอายุน้อยได้ดีกว่าแมมโมแกรม (ร้อยละ 100 และ 92.3) ลักษณะสำคัญที่บ่งชี้ว่าเป็นก้อนมะเร็งเต้านมคือ irregular shape, microlobulated border, hyperdensity ของก้อนจากการตรวจแมมโมแกรม และ hypoechogenicity ของก้อนจากการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม ขนาดของก้อนที่วัดได้จากการตรวจแมมโมแกรมและการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม เมื่อเทียบกับขนาดก้อนที่วัดได้จากพยาธิวิทยา พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

          สรุป: มะเร็งเต้านมในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 40 ปี มักจะมาด้วยการคลำพบก้อนที่เต้านม การตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมเป็นการตรวจหลักที่สำคัญ และพบว่ามีอัตราการตรวจพบเหนือกว่าการตรวจแมมโมแกรมในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมและพบว่าส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี มักจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่า ดังนั้นความตระหนักในผลการตรวจทางรังสีวิทยาและพยาธิวิทยาของมะเร็งเต้านม ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยป้องกันโรค และช่วยให้รังสีแพทย์วินิจฉัยโรคได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น

References

Cholatip W, Lupreechaed A, Lertsittichai P. Ultrasonographic and mammographic findings in malignant tumors of the breast in young women. The Asean Journal of Radiology. 2012: 18(1): 16-25.

Kuhaprema T, Srivatanatul, Attasara P, et al. Cancer in Thailand volume 5. Bangkok: Ministry of public health; 2010: 47-51.

National Cancer Institute Department of Medical Services Ministry of Public health Thailand. Hospital-based Cancer Registry 2018. Bangkok: Information Technology Division National Cancer Institute; 2017: 63-7. (In thai)

Gnerlich JL, Deshpande AD, Jeffe DB, et al. Elevated breast cancer mortality in women younger than age 40 years compared with older women is attributed to poorer survival in early stage disease. J Am Coll Surg. 2009; 208(3): 341-7. doi: 10.1016/j.jamcollsurg.2008.

001.

Durhan G, Azizova A, Önder Ö, et al. Imaging findings and clinicopathologicalr correlation of breast cancer in women under 40 years old. Eur J Breasts health. 2019; 15(3): 147-52.

Eugênio DSG, Souza JA, Chojniak R, et al. Breast cancer diagnosed before the 40 years: imaging findings and correlation with histology and molecular subtype. Appl Cancer Res. 2017; 37(16): 1-7. doi: 10.1186/s41241-017-0019-7.

Berg WA, Gutierrez L, Nessaiver MS, et al. Diagnosis accuracy of mammography, clinical examination, US and MR imaging in preoperative assessment of breast cancer. Radiology. 2004; 233(3): 830-49. doi: 10.1148/radiol.2333031484.

Shaw de Paredes E, Marsteller LP, Eden BV. Breast cancers in women 35 years of age and younger: mammographic findings. Radiology. 1990; 177(1): 117-9. doi: 10.1148/radiology.177.1.2399309.

Magny SJ, Shikhman R, Keppke AL. Breast, Imaging, Reporting and Data System (BI RADS). 5th ed. Island: StatPearls Publishing; 2013.

An YY, Kim SH, Kang BJ, et al. Breast cancer in very young women (< 30 years): Correlation of imaging features with clinicopathological features and immunochemical subtypes. Eur J Radiol. 2015: 84(10): 1894-902. doi: 10.1016/j.ejrad.2015.07.002.

Standford JL, Greenburg RS. Breast cancer incidence in young women by estrogen receptor status and race. Am J Public Health. 1989; 79(1): 71-3. doi: 10.2105/ajph.79.1.71

Kolb TM, Lichy J, Newhouse JH. Comparison of the performance of the screening mammography, physical examination, and breast US and evaluation of factors that influence them: an analysis of 27,825 patient evaluations. Radiology. 2002; 225(1): 165-75. doi: 10.1148/radiol.2251011667.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29