การศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่างของบุคลากรทางการพยาบาล ในโรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • เฉลิมรัฐ มีอยู่เต็ม พ.บ., กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

ปวดหลังส่วนล่าง, บุคลากรทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่างของบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม

          วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากบุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 220 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วยเนื้อ 4 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับงานและท่าทางการทำงาน 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับอาการปวดและแบบสอบถามออสเวสทรีฉบับภาษาไทย 4) แบบสอบถามวัดความเครียด กรมสุขภาพจิต โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ จำนวน ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ไคสแควร์ แมน-วิทนีย์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

            ผลการศึกษา: มีผู้ตอบกลับแบบสอบถาม 203 ชุด (ร้อยละ 92.0) พบว่า เป็นประชากรเพศหญิงร้อยละ 96.1 ค่ามัธยฐานของอายุ เท่ากับ 35.0 ปี ความชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างในช่วงเวลา 12 เดือน ของบุคลากรทางการพยาบาลเท่ากับร้อยละ 65.0 สาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่างเกี่ยวข้องกับการทำงานร้อยละ 72.8 ผลกระทบของอาการปวดหลังส่วนล่างต่อชีวิตประจำวันอยู่ในระดับเล็กน้อยร้อยละ 88.6 แต่ต้องลางานเพราะอาการปวดสูงถึงร้อยละ 11.3 การวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยพหุโลจิสติกส์พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) คือ โรคประจำตัว อาชีพ การทำงานท่าทางไม่เหมาะสมตลอดเวลา การยกของหนัก ความเครียดระดับปานกลาง และความเครียดระดับรุนแรง

            สรุป: ความชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างในบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม อยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่างมีทั้งปัจจัยส่วนตัว ปัจจัยจากการทำงาน และปัจจัยทางด้านจิตใจ ซึ่งผลจากการศึกษาสามารถนำไปใช้การสร้างแนวทางในการป้องกันและลดอัตราการเกิดอาการปวดหลังส่วนล่างในอนาคตต่อไป

References

เอกสารอ้างอิง
1. Lorusso A, Bruno S, L'Abbate N. A Review of Low Back Pain and Musculoskeletal Disorders among Italian Nursing Personnel. Ind health. 2007; 45(5): 637-44. doi: 10.2486/indhealth.45.637.

2. Engkvist IL, Hagberg M, Lindén A, et al. Over-exertion back accidents among nurses' aides in Sweden. Safety Science. 1992; 15(2): 97-108.

3. Budhrani-Shani P, Berry DL, Arcari P, et al. Mind-Body Exercises for Nurses with Chronic Low Back Pain. Nurs Res Pract. 2016; 2016: 1-10. doi: 10.1155/2016/9018036.

4. ศันสนีย์ ศิลปศุภกรวงศ์, วิษณุ กัมทรทิพย์, สันติ อัศวพลังชัย, และคณะ. การศึกษาความชุก ปัจจัยเสี่ยง และผลกระทบของอาการปวดหลังส่วนล่างของพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช. ASEAN J Rehabil Med. 2549; 16: 128-38.

5. Hudson MA. Texas Passes First Law for Safe Patient Handling in America: Landmark Legislation Protects Healthcare Workers and Patients from Injury Related to Manual Patient Lifting. J Long Term Eff Med Implants. 2005; 15(5): 559-66. doi: 10.1615/jlongtermeffmedimplants.v15.i5.80.

6. Akinci AC, Dereli E, Sert H. Low back paın among nurses workıng in Kırklareli and the assocıated factors. Journal of the Acıbadem University of Health Sciences. 2014; 5(1): 70-6.

7. sae-jung S, Hunsawong T, Jirarattanapochai K. Reliability of Thai Version of Oswestry Questionnaire for the Evaluation of Low Back Pain Patients. Srinagarind Med J. 2002; 17(4): 247-53.

8. Fairbank JC, Pynsent PB. The Oswestry Disability Index. Spine (Phila Pa 1976). 2000; 25(22): 2940-52. doi: 10.1097/00007632-200011150-00017.

9. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, พิมมาศ ตาปัญญา. การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง. 2540; 13(2): 1-20.

10. Hignett S. Work-related back pain in nurses J Adv Nurs. 1996; 23(6): 1238-46. Doi: 10.1046/j.1365-2648.1996.13423.x.

11. สุนิสา ชายเกลี้ยง, จันทร์ธรา สมตัว. ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการปวดหลังส่วนล่างในพยาบาลแม่และเด็ก. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2561; 30(3): 277-87.

12. รัญชิดา ภิมาล, วทันยา วงศ์มติกุล. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดหลังส่วนล่างในพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. เวชศาสตร์ร่วมสมัย. 2560; 61(1): 87-93.

13. Saleem A, Jameel H, Idrees M, et al. LOW BACK PAIN. The Professional Medical Journal 2018; 25: 509-13.

14. Strine TW, Hootman JM. US National Prevalence and Correlates of Low Back and Neck Pain Among Adults. Arthritis Rheum. 2007; 57(4): 656-65. Doi: 10.1002/art.22684.

15. Pozzobon D, Ferreira PH, Dario AB, et al. Is there an association between diabetes and neck and back pain? A systematic review with meta-analyses. PLoS One. 2019; 14(2): e0212030. Doi: 10.1371/journal.pone.0212030.

16. Groen Bart BL, Hamer HM, Snijders T, et al. Skeletal muscle capillary density and microvascular function are compromised with aging and type 2 diabetes. J Appl Physiol (1985). 2017; 116(8): 998-1005. Doi: 10.1152/japplphysiol.00919.2013.

17. Teraguchi M, Yoshimura N, Hashizume H, et al. Metabolic Syndrome Components Are Associated with Intervertebral Disc Degeneration: The Wakayama Spine Study. PloS one. 2016; 11(2): e0147565-e. doi: 10.1371/journal.pone.0147565.

18. Venning PJ, Walter SD, Stitt LW. Personal and job-related factors as determinants of incidence of back injuries among nursing personnel. J Occup Med. 1987; 29(10): 820-5.

19. ธีรพร สถริอังกูร. ผู้ช่วยพยาบาล:กำลังคนผสมผสานทางการพยาบาล. วารสารกองการพยาบาล . 2559; 43(2): 1-7.

20. Tosunoz IK, Oztunc G. Low Back Pain in Nurses. International Journal of Caring Sciences 2014; 10(3): 1728-32.

21. Engels JA, Gulden van der JW, Senden TF, et al. Work related risk factors for musculoskeletal complaints in the nursing profession: results of a questionnaire survey. Occup Environ Med. 1996; 53(9): 636-41. doi: 10.1136/oem.53.9.636.

22. Occupational Safety and Health Administration. Safety and health topics: ergonomics - identify problems [Internet]. 2016 [cited 2016 Nov 20]. Available from: https://www.osha.gov/SLTC/ergonomics/identifyprobs.html.

23. Feyer AM, Herbison P, Williamson AM, et al. The role of physical and psychological factors in occupational low back pain: a prospective cohort study. Occup Environ Med. 2000; 57(2): 116-20. Doi: 10.1136/oem.57.2.116.

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29