ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลนครปฐมในยุคการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)

ผู้แต่ง

  • วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล พ.บ., วท.ม., กลุ่มงานอาชีวกรรม โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

ปัญหาทางสุขภาพจิต, บุคลากรทางการแพทย์, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลนครปฐมในยุคที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)

วิธีการทำวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาณช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลนครปฐมจำนวน 516 คนเครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วยเนื้อหา 4 ส่วนได้แก่ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) ปัจจัยจากงาน 3) ด้านความกังวลต่อโรคโควิด-19 4) แบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต Thai GHQ-28วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยความถี่และร้อยละใช้สถิติmultiple logistic regressionในการวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยต่างๆโดยมีodds ratio เป็นตัวชี้วัดความสัมพันธ์ เก็บข้อมูลระหว่างเดือน พฤษภาคมพ.ศ.2563

ผลการศึกษา: มีการตอบกลับแบบสอบถาม 448 ชุด (ร้อยละ 86.8) พบความชุกของปัญหาทางสุขภาพจิตในกลุ่มตัวอย่างร้อยละ10.0 กลุ่มตัวอย่างมีความกังวลถึงกังวลเป็นอย่างมากต่อโรคโควิด 19 ในด้านต่างๆอยู่ในช่วงร้อยละ 38.0-47.1โดยพบว่า มีความกังวลในด้านความเพียงพอของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลมากที่สุด (ร้อยละ47.1)รองลงมาคือความกังวลว่าครอบครัวอาจจะติดโรคโควิด-19 จากตนเอง (ร้อยละ 46.8) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัญหาสุขภาพจิตได้แก่เพศชายรายได้ไม่เพียงพอและเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยตรง

สรุป: ความชุกของปัญหาทางสุขภาพจิตไม่มากกว่าการศึกษาของประเทศไทยก่อนหน้าการระบาด และน้อยกว่าการศึกษาปัญหาของสุขภาพจิตในช่วงที่มีการระบาดของต่างประเทศอย่างไรก็ตาม การคัดกรองผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงและวางแนวทางในการช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงอาจจะช่วยป้องกันปัญหาทางสุขภาพจิตในช่วงที่มีการระบาดได้

References

เอกสารอ้างอิง
1.Hui DS, I Azhar E, Madani TA, Ntoumi F, Kock R, Dar O, et al. The continuing 2019-nCoV epidemic threat of novel coronaviruses to global health-The latest 2019 novel coronavirus outbreak in Wuhan, China. Int J Infect Dis. 91: 264–66. .

2.Cucinotta D, Vanelli M. WHO Declares COVID-19 a Pandemic. Acta bio-medica : Atenei Parmensis. 2020;91(1):157-60.

3.C Elizabeth. "Thailand confirms first case of Wuhan virus outside China" [internet]. China: South China Morning Post; 2020 [cited 2020 Apr 11]. Available from: https://www.scmp.com/news/hong-kong/health-environment/article/3045902/wuhan-pneumonia-thailand-confirms-first-case. .

4.องค์กรอนามัยโลกประเทศไทย. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย – 6 เมษายน 2563. [cited 2020 Apr 6]. Available from: https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/situation-reports.

5.สำนักงานจังหวัดนครปฐม. นครปฐม ชี้แจงสถานการณ์ COVID-19 ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ ขอความร่วมมือปฏิบัติตามประกาศมาตรการผ่อนปรนอย่างเคร่งครัด ไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำ [Internet]. Available from: http://www.nakhonpathom.go.th/gallery/detail/1277 [cited 2020 May 21].

6.กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงาน ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ ผู้ประสบภาวะวิกฤตในกรณีการระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 11 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จากhttps://www.dmh.go.th/covid19/pnews/view.asp?id=1.

7.Gold JA. Covid-19: adverse mental health outcomes for healthcare workers. BMJ (Clinical research ed). 2020;369:m1815.

8.Nickell LA, Crighton EJ, Tracy CS, Al-Enazy H, Bolaji Y, Hanjrah S, et al. Psychosocial effects of SARS on hospital staff: survey of a large tertiary care institution. CMAJ : Canadian Medical Association journal = journal de l'Association medicale canadienne. 2004;170(5):793-8.

9.Dai Y, Hu G, Xiong H, Qiu H, Yuan X. Psychological impact of the coronavirus disease 2019 (COVID-19) outbreak on healthcare workers in China. medRxiv 2020.03.03.20030874 [Preprint]. 2020.

10.Du J, Dong L, Wang T, Yuan C, Fu R, Zhang L, et al. Psychological symptoms among frontline healthcare workers during COVID-19 outbreak in Wuhan. General hosp psychiatry. 2020.

11.Li G, Miao J, Wang H, Xu S, Sun W, Fan Y. Psychological impact on women health workers involved in COVID-19 outbreak in Wuhan: a cross-sectional study. J Neurol Neurosurg Psychiatry. 2020.

12.Chung JPY, Yeung WS. Staff Mental Health Self-Assessment During the COVID-19 Outbreak. East Asian archives of psychiatry : official journal of the Hong Kong College of Psychiatrists. East Asian Arch Psychiatry 2020;30(1):34.

13.Dai Y, Hu G, Xiong H, Qiu H, Yuan X. Psychological impact of the coronavirus disease 2019 (COVID-19) outbreak on healthcare workers in China. medRxiv 2020. [epub ahead of print].

14.Nilchaikovit T, Sukying C, Silpakit C. Reliability and validity of the Thai version of the General Health Questionaire. J Psychiatr Assoc Thailand 1996 ; 41(1) : 2-17.

15.ทิพากร สายเพ็ชร. ความเครียดจากการทำงานและภาวะสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนครนายก ประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.

16.จิริสุดา ธานีรัตน์. ความชุกและปจจัยที่เกี่ยวของกับความเครียดจากงานของบุคลากรในโรงพยาบาลปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.

17.Lai J, Ma S, Wang Y, Cai Z, Hu J, Wei N, et al. Factors Associated With Mental Health Outcomes Among Health Care Workers Exposed to Coronavirus Disease 2019. JAMA network open. 2020;3(3):e203976.

18.Kisely S, Warren N, McMahon L, Dalais C, Henry I, Siskind D. Occurrence, prevention, and management of the psychological effects of emerging virus outbreaks on healthcare workers: rapid review and meta-analysis. BMJ 2020;369:m1642.

19.Luo M, Guo L, Yu M, Jiang W, Wang H. The psychological and mental impact of coronavirus disease 2019 (COVID-19) on medical staff and general public - A systematic review and meta-analysis. Psychiatry research. 2020;291:113190.

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29