การเปรียบเทียบผลต่างของระดับฮีโมโกลบินก่อนและ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการเปิดสายระบายเลือดที่ 2 ชั่วโมงและที่ 6 ชั่วโมงหลังผ่าตัด

ผู้แต่ง

  • วโรดม ลิ้มศรีเจริญ พ.บ., วว. ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, ระดับความเข้มข้นของเลือดการเปิดสายระบายเลือด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลต่างของระดับฮีโมโกลบินก่อนและ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดปริมาณเลือดในขวดระบายเลือด ปริมาณการให้เลือดทดแทนที่ 24 และ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัดในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมทีได้รับการเปิดสายระบายเลือดที่ 2 ชั่วโมงและที่ 6 ชั่วโมงหลังผ่าตัด

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่ม เปรียบเทียบ 2 กลุ่ม อำพรางฝ่ายเดียว (randomized single blind study) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเก็บข้อมูลที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อชายหรือหญิงและหอผู้ป่วยพิเศษ บจศ. 5 ชั้น (ชั้น 4 – 5) โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งแต่เดือนเมษายน–กันยายน พ.ศ. 2560 กลุ่มตัวอย่าง 100 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 ได้รับการเปิดสายระบายเลือดที่ 2ชั่วโมงหลังผ่าตัด จำนวน 42 คน และกลุ่มที่ 2 ได้รับการเปิดสายระบายเลือดที่ 6 ชั่วโมงหลังผ่าตัด จำนวน 58 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS version 16 สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มด้วย unpaired t-test และ chi square test

ผลการศึกษา: ผลต่างของระดับฮีโมโกลบินก่อนและ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด และปริมาณการให้เลือดทดแทนที่ 24 และ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการเปิดสายระบายเลือดที่ 2 และ 6 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนปริมาณเลือดในขวดระบายเลือดที่ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการเปิดสายระบายเลือดที่ 2ชั่วโมงหลังผ่าตัด มีค่าเฉลี่ย 532.62 ml (SD 244.61 ml) และ 6 ชั่วโมงหลังผ่าตัด มีค่าเฉลี่ย 303.62 ml (SD 146.36 ml) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

สรุป: ไม่พบความแตกต่างของระดับฮีโมโกลบินก่อนและ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการเปิดสายระบายเลือดที่ 2 และ 6 ชั่วโมงหลังผ่าตัด แต่พบว่า ปริมาณการสูญเสียเลือดที่ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยที่ได้รับการเปิดสายระบายเลือดที่ 6 ชั่วโมงหลังผ่าตัดมีปริมาณน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการเปิดสายระบายเลือดที่ 2 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ซึ่งเป็นผลจากการบีบรัด (tamponade effect)

References

เอกสารอ้างอิง
1. สุรศักดิ์ นิลกานุวงศ์, สุรวุฒิ ปรีชานนท์. โรคข้อเสื่อม(Degenerative Joint Diseases). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:เอส พี เอ็น การพิมพ์; 2548.

2. ศิวดล วงค์ศักดิ์, วิโรจน์ กวินวงค์โกวิท. Preoperative Evaluation and Planning.ใน: สีหธัช งามอุโฆษ, สาธิต เที่ยงวิทยาพร, อารี ตนาวลี,บรรณาธิการ. ตำราศัลยศาสตร์ข้อเข่าเทียม. กรุงเทพฯ:โฮลลิสติก พับลิชชิ่ง; 2558: 142-58.

3. Lui D, Dan M, Martos SM, et al. Blood Management Strategies in Total Knee Arthroplasty. Knee Surg Relat Res. 2016;28(3): 179-87.

4. Stucinskas J, Tarasevicius S, Cebatorius A, et al.Conventional drainage versus four hour clamping drainage after total knee arthroplasty in severe osteoarthritis: a prospective, randomized trail. International Orthopaedics. 2009; 33(5): 1275-78.

5. Yildiz C, Koca K, Kocak N, et al. Late Tourniquet Release and Drain Clamping Reduces Postoperative Blood Loss in Total Knee Arthroplasty. HSSJ.2014;10:2-5.

6. ชัยพร ทีฆเสนีย์,วีรชัย โควสุวรรณ.การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณการสูญเสียเลือดหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมระหว่างการหนีบท่อระบายเลือด 1 ชั่วโมงและการไม่หนีบท่อระบายเลือด. ศรีนครินทรเวชสาร. 2557;29(4): 329-33.

7. Prasad N, Padmanabhan V. Mullaji A. Comparison between two methods of drain clamping after total knee arthroplasty. Arch Orthop Trauma Surg. 2007; 125: 381-4.

8. TsumaraN, Yoshiya S, Chin T, et al. A prospective comparison of clamping the drain or postoperative salvage of blood in reducing blood loss after total knee arthroplasty. J Bone Joint Surg Br.2006; 88(1): 49–53.

9. Tai TW, Yang CY, Jou IM, et al. Temporary drainage clamping after total knee arthroplasty A meta analysis of randomized controlled trials. The journal of arthroplasty. 2010; 25(8): 1240-5.

10. PornrattanamaneewongC, NarkbunnamR, SiriwattanasakulP, et al. Three-hour interval drain clamping reduces postoperative bleeding in total knee arthroplasty: a prospective randomized controlled trial. Arch Orthop Trauma Surg. 2012;132: 1059–63.

11. ChareancholvanichK, SiriwattanasakulP. Tranexamic Acid Reduces Blood Loss and Blood Transfusion after TKA: A Prospective Randomized Controlled Trial. Clin OrthopRelat Res.2011;469: 2874-80.
12. Yaddanapudi S, Yaddanapudi LN. Indications for blood and product transfusion. Indain J Anaesth. 2014 Sep-Oct; 58(5): 538-542.

13. ธานินทร์ ศิลป์จารุ.การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS.พิมพ์ครั้งที่ 10.นนทบุรี: เอส. อาร์. พริ้นติ้งแมสโปรดักส์; 2552.

14. วัฒนชัย โรจน์วณิชย์.โรคข้อเสื่อมและข้ออักเสบ(Osteoarthritis and Inflamatory Joint Diseases). ใน:ภานุพันธ์ ทรงเจริญ,บรรณาธิการ.ตำราออร์โธปิดิกส์ เล่ม 2 (Textbox of Orthopaedics 2).กรุงเทพฯ:มีเดียเพรส;2554.77-97.

15. Raleigh E, Hing CB, Hanusiewich AS, et al. Drain clamping in knee arthroplasty, A randomized controlled trial. ANZ J Surg.2007;77:333-5.

16. จุมพล ฟูเจริญ.ผลการปิดท่อระบายเลือดสองชั่วโมงหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์.วารสารแพทย์เขต 4-5.2553;29(4): 497-503.

17. Shen PC, Jou IM, Lin YT, Lai KA, Yang CY,CHern TC.Comparison between 4-hour Clamping drainage and Non clamping Drainage after Total Knee Arthroplasty. J Arthroplasty.2005; 20: 909–13.

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29