การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ศุภา เพ็งเลา พย.บ., วท.ม. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:เพื่อพัฒนา และประเมินผลลัพธ์หลังการใช้ระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตที่พัฒนาขึ้น โรงพยาบาลโพธาราม

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D)ประกอบด้วย 6 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์การบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต ระยะที่ 2 ดำเนินการพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลโพธารามระยะที่ 3 ดำเนินการนำระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตไปทดลองใช้ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงระยะที่ 4 ประเมินผลและปรับปรุงระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะที่ 5 ดำเนินการนำระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต ที่ปรับปรุงแล้วไปใช้จริงในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงและหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายระยะที่ 6 ประเมินประสิทธิผลของระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายและหอผู้ป่วยอายุกรรมหญิงจำนวน 255 ราย คัดเลือกแบบเจาะจง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มก่อนพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต จำนวน 120 ราย คัดเลือกผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตที่เข้ารับการรักษา ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2562 และกลุ่มหลังพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต ที่เข้ารับการรักษาในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 จำนวน 135 ราย และกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรม จำนวน 31 คน ศึกษาระหว่างเดือน พฤศจิกายน2562 ถึงเดือนมิถุนายน2563 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสโลหิตของโรงพยาบาลโพธาราม  แบบประเมินการปฏิบัติของพยาบาลที่มีค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ 0.62 แบบนิเทศทางการพยาบาลที่มีค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ 0.90 และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลที่มีค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) และ Chi-Square test

ผลการศึกษา: พบว่าระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ได้จริง ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต ลดลงจากร้อยละ36.70 เหลือร้อยละ32.60 และอัตราการเกิดภาวะ Septic Shock ลดลงจากร้อยละ46.70เหลือร้อยละ39.30 ผลลัพธ์ด้านการพยาบาลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อัตราของผู้ป่วยที่ได้ยาปฏิชีวนะ ภายใน 1 ชั่วโมง หลังการวินิจฉัย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 96.70 เป็นร้อยละ 100 (x2- test = 4.57, p = .04) ผลการนิเทศกระบวนการพยาบาลหลังพัฒนาระบบบริการพยาบาลที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตโดยรวมานเกณฑ์ร้อยละ80 ขึ้นไป ร้อยละ 96.77 ผลการประเมินการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตของพยาบาลโดยรวมานเกณฑ์ร้อยละ80 ขึ้นไป ร้อยละ 100และพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตที่พัฒนาขึ้นในระดับมากขึ้นไป ร้อยละ 93.54

สรุป:การพัฒนาระบบบริการพยาบาลที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต จากการศึกษาในครั้งนี้ มีประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วย ควรขยายผลของการพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะโรค ประยุกต์ใช้กับการพยาบาลผู้ป่วยโรคอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่ดี และมีคุณภาพมากขึ้น

References

1.Angus DC, van der Poll T. Severe sepsis and septic shock. N Engl J Med. 2013; 369(9): 840-51.Doi: 10.1056/NEJMra1208623.

2.ธนะพันธ์ พิบูลย์บรรณกิจ. Sepsis.ใน: จันทราภา ศีสวัสดิ์, อัมพา สุทธิจำรูญ, ประเจษฎ์ เรืองกาญจนเศรษฐ์, และคณะ.อายุรศาสตร์ฉุกเฉิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อักษรการพิมพ์;2553. 479 - 87.

3.สุณีรัตน์ คงเสรีพงศ์, ดวงมณี เลาหประสิทธิพร.แนวทางการรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะSevere sepsis/septic shock. กรุงเทพฯ: คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2554.

4.นภาพร อภิรดีวจีเศรษฐ์, พิมพ์จิตร กาญจนสินธุ์. ใน: สุณีรัตน์ คงเสรีพงศ์, ดวงมณี เลาหประสิทธิพร. แนวทางการรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะ Severe sepsis/septic shock. กรุงเทพฯ: คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2554. 42–53.

5.กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2562. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน; 2562. 148-51.
6.Rivers E, Nguyen B, Havstad S, et al. Early goal-directed therapy in the treatment of severe sepsis and septic shock. N Engl J Med.2001;345(19):1368-77. Doi: 10.1056/NEJMoa010307.

7.กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการพัฒนาระบบบริการพยาบาล Service plan.นนทบุรี: สื่อตะวัน;2561.

8.ศูนย์พัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลโพธาราม. รายงานการประเมินตนเอง SAR 2018 ประจำปี 2561. ราชบุรี:โรงพยาบาลโพธาราม; 2561.

9.ฝ่ายแผนงาน โรงพยาบาลโพธาราม. แผนยุทธศาสตร์ โรงพยาบาลโพธาราม ประจำปี 2561. ราชบุรี: โรงพยาบาลโพธาราม; 2561.

10.สมาคมเวชบำบัดวิกฤต. แนวทางปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock. Kidney International Supplement (2012) 2,4; doi:10.1038/kisup.2012.7.

11. สมใจ จันทะวัง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ในงานห้องผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลำพูน วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2560;26(1): 35-46.

12. สมจิต หนุเจริญกุล. การพยาบาล:ศาสตร์ของการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: วีเจพริ้นติ้ง; 2544.

13. วิทยา บุตรสาระ, ยุพนา ลิงลม, และ สำเนียง คำามุข. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม. 2559;17.

14. ฑิตยา วาระนัง. ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเชียงรายเวชสาร. 2562;11(1): 1-8.

15.ภาพิมล โกมล, รัชนี นามจันทรา,วารินทร์ บินโฮเซ็น.คุณภาพการจัดการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสิงห์บุรี. ปริญญานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. 2560.

16. รัฐภูมิ ชามพูนท, ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล, บุญส่ง พัจนสุนทร. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย Severe Sepsis และ Septic Shock: สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. 2558.

17.กรรณิกา อำพนธ์, ชัชญาภา บุญโยประการ, พัชรินทร์ ศิลป์กิจเจริญ. ผลลัพธ์ของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2560; 34(3): 222.

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29