ปัจจัยที่มีผลต่อระดับน้ำตาลสะสม HbA1c ในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 โรงพยาบาลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • จตุภูมิ นีละศรี พ.บ., โรงพยาบาลท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ค่าระดับน้ำตาลสะสม HbA1c, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ปัจจัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับน้ำตาลสะสม HbA1c ในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective descriptive study) กลุ่มตัวอย่าง คือ เวชระเบียนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนและเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เวชระเบียนผู้ป่วย และแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ซึ่งแบ่งเป็น 3ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และ 3) ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย (mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD),     t-test, ANOVA และ Pearson’s product moment

ผลการศึกษา: การเปรียบเทียบค่าระดับน้ำตาลสะสม HbA1c จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล    พบว่า อายุผู้ป่วยที่ต่างกัน มีค่าระดับน้ำตาลสะสม HbA1c แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 60 ปี มีค่าระดับน้ำตาลสะสม HbA1c สูงกว่า ผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 70 ปี ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่มีผล การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างค่าระดับน้ำตาลสะสม HbA1c กับปัจจัยต่างๆ พบว่า จำนวนรายการยาเบาหวาน, ค่าฮีโมโกลบิน, ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์, ค่าน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร, ค่า MCHC, และระดับไขมันคลอเลสเตอรอล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับค่าระดับน้ำตาลสะสม HbA1c (r = .297, r =.147, r =.147, p<.01; r = .605, r =.122, r =.130, p<.05 ตามลำดับ)

สรุป: จากผลการศึกษา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีการจัดกิจกรรมการให้ความรู้ ส่งเสริมการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมในการควบคุมระดับน้ำตาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ป่วยช่วงอายุที่ต่ำกว่า 60 ปี รวมถึงการตรวจดูปัจจัยอื่นๆ นอกจาก HbA1C ที่มีความสัมพันธ์กันจะทำให้สามารถทราบพฤติกรรมของผู้ป่วย และช่วยในการจัดโปรแกรมควบคุมระดับน้ำตาลให้กับผู้ป่วยได้ตรงจุดมากขึ้น

 

References

เอกสารอ้างอิง
1. International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas. 7th ed. Brussels, Belgium: International Diabetes Federation; 2015.

2. International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas. 9th ed. Brussels, Belgium: International Diabetes Federation; 2019.

3. สุรพันธ์ สิทธิสุข. Artherosclerosis ในผู้ป่วยเบาหวาน. ใน: วิทยา ศรีมาดา, บรรณาธิการ. การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน. กรุงเทพฯ: ยูนิตี้พับลิเคชั่น; 2541.

4. Aekplakorn W, Stolk RP, Neal R, et al. The prevalence and management of diabetes in Thai adults: the international collaborative study of cardiovascular disease in Asia. Diabetes Care. 2003; 17(4): 318-21. DOI: 10.2337/diacare.26.10.2758.

5. Chanlalit W. Ocular complications from diabetes mellitus. J Med Health Sci. 2016; 23(2) : 36-45.

6. Sriwijitkamol A , Moungngern Y, Vannaseang S. Assessment and Prevalences of Diabetic Complications in 722 Thai Type 2 Diabetes Patients. J Med Assoc Thai. 2011; 94(Suppl1): S168-74.

7. Sahaworakulsak R. Prevalence of Risk to Developing Diabetic Foot Ulcer. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center. 2013; 30(1): 71-82.

8. Alqahtani N, Khan WA, Alhumaidi MH, et al. Use of Glycated Hemoglobin in the Diagnosis of Diabetes Mellitus and Pre-diabetes and Role of Fasting Plasma Glucose, Oral Glucose Tolerance Test. Int J Prev Med. 2013; 4(9): 1025–9.

9. กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15(3): 256-68.

10 Saiedullah M, Begum S, Shermin S, et al. Relationship of glycosylated hemoglobin with fasting and postprandial plasma glucose in nondiabetic, pre-diabetic and newly diagnosed diabetic subjects. Bangladesh Med J. 2011; 40: 37-8.

11. de Pablos-Velasco P, Parhofer KG, Bradley C, et al. Current level of glycaemic control and its associated factors in patients with type 2 diabetes across Europe: data from the PANORAMA study. Clin Endocrinol. 2014; 80: 47-56.

12. ปกาสิต โอวาทกานนท์. ผลการดูแลรักษาเบาหวานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลทรายมูล. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2554; 26(4): 339-49.

13. ฤทธิรงค์ บูรพันธ์, นิรมล เมืองโสม. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานที่ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2556; 6: 102-9.

14. Nitin S. HbA1c and factors other than diabetes mellitus affecting it. Singapore Med J. 2010; 51(8): 616-22.

15. Abass AE, Musa IR, Rayis DA, et al. Glycated hemoglobin and red blood cell indices in non-diabetic pregnant women. Clin Pract. 2017; 7(4): 999. doi: 10.4081/cp.2017.999.

16. Khan HA, Sobki SH, Khan SA. Association between glycemic control and serum lipids profile in type 2 diabetic patients: HbA1c predicts dyslipidemia. Clin Exp Med. 2007; 7: 24–9. Doi: 10.1007/s10238-007-0121-3.

17. พัชรียา อัมพุธ, สิริมา วงษ์พล, สุดารัตน์ สังฆะมณ. ผลทันทีของการก้าวขึ้นลงกะลามะพร้าวต่อความสามารถในการทรงตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559; 31(6): 372-6.

18. American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes-2018. Diabetes Care. 2018; 41(Suppl 1): S57-9.

19. Liang CC, Tsan KW, Ma SM, et al. The relationship between fasting glucose and HbA1c among customers of health examination services. Formos J Endocrin Metab. 2010; 1: 1-5.

20. Willey CJ, Andrade SE, Cohen J, et al. Polypharmacy with oral antidiabetic agents: an indicator of poor glycemic control. Am J Manag Care. 2006; 12: 435-40.

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29