แรงจูงใจในการเลิกใช้สารเสพติดและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เข้ารับการบำบัดสารเสพติดโรงพยาบาลปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • อรรถพงษ์ ฉัตรดอน พ.บ., โรงพยาบาลปทุมธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมเมทริกซ์, แรงจูงใจในการเลิกสารเสพติด, คุณภาพชีวิต, การบำบัดสารเสพติด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเลิกสารเสพติดและคุณภาพชีวิตก่อนและหลังเข้ารับการบำบัดสารเสพติดด้วยโปรแกรมเมทริกซ์ของผู้เข้ารับการบำบัดสารเสพติด โรงพยาบาลปทุมธานี 

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการบำบัด จากผู้เข้ารับการบำบัดสารเสพติดด้วยโปรแกรมเมทริกซ์ ที่โรงพยาบาลปทุมธานี ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถาม SOCRATES และแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้การทดสอบค่าที

ผลการศึกษา: จากผลการวิจัยคะแนนเฉลี่ย SOCRATES ก่อนและหลังเข้ารับการบำบัด พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านการรู้ตนเองอยู่ในระดับต่ำมากเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง คะแนนเฉลี่ยด้านความลังเลอยู่ในระดับต่ำเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และคะแนนเฉลี่ยด้านการลงมือทำอยู่ในระดับต่ำก่อนเข้ารับการบำบัดและระดับปานกลางหลังเข้ารับการบำบัด คะแนนเฉลี่ยด้านการรู้ตนเองและด้านความลังเลมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ คะแนนเฉลี่ยด้านการลงมือทำและคะแนนรวมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านร่างกายอยู่ในระดับดีทั้งก่อนและหลังการบำบัดไม่เปลี่ยนแปลง คะแนนเฉลี่ยด้านจิตใจอยู่ในระดับดีทั้งก่อนและหลังการบำบัดไม่เปลี่ยนแปลง คะแนนเฉลี่ยด้านสังคมอยู่ในระดับปานกลางทั้งก่อนและหลังเข้ารับการบำบัดไม่เปลี่ยนแปลง ด้านสิ่งแวดล้อมคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางก่อนเข้ารับการบำบัดและระดับดีหลังเข้ารับการบำบัด คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านสังคมและคุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านจิตใจและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป : การบำบัดสารเสพติดด้วยโปรแกรมเมทริกซ์ 16 สัปดาห์ของโรงพยาบาลปทุมธานีมีประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการบำบัดโดย ช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเลิกสารเสพติดและทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

References

1. ระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต].2563 [เข้าถึงเมื่อ 28 ธันวาคม 2563]; เข้าถึงได้จาก: https://antidrugnew.moph.go.th/
2. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. แผนประชารัฐร่วมใจสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนมั่นคง ปลอดภัยยาเสพติด พ.ศ. 2559-2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2563]; เข้าถึงได้จาก: https://www.oncb.go.th/Home/PublishingImages/Pages/ProgramsandActivities/Pracharat_plan%202559-2560.pdf
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี. โครงการพัฒนาการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพและผู้ติดยาเสพติดให้มีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ปีงบประมาณ 2563 [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2563]; เข้าถึงได้จาก: http://164.115.23.235:8080/sms2020/report/v_actionplan_budget_budgetcenter.php?budget_center=2100200081&budget_code=2100205782000000&budget_id=O3095
4. กัณณิกา สิทธิพงษ์. แรงจูงใจในการเลิกยาเสพติดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560; 5(2): 217-38.
5. อมาวสี กลั่นสุวรรณ, นิตยา ตากวิริยะนันท์, ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อพฤติกรรมร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงตนเองของผู้ป่วยเสพติดแอมเฟตามีน ในสถานบำบัดรักษาแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี. วารสารกรมการแพทย์. 2561; 43(1): 90-5.
6. จิรฉัตร ถิ่นไพโรจน์, นวพร หิรัญวิวัฒน์กุล. ผลของการเข้ารับการบำบัดด้วยโปรแกรมเมทริกซ์ต่อคุณภาพชีวิตของ ผู้ป่วยยาเสพติดโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. เวชสารแพทยทหารบก. 2561; 71(1): 3-10.
7. Miller WR, Tonigan JS. Assessing drinkers’ motivation for change: The Stages of Change Readiness and Treatment Eagerness Scale (SOCRATES). Psychology of Addictive Behaviors. 1996; 10(2): 81-9.
8. อรรถพงษ์ ฉัตรดอน, รัศมน กัลยาศิริ. ความชุกของการใช้และการติดสารเสพติด คุณภาพชีวิต และแรงจูงใจการเปลี่ยนแปลงการใช้สารเสพติดของผู้ป่วยนอก แผนกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวุฒิบัตรจิตเวชศาสตร์]. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ , บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
9. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, และคณะ. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด, ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 4; 7-9 กันยายน 2541; โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่; 2540.
10. Prochaska JO, DiClemente CC, Norcross JC. In search of how people change. Applications to addictive behaviours. Am Psychol. 1992; 47(9): 1102-14. doi: 10.1037//0003-066x.47.9.1102.
11. Diclemente CC, Prochaska JO. Self change and therapy change of smoking behavior: A comparison of processes of change in cessation and maintenance. Addict Behav. 1982; 7(2): 133-42. doi: 10.1016/0306-4603(82)90038-7

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29