การเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยาของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยจ่ายกลางของโรงพยาบาล ภายหลังการสัมผัสเอทิลีนออกไซด์ในระดับสูง

ผู้แต่ง

  • ศรัณย์ ศรีคำ พ.บ., วท.ม., โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

เอทิลีนออกไซด์, หน่วยจ่ายกลาง, การเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยา, บุคลากรทางการแพทย์, ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยาของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยจ่ายกลางของโรงพยาบาล ภายหลังการสัมผัสเอทิลีนออกไซด์ในระดับสูง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงสังเกตแบบย้อนหลัง โดยใช้ข้อมูลผลการตรวจสุขภาพประจำปีของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2557-2563 มีกลุ่มวิจัย คือ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยจ่ายกลางของโรงพยาบาล และกลุ่มควบคุม คือ ผู้ปฏิบัติงานในแผนกที่เป็นสำนักงานของโรงพยาบาล จำนวนกลุ่มละ 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ความแตกต่างของข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ เพศ อายุ การสูบบุหรี่ โรคประจำตัว ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ด้วย independent t-test, chi-square test และ Fisher’s exact test และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของผลการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)  ด้วยสถิติ mixed effect linear regression model โดยกำหนดค่าความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05

ผลการศึกษา: ข้อมูลพื้นฐานของทั้งสองกลุ่มมีความใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 58.3) อายุเฉลี่ย กลุ่มวิจัย 43.63 ± 11.06 ปี กลุ่มควบคุม 43.88 ± 9.83 ปี ไม่สูบบุหรี่ (ร้อยละ 87.5) ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ระยะเวลาปฏิบัติงานในแผนกเฉลี่ย กลุ่มวิจัย 11.69 ± 5.41 ปี และกลุ่มควบคุม 15.39 ปี ± 10.16 ปี เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของผลการตรวจ CBC ของกลุ่มวิจัย และกลุ่มควบคุม โดยใช้ mixed effect linear regression model โดยควบคุมปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของเวลา ปรากฏว่า ไม่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของผลการตรวจ ได้แก่ WBC count, RBC count, hemoglobin, hematocrit, MCV, MCH, MCHC, RDW, platelet count และ differential WBC ระหว่างกลุ่มวิจัยและกลุ่มควบคุม ในทุกผลการตรวจ เมื่อตรวจสอบผลการตรวจวัดระดับเอทิลีนออกไซด์ในหน่วยจ่ายกลางของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2557-2563 พบว่ามีระดับสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานในหลายครั้ง สูงสุดระดับ 5.1 ppm ใน พ.ศ. 2557

สรุป: ไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยาจากผลการตรวจ CBC ของผู้ปฏิบัติงานของโรงพยาบาลในแผนกจ่ายกลาง การตรวจ CBC ยังมีข้อจำกัดในการติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยาสำหรับการใช้ในผู้สัมผัสเอทิลีนออกไซด์ในหน่วยจ่ายกลางของโรงพยาบาล จึงควรมีการเฝ้าระวังทางการแพทย์ในผู้ปฏิบัติงานกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพจากเอทิลีนออกไซด์ให้น้อยที่สุด

References

1. หน่วยปฏิบัติการวิจัยหลักการจัดการสารเคมี. ฐานข้อมูลด้านความปลอดภัยสารเคมี [อินเตอร์เน็ท]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.chemtrack.org/.
2. เอทธิลีนออกไซด์ (Ethylene oxide) [อินเตอร์เน็ท]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://infofile.pcd.go.th/waste/25-2-2559.pdf.
3. Ethylene Oxide Gas Sterilization [Internet]. 2016 [cited 2021 Feb 14]. Available from: https://www.cdc.gov/infectioncontrol/guidelines/disinfection/sterilization/ethylene-oxide.html.
4. International Agency for Research on Cancer (IARC). Ethylene oxide. IARC Monographs on the Evaluation of the Carcinogenic Risk of Chemicals to Humans: Chemical Agents and Relates Occupations Vol 100F A Review of Human Carcinogens. Lyon, France: IARC; 2012. p. 379-400.
5. Shaham J, Levi Z, Gurvich R, et al. Hematological changes in hospital workers due to chronic exposure to low levels of ethylene oxide. J Occup Environ Med. 2000; 42(8): 843-50. doi: 10.1097/00043764-200008000-00017.
6. จิระพงศ์ จันทา, ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข, อนามัย เทศกะทึก. ปัจจัยที่มีผลต่ออาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจของผู้ปฏิบติงานในหน่วยจ่ายกลางที่รับสัมผัสแก๊สเอทิลีนออกไซด์ของโรงพยาบาลในจังหวัดระยอง. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563; 13 สิงหาคม 2563; ณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต; 2563.
7. World Health Organization (WHO). Decontamination and reprocessing of medical devices for health-care facilities. Geneva, Switzerland: WHO; 2017.
8. กอบโชค วุฒิโชติวณิชย์กิจ, วิรัช ประวันเตา, วินัย ทองชุบ, และคณะ. ความเสี่ยงต่อสุขภาพคนทำงานที่สัมผัสเอทิลีนออกไซด์ที่ตกค้างในแผนกจ่ายกลางของโรงพยาบาล. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2558; 24(3): 521-9.
9. กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการออกแบบอาคารและสภาพแวดล้อมสถานบริการสุขภาพ Central Sterile Supply หน่วยจ่ายกลาง. นนทบุรี: กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการ กระทรวงสาธารณสุช; 2560.
10. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134, ตอนพิเศษ 198 ง. (ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2560).
11. LaMontagne AD, Christiani DC, Kelsey KT. Utility of the complete blood count in routine medical surveillance for ethylene oxide exposure. Am J Ind Med. 1993; 24(2): 191-206.
12. Schulte PA, Walker JT, Boeniger MF, et al. Molecular, cytogenetic, and hematologic effects of ethylene oxide on female hospital workers. J Occup Environ Med. 1995; 37(3): 313-20.
13. กลุ่มส่งเสริมและสนับสนุนวิศวกรรม กองวิศวกรรมการแพทย์. รายงานการตรวจวิศวกรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. 2557-2562.
14. Kiran S, Cocco P, Mannetje A, et al. Occupational exposure to ethylene oxide and risk of lymphoma. Epidemiology. 2010; 21(6): 905-10.
15. Faul F, Erdfelder E, Lang AG, et al. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 2007; 39: 175-91.

เผยแพร่แล้ว

2021-09-27