ปัจจัยที่มีผลต่อการลดลงของปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลราชบุรี
คำสำคัญ:
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, อัตราลดลงของปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่, การตรวจสมรรถภาพปอดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยมีความสัมพันธ์กับการลดลงต่อปีของปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลราชบุรี
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง เก็บข้อมูลแบบย้อนหลังจากฐานข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลราชบุรี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 ถึง 30 มิถุนายน 2563 เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลดลงของปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยผ่านเกณฑ์ศึกษา 84 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 84.5 อายุเฉลี่ย 66.7 ปี พบการลดลงต่อปีของปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออก ในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่เท่ากับ 115.8 มิลลิลิตร จากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบจำนวนการสูบบุหรี่ในอดีต ประวัติการสูบบุหรี่ปัจจุบัน และระดับความรุนแรงของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีความสัมพันธ์กับการลดลงต่อปีของปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออก ในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ โดยที่ประวัติการสูบบุหรี่ปัจจุบันมีความสัมพันธ์มากที่สุด
สรุป: ผู้ป่วยที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่ออัตราการลดลงของปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออก ในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรแนะนำผู้ป่วยเลิกบุหรี่เพื่อชะลอการเสื่อมของสมรรถภาพปอด
References
2. Lopez AD, Mathers CD, Ezzati M, et al. Global Burden of Disease and Risk Factors. Washington (DC): The International Bank for Reconstruction and Development / The World Bank; 2006.
3. Maranetra KN, Chuaychoo B, Dejsomritrutai W, et al. The prevalence and incidence of COPD among urban older persons of Bangkok Metropolis. J Med Assoc Thai. 2002;85(11):1147-55.
4. กลุ่มรายงานมาตรฐาน คลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข. [cited 2021 Oct 27]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
5. Fletcher C, Peto R. The natural history of chronic airflow obstruction. BMJ 1977;1(6077):1645–8.
6. Vestbo J, Edwards LD, Scanlon PD, et al. Changes in Forced Expiratory Volume in 1 Second over Time in COPD. N Engl J Med 2011;365(13):1184–92.
7. Sun Y, Milne S, Jaw JE, et al. BMI is associated with FEV1 decline in chronic obstructive pulmonary disease: a meta-analysis of clinical trials. Respir Res 2019;20(1):236.
8. Chen S, Wang C, Li B, et al. Risk factors for FEV1 decline in mild COPD and high-risk populations. COPD 2017;12:435–42.
9. Makris D, Moschandreas J, Damianaki A, et al. Exacerbations and lung function decline in COPD: New insights in current and ex-smokers. Respiratory Medicine 2007;101(6):1305–12.
10. Whittaker HR, Jarvis D, Sheikh MR, et al. Inhaled corticosteroids and FEV1 decline in chronic obstructive pulmonary disease: a systematic review. Respir Res 2019;20(1):277.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์