การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยาขยายรูม่านตาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาขยายรูม่านตาทั้งสามแบบ คือ 1% tropicamide อย่างเดียว และแบบร่วมกับ 2.5% และ 10% phenylephrine รวมถึงผลข้างเคียงต่อความดันโลหิตและชีพจรในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มในผู้ป่วยเบาหวาน 300 ราย แบ่งการใช้ยาเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก ใช้ 1% tropicamide อย่างเดียว กับกลุ่มสองใช้ 1% tropicamide ร่วมกับ 2.5% phenylephrine และกลุ่มสามใช้ 1% tropicamide ร่วมกับ 10% phenylephrine ผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการตรวจวัดขนาดรูม่านตา ค่าความดันโลหิต และชีพจร เปรียบเทียบหาความแตกต่างก่อน และหลังหยอดยา 15 และ 30 นาที วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วย chi-square test และ one-way analysis of variance
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยร้อยละ 54 อยู่ในช่วงอายุมากกว่า 60 ปี จำแนกเป็นเพศชาย ร้อยละ 37.7
การเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐาน ระดับค่าความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจและขนาดรูม่านตาเฉลี่ยตาขวาและตาซ้าย ของผู้ป่วยตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มก่อนหยอดยาเพื่อรับการตรวจก็ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาเปรียบเทียบขนาดรูม่านตาเฉลี่ยทั้งตาขวาและตาซ้าย ของผู้ป่วย 3 กลุ่มหลังจากได้รับยาหยดแรกที่ 15 นาที แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างกลุ่ม 1 และกลุ่ม 3 (ตาขวา p =.042 และตาซ้าย p =.037) และที่ 30 นาที ระหว่างกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 รวมทั้งกลุ่ม 1 และกลุ่ม 3 (p < .001)
สรุป : การใช้ยาหยอดขยายรูม่านตาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ยาแบบ 1% tropicamide ร่วมกับ 10% phenylephrine มีประสิทธิภาพขยายรูม่านตาได้ดีที่สุด โดยไม่มีผลข้างเคียงต่อความดันโลหิตและชีพจร
References
ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข, ณัฐพล วงษ์คำช้าง, ปัฐมาภรณ์ สุรวงษ์สิน, และคณะ. การคัดกรองตรวจผู้ป่วยเบาหวานเข้าจอประสาทตาในเขตชนบทโดยใช้ภาพดิจิตอลที่ถ่ายจากบริเวณเดียวของจอตา. วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์. 2548;88(2):176–80.
Thomas JL. Fundamentals and principles of Ophthalmology. Basic and Clinical Science Course Section 2. 2005–2006:394–408.
ธนภัทร รัตนภากร, ยศอนันต์ ยศไพบูลย์, ณัฏฐิรา ชัยศรีสวัสดิ์สุข. การขยายรูม่านตาด้วยการหยอดยา 1% Tropicamide ร่วมกับ 10% Phenylephrine ครั้งเดียว. วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์. 2549;89(11):1934–9.
Kergoat H, Lovasik JV, Doughty MJ. A pupillographic evaluation of a 5%Phenylephrine HCL -0.8% Tropicamide combination mydriatic. J Ocul Pharmacol. 1989;5:199–216.
British National Formulary. London: British Medical Association and Royal Pharmaceutical Society of Great Britain. 1994:389–90.
Park JH, Lee YC, Lee SY. The comparison of mydriatic effect between two drugs of different mechanism. Korean J Ophthalmol. 2009;23(1):40–2.
Apt L, Henrick A. Pupillary dilatation with single eyedrop mydriatic combinations. Am J Ophthalmol. 1980;89:553–9.
Motta MM, Coblentz J, Fernandes BF, et al. Mydriatic and Cardiovascular Effects of Phenylephrine 2.5% versus Phenylephrine 10%, Both Associated with Tropicamide 1%. Ophthalmic Res. 2009;42:87–9.
อุดม ภู่วโรดม. ผลข้างเคียงของการใช้ยาหยอดตา 2.5% และ10% Phenylephrine ต่อความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ. วารสารกรมการแพทย์ 2549; 31(4): 317–23.
Zimmerman CF, Hogan RN, Le TD. Mydriatic and cycloplegic drugs. In: Zimmerman TJ, Koonere KS, Fechtner RD, Sharir M, ed. Textbook of ocular pharmacology. Philadelphia: Lippincott-Raven Publishers. 1997:807–26.
นิคม วีระนรพานิช, สลิ สุขสมบูรณ์, พัชรกมล พระราช, และคณะ. เปรียบเทียบผลการใช้ยาขยายม่านตา 1% Tropicamide แบบครั้งเดียวกับแบบผสม 10% Phenylephrine ครั้งเดียว และ 3 ครั้ง.วารสารวิทยาการเขต 12 2554;22(4):36–42.
ยศอนันต์ ยศไพบูลย์, พัฒนารี ล้วนรัตนากร, เจษฎา นพวิญญูวงศ์. การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ 2.5% และ 10% phenylephrine ในการขยายรูม่านตา. วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์. 2547;87(11):1380–4.
โอฬาร สุวรรณอภิชน, ธนภัทร รัตนภากร, รณกร ปัญจพงศ์, และคณะ. Phenylephrine 2.5% และ 10% ในการขยายรูม่านตาผู้ป่วยเบาหวานที่มีม่านตาสีเข้ม. วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์. 2553;93(4):467–73.
Tanner V, Casswell AG. A comparative study of the efficacy of 2.5% phenylephrine and 10% phenylephrine in pre-operative mydriasis for routine cataract surgery. Eye. 1996; 10: 95–8.
Weiss JS, Weiss JN, Greenfield DS. The effects of phenylephrine 2.5% versus phenylephrine 10% 0n papillary dilation in patients with diabetes. Retina 1995; 15:130–3.
Malhootra R, Banerjee G, Brampton W, et al. Comparison of the cardiovascular effects of 2.5% Phenylephrine and 10% Phenylephrine during ophthalmic surgery. Eye 1998;12(Pt6):973–5.
Symons RC, Walland MJ, Kaufman DV. A comparative study of the efficacy of 2.5% Phenylephrine and 10% Phenylephrine in pre-operative mydriasis for routine cataract surgery. Eye 1997;11(Pt6):946–8.
Chin KW, Law NM, Chin MK. Phenylephrine eye drops in ophthalmic surgery – a clinical study on cardiovascular effects. Med J Malaysia. 1994;49:158–63.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์