ประสิทธิผลของกิจกรรม“เล่นเรียนรู้สู่หนูน้อยฟันดี”สำหรับผู้ปกครองและเด็กผ่านช่องทางออนไลน์ต่อพฤติกรรมบริโภคอาหารเสี่ยงต่อฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน
คำสำคัญ:
อาหารเสี่ยงต่อฟันผุ, กิจกรรมเล่นเรียนรู้, เด็กก่อนวัยเรียนบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลของกิจกรรม “เล่นเรียนรู้สู่หนูน้อยฟันดี” สำหรับผู้ปกครองและเด็กผ่านช่องทางออนไลน์ ต่อพฤติกรรมบริโภคอาหารเสี่ยงต่อฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง
วิธีการศึกษา: การศึกษากึ่งทดลองจากอาสาสมัครทั้งหมดที่ยินยอมเข้าร่วมวิจัย 71 คู่ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม 1 คือ กลุ่มควบคุม 34 คู่ ได้โปรแกรมการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนปกติในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ส่วนกลุ่ม 2 คือ กลุ่มทดลองที่เล่นกิจกรรม 20 คู่ และกลุ่ม 3 คือ กลุ่มทดลองที่ไม่เล่นกิจกรรม 17 คู่ ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ได้รับโปรแกรมกิจกรรมเล่นเรียนรู้สู่หนูน้อยฟันดีผ่านช่องทางเฟซบุ๊กและไลน์กลุ่มผู้ปกครอง กลุ่ม 2 ทำกิจกรรมประกอบเรื่องราวทันตสุขภาพอย่างน้อย 1 ครั้ง ใน 5 สัปดาห์ ระยะเวลาตั้งแต่ 5 นาทีขึ้นไป ระยะทดลอง 5 สัปดาห์ ติดตามผล 1 สัปดาห์ วัดผลก่อนและหลังทดลองโดยแบบสอบถามหรือแบบบันทึกผ่านคิวอาร์โค้ดหรือกระดาษแบบอ่านและตอบเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบลำดับที่โดยเครื่องหมายของวิลค็อกซัน และทดสอบรายคู่ แมน-วิทนีย์ ยู ที่ระดับนัยสำคัญ .05
ผลการศึกษา: เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพฤติกรรมบริโภคของเด็กก่อนและหลังทดลองภายในกลุ่มทุกกลุ่มไม่แตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบริโภคของเด็กใน 1 สัปดาห์ และโดยภาพรวมระหว่างกลุ่ม พบกลุ่ม 2 มีค่ามากกว่ากลุ่ม 1 และกลุ่ม 3 ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญ สรุปความพึงพอใจโดยรวมและในหัวข้อเด็กทานอาหารเสี่ยงต่อฟันผุน้อยลงหลังทำกิจกรรม พบกลุ่ม 2 พึงพอใจมากกว่ากลุ่ม 3 โดยกลุ่ม 2 มีคะแนนรวมตั้งแต่ระดับพึงพอใจขึ้นไป ร้อยละ 85 และ 80 ตามลำดับ
สรุป: กิจกรรมเล่นเรียนรู้สู่หนูน้อยฟันดี มีแนวโน้มส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมบริโภคอาหารเสี่ยงต่อฟัน
ผุน้อยลง ควรศึกษาเพิ่มเติมในสถานการณ์ปกติต่อไป
References
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2561: หน้า 32–3.
สุวรรณา เอื้ออรรถการุณ. อาหารและเครื่องดื่มที่จำหน่ายในและรอบโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2557;19(1):21–36.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์, จิตรา สุวานิช. เอกสารสอนชุดวิชาการพัฒนาพฤติกรรมเด็กหน่วยที่ 1–7 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 11. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2544.
Paolo EAD, Barandiaran XE, Beaton M, et al. Learning to perceive in the sensorimotor approach: Piaget’s theory of equilibration interpreted dynamically. Front Hum Neurosci. 2014;30(8):1–16.
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2562: หน้า 10.
ปวรี กาญจนภี. การพัฒนาความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักศึกษาคณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม โดยใช้วิดีทัศน์การเรียนรู้จากตัวแบบสัญลักษณ์. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 2556;3(3):21–6.
จุฑาทิพย์ โอบอ้อม, พัทธนันท์ วงษ์วิชยุตม์. การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการกํากับตนเองของเด็กปฐมวัยโดยใช้นิทานชาดก. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 2563;6(2):103–13.
สิริกร ชาญวโรจน์. การศึกษากิจกรรมการพับกระดาษระบายสีเรื่องรูปทรงเรขาคณิต เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย. วารสารเกษมบัณฑิต. 2559;17(1):36–43.
Orji R, Vassileva J, Mandryk RL. Lunch time : a slow – casual game for long-term dietary behavior change. [Online] 2014 [cited 2021 Mar 4]; Available from: URL: https://www.researchgate.net/publication/235912878 DOI 10.1007/s00779-012-0590-6.
สุดาวดี ใยพิมล. ความสามารถในการจำแนกพฤติกรรมด้านความซื่อสัตย์ของเด็กปฐมวัยที่ได้ฟังการเล่านิทานโดยใช้หุ่นมือและการเล่านิทานโดยแสดงบทบาทสมมติประกอบ. ปริญญานิพนธ์ปริญญาโท วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ, 2533.
Aminimanesh A, Ghazavi Z, Mehrabi T. Effectiveness of the puppet show and story telling methods on children’s behavioral problems. Iran J Nurs Midwifery Res. 2019;24(1):61-5.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 5 เมษายน 2564]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://dictionary.orst.go.th
สันติ จิตระจินดา. ปณิธานสังคมพอเพียง: คู่มือสอนสนุก ปลุกความคิด เชื่อมชีวิตกับการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สถาบันศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา (มายา); 2550.
บุบผา ไตรโรจน์, สุรางค์ เชษฐพฤนธ์. คู่มือครูพี่เลี้ยงในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2552.
สุดาดวง กฤษดาพงษ์. ทำไมทันตสุขศึกษาจึงไม่ได้ผล. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2550;12(1):79–88.
สุดาดวง กฤษดาพงษ์. ตัวกำหนดสุขภาพทางสังคมและการดำเนินงานกับประชากร: การนำไปใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564: หน้า 57–86.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. Life Course Approach (LCA). [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 26 มกราคม 2565]; เข้าถึงได้จาก URL: https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/180427152479958425.pdf
อนงค์ ภูมชาติ. การส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ (Experential Activities Planner: EAP) เพื่อพฤติกรรมสุขภาพที่ดี. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2561;14(3):57–65.
วราภรณ์ ยังเอี่ยม, พัชราณี ภวัตกุล, มันทนา ประทีปเสน, และคณะ. การส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้โดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2556;43(2):126–137.
ธนิดา โพธิ์ดี, ทิพย์ฤทัย ประยูรวงศ์, ปิยนุช ทับโพธิ์, และคณะ. พฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2564;26(1):62–76.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์