อุบัติการณ์ ปัจจัยเสี่ยงและอัตราตายในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีภาวะวิกฤต และใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
ไวรัสโคโรนา 2019, ผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต, เครื่องช่วยหายใจ, อัตราการเสียชีวิตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิก ผลของการรักษา ภาวะแทรกซ้อน ปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิต และอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ป่วยวิกฤตที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาที่เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 15 ปี
ในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีภาวะวิกฤตและใช้เครื่องช่วยหายใจ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2564 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ.2565 โดยวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองไม่เข้าร่วมอยู่ในการศึกษานี้
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีภาวะวิกฤตและใช้เครื่องช่วยหายใจจำนวน 75 ราย พบเสียชีวิต 59 ราย คิดเป็นร้อยละ 78.7 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ คือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 608 โดยมีอายุเฉลี่ย 65 ปี โรคประจำตัวที่พบส่วนใหญ่ คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 65.3, 56.0 และ 42.7 ตามลำดับ โดยผู้ป่วยมีประวัติได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่ 2 เข็มขึ้นไป เพียงร้อยละ 9.3 ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสเสียชีวิตของผู้ป่วย ได้แก่ ผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปี มีภาวะโรคอ้วน ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 608 ผู้ป่วยที่มีอาการซึม และผู้ป่วยที่มีผลการประเมินอวัยวะล้มเหลวที่มากกว่าหรือเท่ากับ 2 จะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น รวมถึงปัจจัยด้านการรักษา ได้แก่ ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยากระตุ้นหัวใจ หรือยาหย่อนกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องได้รับยาเหล่านี้ และปัจจัยด้านภาวะแทรกซ้อนในโรงพยาบาลที่ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้
สรุป: ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีภาวะวิกฤตและใช้เครื่องช่วยหายใจพบการเสียชีวิตสูง โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ ภาวะโรคอ้วน ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 608 ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยากระตุ้นหัวใจ หรือยาหย่อนกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนในโรงพยาบาล ผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องได้รับยาและไม่มีภาวะแทรกซ้อน การประเมินและเตรียมความพร้อมในการให้การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้
References
Al-Awadhi AM, Alsaifi K, Al-Awadhi A, et al. Death and contagious infectious diseases: Impact of the COVID-19 virus on stock market returns. J Behav Exp Finance. 2020;27:100326.
Gibson PG, Qin L, Puah SH. COVID-19 acute respiratory distress syndrome (ARDS): clinical features and differences from typical pre-COVID-19 ARDS. Med J Aust. 2020;213(2):54–6 e
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/im_commands.php
โรงพยาบาลโพธาราม. รายงานผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เดือนตุลาคม 2564 โรงพยาบาลโพธาราม : รายการสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.คณะกรรมการระบบบัญชาการณ์จัดการกับสถานการณ์ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลโพธาราม. โรงพยาบาลโพธาราม, 2564.
Zhou F, Yu T, Du R, et al. Clinical course and risk factors for mortality of adult inpatients with COVID-19 in Wuhan, China: a retrospective cohort study. The Lancet. 2020;395(10229):1054–62
โรงพยาบาลโพธาราม. รายงานผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เดือนมีนาคม พ.ศ.2565 โรงพยาบาลโพธาราม : รายการสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.คณะกรรมการระบบบัญชาการณ์จัดการกับสถานการณ์ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลโพธาราม. โรงพยาบาลโพธาราม, 2565.
Mohammed I, Nauman A, Paul P, et al. The efficacy and effectiveness of the COVID-19 vaccines in reducing infection, severity, hospitalization, and mortality: a systematic review. Hum Vaccin Immunother. 2022;18(1):2027160.
Auld SC, Caridi-Scheible M, Blum JM, et al. ICU and Ventilator Mortality Among Critically Ill Adults with Coronavirus Disease 2019. Crit Care Med. 2020;48(9):e799–e804.
Cueto-Manzano AM, Espinel-Bermudez MC, Hernandez-Gonzalez SO, et al. Risk factors for mortality of adult patients with COVID-19 hospitalised in an emerging country: a cohort study. BMJ Open. 2021;11(7):e050321.
Bode B, Garrett V, Messler J, et al. Glycemic Characteristics and Clinical Outcomes of COVID-19 Patients Hospitalized in the United States. J Diabetes Sci Technol. 2020;14(4):813–21.
Bhargava A, Szpunar SM, Sharma M, et al. Clinical Features and Risk Factors for In-Hospital Mortality From COVID-19 Infection at a Tertiary Care Medical Center, at the Onset of the US COVID-19 Pandemic. J Intensive Care Med 2021;36(6):711–8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์