อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • จิรนันท์ เดชอินทรนารักษ์ พ.บ., โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

อุบัติการณ์ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิด, ปัจจัยเสี่ยงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, ทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

บทคัดย่อ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นความผิดปกติทางเมตาบอลิกที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด โดยเฉพาะทารกที่มีความเสี่ยงสูง การตรวจคัดกรองน้ำตาลในเลือดและให้การรักษาอย่างรวดเร็ว จึงมีความสำคัญ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โรงพยาบาลนครปฐม ศึกษาข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2564  

ผลการศึกษา: พบอุบัติการณ์เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของทารกความเสี่ยงสูงร้อยละ 9.0 ของทารกแรกเกิด และร้อยละ 28.3 ของทารกที่มีความเสี่ยงสูง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่ ทารกเกิดก่อนกำหนด (p < .001) แรกเกิดน้ำหนักน้อย (p = .028) และมารดาเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (p < .001) 

สรุป: การคัดกรองภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกที่มีความเสี่ยงยังคงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อทารกแรกเกิดทั้งในระยะสั้นที่มีผลคุกคามต่อชีวิต และระยะยาวที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทารก

References

แสงแข ชำนาญวนกิจ. ความผิดปกติทางเมแทบอลิซึมที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด (Common Metabolic Disturbances in the Newborn) ในราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย: E-Book Pediatric Newborn [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564]; เข้าถึงได้จาก: https://www.thaipediatrics. org/pages/ Doctor/Detail/44.

สุดาทิพย์ โฆสิตะมงคล. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิด. ใน: ตำรากุมารเวชศาสตร์ เล่ม 1 สุขเกษม โฆษิตเศรษฐ, ยุวลักษณ์ ธรรมเกสร และ ศริยา ประจักษ์ธรรม (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2560.

Abramowski A, Ward R, Hamdan AH. Neonatal Hypoglycemia. [Updated 2021 Sep 9]. In: StatPearls [Internet]. 2021 [cited 2021 November 1]; Retrived from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK537105/.

Adamkin DH. Metabolic screening and postnatal glucose homeostasis in the newborn. Pediatric Clin North Am 2015;62(2):385-409. doi: 10.1016/j.pcl.2014.11.004

Bromiker R, Perry A, Kasirer Y, et al. Early neonatal hypoglycemia: incidence of and risk factors. A cohort study using universal point of care screening, The Journal of Maternal-Fetal & Neonatal Medicine. 2019;32(5):786-92. doi: 10.1080/14767058.2017.1391781.

Amarendra M, Sethi RK, Pericherla VP. Incidence of hypoglycemia within 72 hours after birth in low birth weight babies who are appropriate for gestational age. Int J Contemp Paediatr. 2018;5(3):944.

Hassan MK, Pervez AFM, Biswas R, et al. Incidence and risk factors of Neonatal Hypoglycemia During the First 48 Hours of Life in a Tertiary Level Hospital. Faridpur Med. Coll. j. 2020;15(1):12-5. DOI:10.3329/fmcj.v15i1.49001

Mitchell NA, Grimbly C, Rosolowsky RT, et al. Incidence and Risk Factors for Hypoglycemia During Fetal-to-Neonatal Transition in Premature Infants. Front Pediatr 2020;8:34. doi: 10.3389/fped.2020.00034

ฑิตยา แสงสว่าง, ฐาปนา รุ่งหิรัญวัฒน์, ฉันท์สุดา พงศ์พันธุ์ผู้ภักดี, และคณะ. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูงในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้าม. 2561;35(3):268-76.

Babu MR, D’Souza JL, Susheela C. Study of incidence, clinical profile and risk factors of neonatal hypoglycemia in a tertiary care hospital. Int J Pediatr Res. 2016;3(10):753.

Kumar T, Vaideeswaran M, Arasar ST. To determine the clinical profile of hypoglycemia in newborn and to determine the prevalence of hypoglycemia among neonates admitted in NICU. EJMCM 2018;7(10):3738-43.

Kaiser JR, Bai S, Gibson N, et al. Association Between Transient Newborn Hypoglycemia and Fourth-Grade Achievement Test Proficiency A Population-Based Study. JAMA Pediatric 2015;169(10):913-21.

Edwards T, Harding JE. Clinical Aspects of Neonatal Hypoglycemia: A Mini Review. Front. Pediatr. 2021;8:562251

Filan PM, Inder TE, Cameron FJ, et al. Neonatal hypoglycemia and occipital cerebral injury. J Pediat. 2006;148:552–5.

Alkalay AL, Flores Sarnat L, Sarnat HB, et al. Plasma glucose concentrations in profound neonatal hypoglycemia. Clin Pediatr (Phila). 2006;45:550–8.

Lucas A, Morley R, Cole TJ. Adverse neurodevelopmental outcome of moderate neonatal hypoglycaemia. BMJ. 1988;297;1304–8.

Stenninger E, Flink R, Eriksson B, et al. Long-term neurological dysfunction and neonatal hypoglycaemia after diabetic pregnancy. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed 1998;79(3):F174–9. DOI: 10.1136/fn.79.3.f174

ระบบฐานข้อมูลเวชระเบียน โรงพยาบาลนครปฐม. [ฐานข้อมูล]. [เข้าถึงเมื่อ 12 มิถุนายน 2564]; เข้าถึงได้จาก: https://www.nkpthospital.go.th/.

Hosagasi NH, Aydin M, Zenciroglu A. Incidence of hypoglycemia in newborns at risk and an audit of the 2011 American academy of pediatrics guideline for hypoglycemia. Pediatr Neonatol 2018;59(4):368-74. doi: 10.1016/j.pedneo.2017.11.009.

Stark J, Simma B, Blassnig-Ezeh A. Incidence of hypoglycemia in newborn infants identified as at risk. J Matern Fetal Neonatal Med 2020;33(18):3091-6. doi: 10.1080/ 14767058.2019.1568985.

Ochoga MO, Aondoaseer M, Abah RO, et al. Prevalence of Hypoglycemia in Newborn at Benue State University Teaching Hospital, Makurdi, Benue State, NigeriaOJPed 2018;8:189-98

Devaskar SU, Gang M. Metabolic and endocrine disorders. In: Martin R, Fanaroff AA, Walsh MC, editors. Fanaroff and Martin’s neonatal–perinatal medicine, diseases of the fetus and infant. 10th ed. Philadelphia: Elsevier Saunders. 2015. 1434-59. DOI:10.1016/B978-0-323-06545-0.00058-3

Howanitz PJ, Howanitz JH. Disorders of carbohydrate metabolism. Clin Lab Med 1981;1(2):419-32.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30