การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ เอี่ยมละออ พย.ม. โรงพยาบาลบ้านโป่ง
  • พิณรัฐ สุนทรเสถียร พย.บ. โรงพยาบาลบ้านโป่ง

คำสำคัญ:

การหย่าเครื่องช่วยหายใจ, แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก, ผู้ป่วยวิกฤติ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วิธีการศึกษา: เป็นงานวิจัยและพัฒนา โดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาการวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติ จำนวน 20 คน และผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ ที่เข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนัก ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2566 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลการรักษาผู้ป่วย และแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ ได้ค่า CVI เท่ากับ 1.00 แบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา: พบว่าพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติในระดับมาก (= 4.44, SD = 0.99) โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด คือ สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้ดี ( = 4.70, SD = 0.47) และทำให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน (= 4.70, SD = 0.47) ด้านผู้ป่วยพบว่า จำนวนวันเฉลี่ยที่ใช้ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ 1.89 วัน และไม่พบการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ

สรุป: แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ช่วยให้พยาบาลมีแนวทางที่เป็นมาตรฐาน ส่งผลให้ผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจได้เร็วขึ้น ลดจำนวนวันใส่เครื่องช่วยหายใจ และลดการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ

References

Fialkow L, Farenzena M, Wawrzeniak IC, et al. Mechanical ventilation in patients in the intensive care unit of a general university hospital in southern Brazil: an epidemiological study. Clinics (Sao Paulo) 2016;71(3):144–51. doi: 10.6061/clinics/2016(03)05.

ปทิตตา ปานเฟือง, อำภาพร นามวงศ์พรหม, นํ้าอ้อย ภักดีวงศ์. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติในการหย่าเครื่องช่วยหายใจต่อ ความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจและระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤติที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2558;33(3):159–66.

นันทิกานต์ กลิ่นเชตุ, ศิริพร สว่างจิตร. ความพร้อมของผู้ป่วยกับความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ. วารสารพยาบาลทหารบก 2561;19(2):79–85.

Jordan J, Rose L, Dainty KN, et al. Factors that impact on the use of mechanical ventilation weaning protocols in critically ill adults and children: a qualitative evidence–synthesis. Cochrane Database Syst Rev 2016; 10(10):CD011812. doi: 10.1002/14651858. CD011812.pub2.

จิตรศิริ ตันติชาติกุล, วนิดา เคนทองดี. การพัฒนาแนวปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจ. วารสารกองการพยาบาล 2556;40(3):56–69.

ศรัญญา จุฬารี, จันทร์ทิรา เจียรณัย, รังสิมา ครอสูงเนิน. ความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจ: บทบาทที่ท้าทายของพยาบาล. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2565;12(1):149–63.

อรนุช วรรณกูล. การพัฒนาแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรม โรงพยาบาลพัทลุง. กระบี่เวชสาร 2561;1(2):1–11.

โรงพยาบาลบ้านโป่ง. สถิติจากเวชระเบียนโรงพยาบาลบ้านโป่ง ปีงบประมาณ 2566. (เอกสารรายงานประจำปี). ราชบุรี: โรงพยาบาลบ้านโป่ง; 2566.

National Health and Medical Research Council. A guide to the development, implementation and evaluation of clinical practice guidelines [internet]. 1998 [cited 2022 November 20]; Available from: URL: https://www.nhmrc.gov.au/sites/default/files/images/a-guide-to-the-development-and-evaluation-of-clinical-practice-guidelines.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์; 2560: 121

จุฑารัตน์ บางแสง, สมควร พิรุณทอง, อุดมรัตน์ นิยมนา, และคณะ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563;38(4):122–31.

ทองเปลว ชมจันทร์, ปาริชาติ ลิ้มเจริญ, อำภาพร นามวงศ์พรหม, และคณะ. ผลของการใช้แนวปฏิบัติในการถอดท่อช่วยหายใจต่ออัตราความสำเร็จในการถอดท่อช่วยหายใจ และความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้แนวปฏิบัติ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2563;2(1):58–76. doi 10.14456/ajnh.2020.5

ชุติมา รัตนบุรี. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. [ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล, สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2559.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30